ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

พยาบาลกินเบียร์ ลาออกแล้ว สภาพยาบาลเร่งสอบ

พยาบาลกินเบียร์ ลาออกแล้ว สภาพยาบาลเร่งสอบ HealthServ.net

ต่อกรณีพยาบาลและบุคลากรในโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดงานเลี้ยงปาร์ตี้ดื่มกิน อาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สนุกสนาน และเผยแพร่คลิปลงบน TikTok สร้างความฮือฮาและเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ทั่วประเทศ ในเวลาต่อมา สสจ.ได้ออกมายอมรับว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริง โรงพยาบาลต้นสังกัดได้สั่งพักงาน สภาพการพยาบาลออกประกาศเร่งสอบสวนกรณีนี้โดยทันที ล่าสุดพยาบาลคนดังกล่าวที่ประสบความเครียดอย่างหนัก ประกาศลาออกแล้ว

พยาบาลกินเบียร์ ลาออกแล้ว สภาพยาบาลเร่งสอบ ThumbMobile HealthServ.net
พยาบาลกินเบียร์ ลาออกแล้ว สภาพยาบาลเร่งสอบ HealthServ
 

จากกรณีคลิปวีดีโอของสาวคนหนึ่ง แต่งกายคล้ายชุดพยาบาล บนหัวใส่หมวกพยาบาล และแขวนป้ายชื่อที่คอ ส่วนในมือถือขวดเบียร์ที่ใช้หลอดดูดจนหมดขวด ในห้องลักษณะคล้ายที่ทำงาน โดยหลังจากที่เจ้าตัวโพสต์คลิปนี้ ก็ถูกชาวเน็ตวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสม จนตอนนี้ผู้โพสต์ปิดบัญชีติ๊กต็อกไปแล้ว แต่ชาวเน็ตยังบันทึกวิดีโอนี้ไว้ได้ทัน ส่วนอีกคลิปหนึ่ง เป็นคลิปของสาวแต่งกายคล้ายชุดพยาบาลอีกคน กำลังเปิดฝาขวดเหล้าเทใส่แก้ว และชนแก้วกับอีกหลายคนในวง และมีการเต้น โยกตามจังหวะเพลง


เบื้องต้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคลิปทั้ง 2 คลิปนี้ ถูกระบุว่า อยู่ในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งใน จ.พระนครศรีอยุธยา






 
วันที่ 3 มกราคม 2566 สสจ.อยุธยา ยอมรับคลิปสาวสวมชุดพยาบาลกินเบียร์ใน รพ. เป็นเรื่องจริง โดย นายแพทย์ ยุทธนา วรรณโพธิ์กลาง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  เปิดเผยว่า  จากการตรวจสอบเบื้องต้นจากคลิปดังกล่าว เป็นการดื่มเครื่องแอลกอฮอล์ในโรงพยาบาลจริง โดยในวันนี้ได้มีการประชุมหารือในเรื่องดังกล่าวร่วมกับ ตัวแทนของสภาการพยาบาล และผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันโรคที่ 5  โดยได้พิจารณาความผิดตามพระราชบัญญัติ ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์   ซึ่งตามมาตรฐานการให้บริการถือเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม 

เบื้องต้นทางผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชนดังกล่าว มีคำสั่งให้ผู้อยู่ในคลิป พักงานไว้ก่อน พร้อมตั้งคณะสอบสวนเรื่องที่เกิดขึ้น และจะได้สอบสวนร่วมกับทางโรงพยาบาลเอกชน  เพื่อพิจารณาการกระทำความผิดและส่งต่อข้อมูลให้กับสภาการพยาบาลพิจารณาการทำหน้าที่พยาบาลต่อไป [สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]

 
 
สภาการพยาบาล ออกแถลงการณ์ผ่านเพจของสภา ระบุว่า จะเร่งดำเนินการสืบสวน ทันที

"จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสังคมออนไลน์ เป็นวิดีโอคลิปและภาพบุคคลที่แต่งกายชุดพยาบาล กำลังดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ทำงาน เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2566 นั้น สภาการพยาบาลได้รับทราบข้อมูลเบื้องต้นแล้ว และมอบหมายให้ผู้แทนสภาการพยาบาลประจำจังหวัด ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยเร็วที่สุด ซึ่งสภาการพยาบาลจะดำเนินการแถลงข้อเท็จจริง เพื่อพิทักษ์สิทธิ์แห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ต่อไป - สภาการพยาบาล" 

รพ.ราชธานี สั่งพักงาน17คน แก๊งพยาบาล ดื่มเหล้าคารพ. สาวในคลิปชิงลาออกแล้ว

3 ม.ค. ที่โรงพยาบาลราชธานี จ.พระนครศรีอยุธยา นายเอนก มุ่งอ้อมกลาง ผอ.สำนักงานป้องกันโรคที่ 4 จ.สระบุรี ผู้แทนสภาพยาบาลประจำจังหวัด พร้อมด้วย นพ.ชัชรินทร์ ปิ่นสุวรรณ ผอ.โรงพยาบาลราชธานี คณะผู้บริหาร ร่วมกันประชุมสอบสวนข้อเท็จจริงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
 
นพ.ชัชรินทร์ กล่าวว่า ทางโรงพยาบาลรู้เสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่ปรากฏการแสดงที่ไม่เหมาะสมเกิดขึ้นในสถานพยาบาล เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 ธ.ค.65 เวลาประมาณ 17.00 น. ทันที่เราทราบเรื่องและเห็นปรากฏตามสื่อโซเชียล เราได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงทันทีในเบื้องต้น ซึ่งเป็นช่วงของวันหยุด มีบุคลากรการทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่อยู่ในเหตุการณ์ทั้งหมด 17 คน สั่งพักงานทันที พร้อมกับหาข้อเท็จจริง วันนี้เป็นวันทำงานจึงได้สอบข้อเท็จจริงจากผู้เกี่ยวข้องอีกครั้งเกือบครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ทุกคนที่ปรากฏในคลิปเป็นการกระทำที่ผิดไม่เหมาะสม กระทบต่อสถานพยาบาลและกลุ่มเพื่อร่วมวิชาชีพเดียวกัน ตัวน้องพยาบาลที่อยู่ในความเครียดอย่างมากและขอแสดงความเสียใจ พร้อมขอโทษผู้เกี่ยวข้อง และแสดงรับผิดชอบด้วยการลาออกแล้ว [Dailynews

พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามดื่มในสถานพยาบาล

พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 (มีผลบังคับตั้งแต่ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551 ) กำหนดสถานที่ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ดังนี้

ห้ามขายในสถานที่หรือบริเวณรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นร้านค้า หรือสโมสร

ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ประกอบกิจการโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน โดยไม่ใช้บังคับกับโรงงานผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ดำเนินการเป็นปกติธุระในทางการค้าของโรงงานผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสวนสาธารณะของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่จัดไว้เพื่อการพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป

ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ที่อยู่ในกำกับดูแล และใช้ประโยชน์ของราชการ นอกเหนือจากสถานที่ราชการตามมาตรา27(3)

ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ที่อยู่ในกำกับดูแลและใช้ประโยชน์ของ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ

ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบริเวณสถานีรถไฟ หรือในขบวนรถที่อยู่บนทางรถไฟตามกฎหมายว่าด้วยจัดวางการรถไฟและทางหลวง

ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบริเวณท่าเรือโดยสารสาธารณะ หรือบนเรือโดยสารสาธารณะประจำทาง

ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก, ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บริเวณสถานีขนส่งตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ




มาตรา 30 ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการหรือในลักษณะ ดังต่อไปนี้
  1. ใช้เครื่องขายอัตโนมัติ ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  2. การเร่ขาย
  3. การลดราคาเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย
  4. ให้หรือเสนอให้สิทธิในการเข้าชมการแข่งขัน การแสดง การให้บริการ การชิงโชค การชิงรางวัล หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดเป็นการตอบแทนแก่ผู้ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแก่ผู้นำหีบห่อหรือสลากหรือสิ่งอื่นใดเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาแลกเปลี่ยนหรือแลกซื้อ
  5. โดยแจก แถม ให้ หรือแลกเปลี่ยนกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือกับสินค้าอื่น หรือการให้บริการอย่างอื่นแล้วแต่กรณี หรือแจกจ่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในลักษณะเป็นตัวอย่างของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเป็นการจูงใจสาธารณชนให้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการกำหนดเงื่อนไขการขายในลักษณะที่เป็นการบังคับซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยทางตรงหรือทางอ้อม
  6. โดยวิธีหรือลักษณะอื่นใดตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ ผู้ใดฝ่าฝืน (2) (3) (4) (5) (6) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

     

มาตรา 31 ห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณดังต่อไปนี้
  1. วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา
  2. สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาลและร้านขายยา ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล
  3. สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล หรือสโมสร
  4. สถานศึกษา ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคลหรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตาม
    ประเพณี หรือสถานศึกษาที่สอนการผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าการศึกษาแห่งชาติ
  5. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง หรือร้านค้าในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
  6. สวนสาธารณะของทางราชการที่จัดไว้เพื่อการพักผ่อนของประชาชน
  7. สถานที่อื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
    7.1) ในบริเวณสถานีรถไฟ หรือในขบวนรถที่อยู่บนทางรถไฟ
    7.2) ห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ดังต่อไปนี้ ยกเว้น บริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล หรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี
         7.2.1) พื้นที่ที่อยู่ในกำกับดูแลและใช้ประโยชน์ของราชการ
         7.2.2) พื้นที่ที่อยู่ในกำกับดูแลและใช้ประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
    7.3) ในบริเวณท่าเรือโดยสารสาธารณะหรือบนเรือโดยสารสาธารณะประจำทาง
    7.4) บริเวณสถานีขนส่งตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก
    7.5) บนทางในขณะขับขี่หรือในขณะโดยสารอยู่ในรถ หรือบนรถ
    7.6) ในพื้นที่ประกอบกิจการโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน โดยไม่ใช้บังคับกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นขั้นตอนของการผลิตหรือรักษามาตรฐานการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ   

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด