ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สปสช. ลงนาม EEC หนุนเชื่อมั่น ลงทุนการแพทย์เทคโนโลยีระดับสูงครบวงจร

สปสช. ลงนาม EEC หนุนเชื่อมั่น ลงทุนการแพทย์เทคโนโลยีระดับสูงครบวงจร HealthServ.net
สปสช. ลงนาม EEC หนุนเชื่อมั่น ลงทุนการแพทย์เทคโนโลยีระดับสูงครบวงจร ThumbMobile HealthServ.net

เป้าหมายความร่วมมือคือการร่วมส่งเสริมกันระหว่างสปสช.หน่วยงานดูแลสิทธิประโยชน์พื้นฐานด้านสุขภาพประชาชน ซึ่งจะโน้มนำให้เกิดความมั่นใจต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมด้านการแพทย์เทคโนโลยีระดับสูง สอดคล้องตอบโจทย์การดูแลตามสิทธิพื้นฐาน และยังเป็นการสร้างโอกาสพัฒนาบุคลากรด้านการแพทย์ เสริมศักยภาพ สร้างโอกาสและความสามารถในการแข่งขันเพื่อพร้อมกับการพัฒนาอุตสาหกรรมที่จะขยายตัวและยกระดับขึ้นอีกในอนาคตได้

28 ธันวาคม 2565 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี ลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)  “การส่งเสริมการลงทุนและการบริการทางการแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง เพื่อพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคะวันออก โดยการสนับสนุนระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” โดยมี นายแพทย์จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นางธัญรัตน์ อินทร รองเลขาธิการฯ รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และ นายแพทย์พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์ ที่ปรึกษาพิเศษ ด้านสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ร่วมกันแถลงข่าว พร้อมด้วยผู้บริหารจาก 2 หน่วยงาน เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน ณ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ


เป้าหมายความร่วมมือที่เกิดขึ้น ระหว่าง EEC (สกพอ.) และ สปสช. เพื่อเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อน อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ซึ่งเป็น 1 ใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่จะมีการลงทุนในพื้นที่ EEC โดยหวังผลักดันให้เกิดการลงทุนในด้านการบริการและการผลิตด้านการแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง ส่งผลต่อการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ เกิดการจ้างงานบุคลากรที่มีทักษะสูง ค่าตอบแทนสูง  เกิดการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยี เสริมศักยภาพและยกระดับความสามารถในการแข่งขัน พร้อมรองรับการลงทุนอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้
 
 
"จะก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจสุขภาพครบทุกมิติตามนโยบายของรัฐบาล ยกระดับบริการด้านสาธารณสุขให้ประชาชนเกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน" - นายแพทย์พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์ ที่ปรึกษาพิเศษ ด้านสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ให้ข้อมูล
 
 
 

ระบบประกันสุขภาพ สร้างความมั่นใจให้กับการลงทุนได้


นายแพทย์จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า สปสช. มีบทบาทและหน้าที่ในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ “บัตรทอง 30 บาท” เพื่อเป็นหลักประกันสุขภาพให้กับคนไทย 48 ล้านคน ด้วยเป็นระบบหลักประกันสุขภาพขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของระบบ นอกจากงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาลแล้ว ยังต้องสร้างความมั่นใจที่เอื้อต่อการดำเนินการของระบบ ไม่ว่าจะเป็นยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ ที่เป็นปัจจัยสำคัญของการรักษาพยาบาลและบริการสาธารณสุข ทั้งต้องเพียงพอต่อการให้บริการดูแลประชาชน 
 
 
ดังนั้น การลงทุนเพื่อให้เกิดการผลิตและการบริการทางการแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมทางการแพทย์ในประเทศจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากทำให้เกิดการเข้าถึงบริการที่เพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังเป็นส่วนที่ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในประเทศ พร้อมช่วยสร้างรายได้ เพิ่มการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ได้ตระหนักถึงความสำคัญนี้ จึงนำมาสู่การบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในวันนี้
 
 
“ผลจากการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ สปสช. มั่นใจว่าจะนำมาสู่ผลที่ดี ทั้งต่อระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทำให้ผู้มีสิทธิได้รับการบริการทางการแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงมาทดแทนเทคโนโลยีเดิม ภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสม ควบคุมได้ และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ภายใต้มาตรฐานบริการสาธารณสุขตาม พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ผลดีต่ออุตสาหกรรมด้านทางการแพทย์ในประเทศ ทั้งในด้านการพัฒนาและขยายศักยภาพการคิดค้น วิจัยและผลิต โดยให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ และผลดีต่อประเทศไทยเอง ในด้านความมั่นคงทางระบบสุขภาพของประเทศ” เลขาธิการ สปสช. กล่าว    
 
 
 
 

การลงทุน สอดคล้องไปกับสิทธิประโยชน์พื้นฐาน
 

นางธัญรัตน์ อินทร รองเลขาธิการฯ รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กล่าวว่า ปัจจุบันการบริการทางการแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงในประเทศไทย ส่วนใหญ่ต้องอาศัยเทคโนโลยี และเครื่องมือที่นำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ประชาชนบางส่วนมีข้อจำกัดที่จะสามารถเข้าถึงบริการรับการรักษา หรือรับวินิจฉัยโรคเหล่านั้นได้ โดยภายใต้ข้อตกลง MOU นี้ จะสามารถขับเคลื่อนสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมการแพทย์ที่อยู่ภายใต้สิทธิประโยชน์ในระบบบัตรทอง เช่น การลงทุนเพื่อการตรวจทางพันธุกรรม (Genetic Testing) ซึ่งจะมาทดแทนการทดสอบแบบเดิมภายใต้สิทธิประโยชน์ในระบบบัตรทอง เป็นต้น รวมทั้งจะส่งเสริมให้ผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ได้รับการบริการทางการแพทย์ ที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง ให้สามารถรับการรักษาให้ปลอดภัย ทันการณ์ และสร้างสุขภาพดีให้คนไทยได้ถ้วนหน้า


ข่าว EEC
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด