ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

การแพทย์-ความงาม ธุรกิจดาวรุ่งปี 66

การแพทย์-ความงาม ธุรกิจดาวรุ่งปี 66 HealthServ.net
การแพทย์-ความงาม ธุรกิจดาวรุ่งปี 66 ThumbMobile HealthServ.net

เป็นประจำทุกปีที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จะทำการสำรวจเทรนด์ธุรกิจที่จะโดดเด่นในปีต่อไป
สำหรับปี 2566 นี้ออกมาแล้ว ผลการสำรวจ "10 ธุรกิจดาวเด่น ดาวร่วงปี 2566" เผย 3 อันดับแรกของธุรกิจดาวเด่นปี 2566 ได้แก่ ธุรกิจการแพทย์ อีคอมเมิร์ช fintech

ข้อมูลปฐมภูมิที่หอการค้าโพล (Chamber Business Poll) ใช้ในการสำรวจมาจากการสำรวจผู้ประกอบการรายสาขา สถานภาพธุรกิจไทย และปัจจัยเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ด้านละ 20% แบ่งเป็น ด้านยอดขาย ด้านต้นทุน ส่วนต่างยอดขายต่อต้นทุน (กำไรสุทธิ) ด้านผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงและภาวะการแข่งขัน และด้านความต้องการสอดคล้องกับกระแสนิยม 
 
 

ผลการจัดอันดับ 10 ธุรกิจเด่น ปี 2566

  1. ธุรกิจการแพทย์และความงาม 96.3 คะแนน
  2. ธุรกิจ e-commerce (ธุรกิจที่ทำการซื้อขายผ่านอิเล็กทรอนิกส์) 95.5 คะแนน
  3. Social Media และ Online Entertainment / ธุรกิจด้าน fintech และการชำระเงินผ่านระบบเทคโนโลยี / งานคอนเสิร์ต มหกรรมจัดแสดงสินค้า ธุรกิจ event 94.8 คะแนน
  4. ธุรกิจจัดทำคอนเทนต์ ธุรกิจ youtuber การรีวิวสินค้า และinfluencer / ธุรกิจโฆษณาและสื่อออนไลน์ 94.0 คะแนน
  5. ธุรกิจ แพลตฟอร์ม (ธุรกิจตัวกลางหรือตลาดกลางด้านอิเล็กทรอนิกส์) และธุรกิจ Matching เช่น platform หาคู่ สั่งอาหาร เรียกรถอื่นๆ 93.5 คะแนน
  6. ธุรกิจประกันภัย ประกันชีวิต / ธุรกิจบันเทิงยามค่ำคืน ผับ บาร์ คาราโอเกะ 92.8 คะแนน
  7. ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม ทัวร์ และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง / ธุรกิจ Modern Trade/ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ 91.5 คะแนน
  8. ธุรกิจโลจิสติกส์ delivery และคลังสินค้า / ธุรกิจตู้ยอดเหรียญ เช่น น้ำ เครื่องชักผ้า อาหาร อื่นๆ 90.4 คะแนน
  9. ธุรกิจ e-sport และธุรถิจเกี่ยวเนื่อง / ธุรกิจอาหารเสริม / ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (ที่ไม่มีแอลกอฮอลล์) 89.7 คะแนน
  10. ธุรกิจยานยนต์ / ธุรกิจความเชื่อ (สายมู, หมอดู,ฮวงจุ้ย) / ธุรกิจบันเทิง เช่น ละครหนังชีรีย์ Y และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง / ธุรกิจเกี่ยวกับกัญชา ใบกระท่อม  89.0 คะแนน
 

 
 

10 อันดับธุรกิจดาวร่วง ปี 2566

  1. ธุรกิจฟอกย้อม /ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ และวารสาร หนังสือพิมพ์ที่เป็นรูปแบบกระดาษ  8.6 คะแนน
  2. ธุรกิจรับส่งสื่อสิ่งพิมพ์ตามบ้านและสถานที่ทำงาน /  ธุรกิจโรงพิมพ์การพิมพ์ เช่น หนังสือ แผ่นพับ 9.5 คะแนน
  3. ธุรกิจคนกลาง 10.2 คะแนน
  4. ร้านขายหนังสือ 12.3 คะแนน
  5. ธุรกิจเครื่องปั้นดินเผา และเชรามิก 13.1 คะแนน
  6. ธุรกิจร้านถ่ายรูป / ธุรกิจหัตถกรรม 14.5 คะแนน
  7. ธุรกิจผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ไร้ฝีมือหรือเสื้อผ้าโหล 15.6 คะแนน
  8. ธุรกิจคริปโต 16.9 คะแนน
  9. โรงเรียนเอกชน 17.4 คะแนน
  10. ธุรกิจร้านโชห่วย 18.9 คะแนน
 
เปรียบเทียบ 10 อันดับดาวรุ่งปี 2565 เทียบปี 2566 

ข้อมูลมีความสนใจ 

ธุรกิจที่เคยโดดเด่นปี 65 แต่ไม่ติดใน 10 อันดับปี 2566 
  • ธุรกิจขายตรง
  • ธุรกิจแปรรูปยาง เช่น ถุงมือยาง ถุงยาง
  • ธุรกิจอาหารสำเร็จรูป
  • ธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์ เช่น อาหารสัตว์สำเร็จรูป การดูแลสุขภาพสัตว์
  • ธุรกิจอิเลคทรอนิคส์และชิ้นส่วน


ธุรกิจดาวรุ่งหน้าใหม่ที่ไม่ติด 10 อันดับในปี 2565 
  • Social media & Online Entertainment
  • ธุรกิจจัดทำคอนเทนต์ ธุรกิจ youtuber การรีวีวสินค้า และ influencer
  • ธุรกิจโฆษณาและสื่อออนไลน์
  • ธุรกิจ matching เช่น platform หาคู่ สั่งอาหาร เรียกรถ
  • ธุรกิจบันเทงค่ำคืน ผับ บาร์ คาราโอเกะ
  • ธุรกิจโลจิสติกส์ delivery และคลังสินค้า
  • ธุรกิจตู้หยอดเหรียญ เช่น น้ำ เครื่องซักผ้า อาหาร
  • ธุรกิจยานยนต์
  • ธุรกิจความเชื่อ สายมู หมอดู ฮวงจุ้ย
  • ธุรกิจบันเทิง ละคร หนัง ซีรียส์ Y และ อุปกรณ์
  • ธุรกิจเกี่ยวกับ กัญชา ใบกระท่อม

ธุรกิจเด่นอันดับ 1 ธุรกิจการแพทย์และความงาม

ปัจจัยสนับสนุน

1. การเติบโตของสังคมผู้สูงอายุ ทำให้ความต้องการใช้บริการด้านการแพทย์เพิ่มสูงขึ้น
2. การดูแลเรื่องของความสวยงาม และผิวพรรณของคนในปัจจุบันมีมาก
3. การกลับมาให้บริการเต็มรูปแบบของธุรกิจ Health & Wellness
4. ไทยมีสถนพยาบาลที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน JC| มากถึง 59 แห่ง ซึ่งเมื่อรวมกับคำครองชีพและค่ารักษาพยาบาลที่ไม่สูงมากมือเทียบกับคู่แข่งในภูมิภาคเดียวกัน จึงทำให้ไทยมีศักยภาพเพียงพอที่จะสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ให้เติบโตต่อไปได้
5. จากนโยบายการเปิดประเทศคาดว่าท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical Tourism) จะเริ่มทยอยกลับมาเข้าใช้บริการได้ ในปี 2565 น่จะอยู่ที่ประมาณ 130,000-180,000 ล้านคน หลักๆ จะเป็นชาวจีน ตะวันออกกลาง และยุโรป
 

ปัจจัยเสี่ยง
 
1. สถานการณ์ด้านร้ายได้ที่ลดลงมากเมื่อเทียบกับหนี้สินภาคครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้กำลังซื้อลดลง
2. กำลังซื้อในประเทศที่ถูกกดดันมากขึ้นจากปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งอาจกระทบต่อการตัดสินใจใช้จ่ายด้านสุขภาพของผู้บริโภค
3. ภาวะการแข่งขันที่รุนแรง การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงมาตรการควบคุมราคายา เวชภัณฑ์ และบริการทางการแพทย์ ที่ยังคงเป็นข้อจำกัดส่งผลให้ธุรกิจเติบโตต่ำกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ได้
 

ธุรกิจเด่นอันดับ 2 ธุรกิจ e-commerce (ธุรกิจที่ทำการซื้อขายผ่านอิเล็กทรอนิกส์)

ปัจจัยสนับสนุน
 
1. ผู้บริโภคมีพฤติกรรมปรับลดการใช้จ่ายผ่านหน้าร้าน เช่น ร้านสะดวกซื้อ ห้างซุปเปอร์ต่าง ๆ มาเป็นการใช้จ่ายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่สามารถซื้อขายได้ตลอด 24 ชม.มากขึ้น และมีระบบการชำระเงินที่หลากหลาย
2. ต้นทุนในการทำการซื้อขายผ่านออนไลน์มีต้นทุนที่ต่ำ ทำให้ระดับราคาสินค้าต่ำกว่า หน้าร้าน
3. ผู้ประกอบการหันมาทำธุรกิจ E commerce มากขึ้นทำให้ผู้บริโภคมีแนวทางการเลือกสินค้าได้ และมีรูปแบบการส่งเสริมการขายที่หลากหลาย
4. การขยายตัวของชุมชนเมืองและการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลาง หนุนความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภค
5. การรีวิวสินค้าของบุคคล (ดารา, Youtuber และ Influencer) ที่มีชื่อเสียงและ
ลูกค้าเคยใช้สินค้า
 
 
ปัจจัยเสี่ยง
 
1. ภาวะเงินเฟ้อส่งผลต่อราคาสินค้าอุปโภคบโภคสูงขึ้น ประชาชนระมัดระวังในการใช้จ่ายมากกว่าเดิม
2. ปัญหาการหลอกขายสินค้า ไม่แสดงราคากำกับ และสินค้าไม่ได้คุณภาพ
3. การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทั้งจากคู่แข่งเดิมและคู่แข่งรายใหม่ และกำลังซื้อของผู้บริโภคยังไม่ฟื้นตัว
4. การแข่งขันทางด้านราคา ทำให้กำไรของธุรกิจค่อนข้างต่ำสวนทางกับต้นทุนที่สูงขึ้นตามราคาน้ำมันและภาวะเงินเฟ้อที่ขยายตัวสูงขึ้นจากสถานการณ์รัสเชีย-ยูเครน
5. ระบบโลจิสติกส์ หรือการจัดส่งสินค้าที่อาจล่าช้าและมีต้นทุนที่สูงขึ้น
 
 
 
 
 

ธุรกิจเด่นอันดับ 3 ธุรกิจ Social Media และ Online Entertainment

 
ปัจจัยสนับสนุน
 
1. ประชาชนรับชมภาพยนตร์และรายการต่างๆ ผ่าน Streaming Platform มากขึ้น
2. การเพิ่มขึ้นของช่องทางในการสื่อสาร โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ ที่สามารถเข้าถึงได้ตลอด 24 ชม.
3. การเพิ่มขึ้นของการโปรโมทโฆษณาผ่น Social Influencer อาทิเช่น Net-ldol หรือ Youtuber
4. ธุรกิจขนาดเล็ก-ใหญ่ หันมาโปรโมทสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น
5. พฤติกรรมการรับชมสื่อผ่าน Application เพิ่มขึ้น
6. พฤติกรรมการเล่น Social Media เพิ่มขึ้น
7. กระแสเทคโนโลยีเมตาเวิร์สที่เริ่มเข้ามามีบทบาทกับวงการสื่อและสิ่งบันเทิง
 
 
ปัจจัยเสี่ยง
 
1. ผู้บริโภคบางส่วนไม่สามารถเข้าถึงสื่อผ่านช่องทางออนไลน์ได้ เนื่องจากใช้อุปกรณ์ไม่เป็น
2. การแข่งขันที่รุนแรงในช่องทีวีดิจิทัล
3. ข้อจำกัดในการเข้าถึงระบบอินเตอร์ของผู้บริโภคบางส่วน
4. การเดิบโตของรายจ่ายด้านโฆษณา อ้างอิงเศรษฐกิจในประเทศที่กำลังฟื้นตัว
5. การเปลี่ยนแปลงของการกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์
6. โดรงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี และโครงข่ายต่างๆ ที่ยังไม่ครอบคลุม
 
 
 

ธุรกิจเด่นอันดับ 3 ธุรกิจด้าน Fintech และการชำระเงินฝากระบบเทคโนโลยี

ปัจจัยสนับสนุน
 
1. มีความหลากหลายทางธุรกรรมการเงิน เช่น การชำระค่าสินค้า การใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตและเครดิต การให้สินเชื่อผ่านระบบโมบายแบงก์กิ้งสำหรับการช็อปปิ้งออนไลน์ การให้กู้ยืมระหว่างกัน (peer-to-peer lending) หรือจะเป็นด้านการลงทุน
2. Mobile Technology : ซึ่งยังคงมีแนวโน้มการใช้งานเพิ่มขึ้น และจะยิ่งเชื่อมต่อทุกคนให้เข้าถึง Fintech
3. นโยบายการละเว้นค่าธรรมเนียมทางการเงิน การโอน การชำระเงิน ฯลฯ
4. การพัฒนาแหล่งการชำระเงินตามร้านค้าด้งเดิม ร้านค้าออนไลน์ ผู้ประกอบการ ที่มีการชำระผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น
5. พฤติกรรมการชำระเงินด้วยอิเล็กทรอนิกส์มีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่
6. รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการทำธุรกรรมผ่านดิจิทัลมากขึ้น โดยเฉพาะการออกมาตรการช่วยเหลือจากการระบาดของโควิด-19 ผ่านแอปพลิเคชั่น "เป๋าตัง" และนโยบายกระตุ้นการบริโภคต่างๆ
 
 
ปัจจัยเสี่ยง
 
1. ความเชื่อมันของประชาชนต่อความปลอดภัยในการให้บริการผ่านแฟลตฟอร์มของธนาคาร
2. ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Hacker) ที่เพิ่มสูงขึ้นตามพัฒนาการเทคโนโลยี
3. ข่าวเรื่องความปลอดภัยในเรื่องของข้อมูล และอาชญากรรมทางด้านเทคโนโลยี เช่น มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นธนาคารผู้ให้บริการเงินกู้แล้วหลอกลวงเงิน ผ่าน SMS ไลน์ เฟสบุ๊ก แอปเงินกู้ และโทรศัพท์
4. การปลอมแปลงหน้าตา application ของสถาบันการเงินต่างๆ
5. การหลอกลวงนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ในทางที่มิชอบ
 

ธุรกิจเด่นอันดับ 3 ธุรกิจงานคอนเสิร์ต มหกรรมจัดแสดงสินค้า งาน Event

ปัจจัยสนับสนุน
 
1. หลังการเปิดประเทศ ทำให้งานคอนเสิร์ตมหกรรมจัดแสดงสินค้า, Event สินค้าและช่วยฟื้นฟูธุรกิจ MICE กระเตื้องขึ้น โดยได้แรงหนุนจากภาคการท่องเที่ยวที่เริ่มกลับมาคึกคัก
2.การเพิ่มขึ้นของช่องทางในการสื่อสาร โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ ที่สามารถรับชมได้ตลอด 24 ชม.
3. ภาครัฐสนับสนุนการจัดนิทรรศการและงานแสดงสินค้าสามารถดึงเม็ดเงินจากนักธุรกิจต่างชาติและเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ
4. ผู้บริโภคมีความต้องการในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ หลังจากไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ได้มากในช่วงที่ผ่านมา
 
 
ปัจจัยเสี่ยง
 
1. การจัดประชุม (Meeting) แบบออนไลน์ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ทำให้หลายหน่วยงานหลายธุรกิจ งานนิทรรศการ รวมถึงงานแสดงสินค้าหันมาใช้กันอย่างแพร่หลายเพราะต้นทุนต่ำและมีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง
2. ต้นทุนด้านพลังงานสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินงานด้านต่างๆ เพิ่มขึ้น
3. ความไม่แน่นอนเรื่องของสถานการณ์โควิด-19
4. ภวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างชัดเจน ยังคงมีความเสี่ยงในหลายด้าน

 

ธุรกิจเด่นอันดับ 4 ธุรกิจจัดทำคอนเทนต์ ธุรกิจ Youtuber การรีวิวสินค้า และ Influencer

ปัจจัยสนับสนุน
 
1. พฤติกรรมในการติดตามสื่อของคนในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป
2. การเพิ่มขึ้นของช่องทางในการสื่อสาร โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ ที่สามารถรับชมได้ตลอด 24 ชม.
3. พฤติกรรมของผู้บริโภคปัจจุบันให้ความสนใจกับ influencer
4. การเพิ่มขึ้นของการโปรโมทโฆษณาผ่าน Social Influencer อาทิเช่น Net-ldol หรือ Youtuber
5. กลยุทธ์การเพิ่มยอดขายของธุรกิจผ่าน Application มีเพิ่มขึ้น
6. ธุรกิจขนาดเล็ก-ใหญ่ หันมาโปรโมทสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น
7. การเข้าสู่ตลาดเกี่ยวกับ Youtuber ง่ายและมีต้นทุนการดำเนินการที่ต่ำ
 
 
ปัจจัยเสี่ยง
 
1. กฎระเบียบ กฎหมายต่างๆ ที่ไม่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ
2. เมื่อเกิดความผิดพลาดหรือเป็นโทษต่อผู้บริโภค ธุรกิจอาจถึงขั้นต้องปิดกิจการ
3. ข้อจำกัดในการเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ตของผู้บริโภคบางส่วน
4. ธุรกิจมีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง โดยเฉพาะเรื่องราคาหรือการให้โปรโมชั่น
5. ศิลปินดาราผันตัวมาเป็น Youtuber มากขึ้น ส่งผลให้การแข่งขันในตลาด Influencer มีความรุนแรงมากขึ้น
6. Al Influencer หรือ Vitual Influencer เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่เริ่มเข้ามามีบททบาทในปัจจุบัน เพื่อทำการตลาดเป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับแบรนด์ต่างๆ และยังเสียค่าใช้จ่ายในการทำงานน้อยกว่าคนจริงๆ
 

ธุรกิจเด่นอันดับ 4 ธุรกิจโฆษณาและสื่อออนไลน์

ปัจจัยสนับสนุน
 
1. กิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวหลาย ๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นการส่งออก การท่องเที่ยว และกำลังซื้อของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ทำให้แนวโน้มธุรกิจโฆษณาและสื่อออนไลน์เติบโตได้ดีขึ้น
2. การปรับเปลี่ยนรูปแบบการโฆษณา ที่เป็นการเจาะกลุ่มเป้าหมายเฉพาะมากขึ้น
3. ประมาณการณ์อุตสาหกรรมสื่อโฆษณาปี 2565 จะเติบโต 5-8% จากเศรษฐกิจฟื้นตัวเร็ว โดยสื่อยอดนิยมยังคงเป็นสื่อออนไลน์ที่มีอัตราการเดิบโตที่สูงขึ้น โดยผ่านทางแพลตฟอร์มโซเซียลมีเดีย อย่าง TikTok, Youtube, facebook, instragram ฯลฯ
4. สื่อโฆษณาที่กลับมามีอิทธิพลมากขึ้น คือสื่อนอกบ้านและสื่อเคลื่อนที่ตลอดจนสื่อในโรงภาพยนตร์
 
 
ปัจจัยเสี่ยง
 
1. เงินเฟ้อยังคงเป็นปัจจัยต่อตลาดสื่อโฆษณาโดยรวม
2. ธุรกิจมีการแข่งขันในตลาดสูง โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ที่เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึง
 

 

ธุรกิจเด่นอันดับ 5 ธุรกิจ Matching เช่น platform หาคู่ สั่งอาหาร เรียกรถ อื่นๆ ธุรกิจแพลตฟอร์ม (ธุรกิจตัวกลางหรือตลาดกลางทางด้านอิเล็กทรอนิกส์)

 
ปัจจัยสนับสนุน
 
1.สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้มีการพัฒนาแพลตฟอร์มที่รองรับกับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
2. ตลาดอีคอมเมิร์ชไทยเติบโตเพิ่มขึ้นมา ทำให้ธุรกิจแพลตฟอร์มเติบโตด้วย เนื่องจากมีความพร้อมในด้าน Ecosystem เช่น ความพร้อมด้าน Logistics, Payment, ตัวเลขผู้ใช้งานสมาร์ทโฟน ฯลฯ
3. กระแสของธุรกิจแพลตฟอร์มที่มีการพัฒนาที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ทำให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคให้ตรงจุดกลายเป็นวิถีชีวิตของผู้บริโภคในปัจจุบัน
4. พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีสังคมเมืองที่เร่งรีบ และต้องการความสะดวกสบาย ประกอบกับการเข้าถึงสมาร์ทโฟนและอินเทอร์เน็ตของสังคมเมือง (Urbanization)
5. พฤติกรรมของคนในปัจจุบันที่เข้าถึงเทคโนโลได้อย่างมาก
6. (แพลตฟอร์มหาคู่) จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้โอกาสการพบปะผู้คนลดลงและต้องทำงานอยู่ในบ้าน (WFH) ทำให้แพลตฟอร์มหาคู่บนโลกออนไลน์เป็นทางออกสำหรับคนที่ไม่มีเวลาในการพบปะผู้คน
7. (ธุรกิจเรียกรถยนต์รับจ้าง) การผ่อนคลายมาตรการเดินทางเข้าประเทศของรัฐบาล ทำให้เห็นนักท่องเที่ยวเริ่มกลับมาท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การให้บริการเรียกรถจึงเป็นทางเลือกของการเดินทางที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และยังตอบโจทย์ทั้งในด้านความสะดวกสบายและมาตรสาบความปลอดภัย
 
 
ปัจจัยเสี่ยง
 
1. ธุรกิจมีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มให้เหนือกว่าคู่แข่ง
2. จำนวนบุคลากร/ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมีจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับความต้องการ
3. ความไม่ชัดเจนของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
4. ระบบการรักษาความปลอดภัยและการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล
5. การเปลี่ยนแปลงของระดับเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว
6. การก่ออาชญกรรมทางด้านเทคโนโลยี
7. (ธุรกิจจัดส่งอาหาร-เรียกรถ) ราคาพลังงานโลกที่ปรับตัวสูง
8. (ธุรกิจจัดส่งอาหาร-เรียกรถ) ภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้น กำลังซื้อผู้บริโภคยังอ่อนแอ ทำให้ผู้คนระวังการใช้จ่ายและการใช้บริการ
9. (แพลตฟอร์มหาคู่) อัตราการเกิดที่ลดลงและจำนวนประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้น และแนวโน้มที่คนหนุ่มสาวแต่งานเพื่อสร้างครอบครัวลดลง
10. การแข่งขันที่รุนแรง และสร้างผลกระทบไปยังธุรกิจดั้งเดิม (แท็กซี่)
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด