ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กัญชาไม่ทำให้ใครตาย ไม่เป็นเรื่องจริง - นพ.สมิทธิ์ ศรีสนธิ์

กัญชาไม่ทำให้ใครตาย ไม่เป็นเรื่องจริง - นพ.สมิทธิ์ ศรีสนธิ์ HealthServ.net

นพ.สมิทธิ์ ศรีสนธิ์ โพสต์ “กัญชาไม่ทำให้ใครตาย” ไม่เป็นเรื่องจริง เพราะงานวิจัยระดับโลกให้กัญชามีผลสัมพันธ์กับการตายกะทันหันได้ และในไทยมีเคสยืนยันชัดเจนว่าตายแบบนี้จากการผ่าศพแล้ว พร้อมเปิดข้อมูลอ้างอิง ที่เป็นประโยชน์และน่าสนใจอย่างมาก

กัญชาไม่ทำให้ใครตาย ไม่เป็นเรื่องจริง - นพ.สมิทธิ์ ศรีสนธิ์ ThumbMobile HealthServ.net
3 มกราคม 2566 นพ.สมิทธิ์ ศรีสนธิ์ เผยแพร่ ข้อมูลการเสียชีวิตของบุคคลรายหนึ่ง ที่ "เสียชีวิตโดยสัมพันธ์กับการใช้กัญชาอย่างชัดเจน ซึ่งยืนยันโดยการผ่าศพและผลการตรวจเลือด" 


โดยมีข้อมูลรายละเอียดดังนี้
 

1. ผู้ตายเป็นชายไทยอายุ 40 ปี มีประวัติว่าใช้กัญชาก่อนเสียชีวิต โดยพบนอนเสียชีวิตภายในบ้าน จึงทำการชันสูตรพลิกศพโดยการผ่าศพ
 

2. ผลการผ่าศพพบพยาธิสภาพที่สำคัญแค่สองอย่างคือ เส้นเลือดแดงเลี้ยงหัวใจตีบประมาณ 50% เพียงเส้นเดียว และผนังหัวใจห้องล่างซ้ายหนากว่าปกติเล็กน้อย ซึ่งจากผลผ่ายังไม่สามารถระบุสาเหตุการตายได้ เพราะพยาธิสภาพดังกล่าวไม่เป็นสาเหตุการตาย
 

3. ทางแพทย์นิติเวชจึงส่งตรวจทางพิษวิทยาเพิ่มเติม และลงผลในหนังสือรับรองการตายไปเบื้องต้นว่าไม่ทราบสาเหตุการตาย
 

4. ต่อมาผลทางพิษวิทยาเป็นดังนี้
- พบ delta9-THC (สารที่เกิดจากการเสพกัญชา) ในเลือด โดยมีปริมาณ 7.10 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร แต่ไม่พบ delta9-THC ในปัสสาวะ ซึ่งการพบแต่ในเลือดแสดงให้เห็นว่า ผู้ตายพึ่งใช้กัญชาก่อนเสียชีวิต
- พบ carboxy-delta9-THC ทั้งในเลือดและปัสสาวะเป็นจำนวนมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ตายใช้กัญชาเป็นประจำ
- ไม่พบสารเสพติดอื่นๆ ในเลือดและปัสสาวะ ยกเว้นสาร mitragynine จากการเสพพืชกระท่อม

สรุปสั้นๆ แบบให้คนทั่วไปเข้าใจคือ
 
******ผู้ตายพึ่งเสพกัญชาก่อนเสียชีวิตโดยมีปริมาณกัญชาในเลือดของผู้ตาย 7.10 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ผู้ตายใช้กัญชามาเป็นเวลานาน และไม่พบสารเสพติดอื่นๆ ในผู้ตาย เว้นแต่สารจากพืชกระท่อม******
 

5. จากผลทั้งหมด ทางแพทย์นิติเวชสามารถสรุปสาเหตุการตายได้ว่า “โรคหัวใจขาดเลือดกำเริบจากการได้รับสารอนุพันธ์ของกัญชา (cannabis induced coronary artery disease)”

 

6. ทำไมถึงสรุปแบบนี้ ขออธิบายโดยใช้งานวิจัยที่ทำโดยนักนิติพิษวิทยาระดับโลกตามนี้

Cannabis as a cause of death: A review - Olaf H. Drummer, Dimitri Gerostamoulosa , Noel W. Woodford 
 
ถ้าอ้างอิงตามงานวิจัยนี้ ปริมาณกัญชาที่พบในเลือดของเคสนี้ไปกระตุ้นให้หัวใจขาดเลือดได้ เหมือนกับรูปจากงานวิจัยที่ผมตัดออกมาให้ดู ส่วนใครไม่อยากอ่านภาษาอังกฤษ

ผมเคยสรุปเรื่องนี้ไว้ตามสเตตัสนี้ครับ  facebook.com/posts


 


สุดท้ายมีประเด็นสำคัญที่อยากบอกคือ

1. เคสนี้ชัดเจนว่าเป็นการตายที่สัมพันธ์กับการใช้กัญชา ก่อนหน้านี้ก็มีเคสแบบนี้หลายเคสแล้ว ที่ใช้กัญชาแล้วเสียชีวิตในลักษณะแบบนี้ แต่มักจะโดนปฏิเสธว่าไม่ได้ตรวจทางพิษวิทยา (เพราะไม่เชื่อแค่ประวัติ) หรือบางเคสไม่ได้ผ่าศพ (เพราะถ้าผ่าอาจเจอเหตุตายอื่น) หรือบางเคสใช้ร่วมกับสารเสพติดตัวอื่น (เพราะสารเสพติดอื่นทำให้ตาย แต่จริงๆ เคสนี้ก็ใช้กัญชาร่วมกับตัวอื่น แต่เป็นกระท่อมที่พึ่งปลดล็อคออกจากยาเสพติดเช่นกัน)

2. หยุดวลี “กัญชาไม่ทำให้ใครตาย” ได้แล้ว เพราะตามงานวิจัยระดับโลก กัญชามีความสัมพันธ์กับการตายในลักษณะแบบนี้ได้ และตอนนี้ก็มีเคสที่ยืนยันชัดเจนว่าตายแบบนี้ในไทยแล้ว

3. การตายสัมพันธ์กับการใช้กัญชาแบบนี้ เกิดจากใช้กัญชาโดยการสูบครั้งเดียวก็เป็นไปได้ โดยไม่ต้องมีโรคประจำตัวใดๆ ดังนั้นถ้าเอามาเทียบกับเหล้าบุหรี่ในเรื่องนี้ กัญชาจะรุนแรงกว่า เพราะแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่การใช้เหล้าบุหรี่เพียงเล็กน้อยมีผลสัมพันธ์จนทำให้ถึงแก่ชีวิต แต่กัญชากลับมีความสัมพันธ์กับการตายแบบนี้ จึงควรต้องเตือนเรื่องนี้กับประชาชนให้ชัดเจน

4. ประเด็นในการตรวจหากัญชาหรือ THC ในเลือดก็สำคัญมาก กรณีนี้เจอ THC ในเลือดที่ประมาณ 7 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งบางห้องปฏิบัติการอาจตรวจไม่เจอ เพราะต้องมี THC 10 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตรหรือมากกว่านั้นห้องปฏิบัติการถึงตรวจเจอ ทำให้แพทย์อาจแปลผลผิดว่าไม่มีกัญชาในเลือด ทั้งๆ ที่มีการใช้กัญชาจริง ก็อยากให้ทางกรมวิทย์ยืนยันว่า สามารถตรวจพบ THC ได้ถึง 1 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตรในทุกห้องปฏิบัติการ (เพราะจากงานวิจัยนี้ THC เพียง 2 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตรก็สัมพันธ์กับการตายในกรณีแบบนี้ได้แล้ว) 


ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด