ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

รายงานผลศึกษา แนวทางการคุ้มครองผู้บริโภควิถีใหม่

รายงานผลศึกษา แนวทางการคุ้มครองผู้บริโภควิถีใหม่ HealthServ.net
รายงานผลศึกษา แนวทางการคุ้มครองผู้บริโภควิถีใหม่ ThumbMobile HealthServ.net

คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ได้นำเสนอผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการคุ้มครองผู้บริโภควิถีใหม่ ต่อคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2565 และครม.มีมติรับทราบผลการพิจารณา และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป

เรื่องเดิม

         สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง แนวทางการคุ้มครองผู้บริโภควิถีใหม่ ของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้ศึกษาสภาพการบังคับใช้ของกฎหมายที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจในการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทย แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาของผู้บริโภคในสภาพบริบทวิถีใหม่และการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการพัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภควิถีใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และได้มีข้อเสนอแนะ ดังนี้

1) ควรมีหน่วยงานกลางด้านการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการควบคุมกำกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านระบบออนไลน์

2) ควรมีการพัฒนาแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสภาพบริบทวิถีใหม่ในสังคมปัจจุบัน

3) หน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจในการควบคุมการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ ควรพัฒนาระบบการสร้างฐานข้อมูลของผู้ประกอบการทุกระดับเพื่อติดตาม ตรวจสอบ หรือส่งเสริมให้รูปแบบการซื้อขายสินค้าหรือบริการเป็นไปตามกฎหมาย

4) ควรมีมาตรการที่ชัดเจนในการดำเนินการอย่างเด็ดขาดกับผู้ประกอบธุรกิจที่โฆษณาหลอกลวงหรือเอาเปรียบผู้บริโภคผ่านทางเว็บไซค์หรือสื่อต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และ

5) ควรมีศูนย์ข้อมูลเพื่อผู้บริโภคในการเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว และพัฒนาเป็นศูนย์กลางในการรับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคในระดับชาติ

 
             รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ สคบ. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานศาลยุติธรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป


 

 

ข้อเท็จจริง
 

      สคบ. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารายงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา แล้วเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ โดยสรุปได้ดังนี้
 
 

ข้อเสนอแนะ


สรุป 5 ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ และผลการพิจารณา ดังนี้ 


1. ควรมีหน่วยงานกลาง ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการควบคุมกำกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านระบบออนไลน์
 
ผลการพิจารณา

- ประเทศไทยมีหน่วยงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก ซึ่งการมีหน่วยงานกลางเพื่อควบคุมกำกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์จะทำให้การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคมีเอกภาพ มีแนวทางในการทำงานที่ชัดเจน และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น



2. ควรมีการพัฒนาแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสภาพบริบทวิถีใหม่ในสังคมปัจจุบัน

ผลการพิจารณา
  - การพัฒนา แก้ไข ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสภาพบริบทวิถีใหม่ในสังคมปัจจุบันมีความสำคัญอย่างยิ่ง การมีกฎหมายเพื่อบังคับใช้เท่าที่จำเป็น ไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ และการเติบโตทางเศรษฐกิจจะช่วยให้การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


 
3. หน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจในการควบคุม การซื้อขายสินค้าและบริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภท ต่าง ๆ ควรพัฒนาระบบการสร้างฐานข้อมูลของผู้ประกอบการทุกระดับเพื่อติดตาม ตรวจสอบหรือส่งเสริมให้รูปแบบการซื้อขายสินค้าหรือบริการเป็นไปตามกฎหมาย

ผลการพิจารณา
- การพัฒนาระบบฐานข้อมูลของผู้ประกอบธุรกิจทุกระดับเพื่อติดตาม ตรวจสอบ หรือส่งเสริมให้รูปแบบ
การซื้อขายสินค้าหรือบริการเป็นไปตามกฎหมายจึงเป็นกลไกสำคัญในการเฝ้าระวังและตรวจสอบของภาครัฐได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคอีกด้วย



4. ควรมีมาตรการที่ชัดเจน ในการดำเนินการอย่างเด็ดขาดกับผู้ประกอบธุรกิจที่โฆษณาหลอกลวงหรือเอาเปรียบผู้บริโภคผ่านทางเว็บไซต์หรือสื่อต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ผลการพิจารณา
- การตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจที่ดำเนินการโฆษณาขายสินค้าหรือบริการผ่านสื่อออนไลน์ในช่องทางต่าง ๆ ยังขาดเครื่องมือที่ทันสมัยและขาดการบูรณาการในการตรวจสอบร่วมกัน  ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องมีการพัฒนาเครื่องมือหรือระบบเทคโนโลยีดิจิทัลให้สามารถตรวจสอบโฆษณาที่ไม่ถูกต้องได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว พร้อมทั้งสามารถส่งต่อข้อมูลดังกล่าวให้กับหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป



5. ควรมีศูนย์ข้อมูลเพื่อผู้บริโภค ในการเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ  ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว  และพัฒนาเป็นศูนย์กลางในการรับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคในระดับชาติ

ผลการพิจารณา
- การบูรณาการข้อมูลด้านการคุ้มครองผู้บริโภคโดยการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในการส่งต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงานรวมถึงการแจ้งข้อมูลข่าวสารและการให้บริการต่าง ๆ แก่ผู้บริโภคอีกด้วย
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด