ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อย.เตือนภัย สินค้าผิดกฏหมาย ต้องห้าม เลขอย.ปลอม (ปี 2566)

อย.เตือนภัย สินค้าผิดกฏหมาย ต้องห้าม เลขอย.ปลอม (ปี 2566) HealthServ.net

อย.ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคอย่างแข็งขัน เฝ้าระวังตรวจตราตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอางค์ ผิดกฏหมาย เป็นอันตราย ไม่ได้รับอนุญาต เลี่ยงกฏหมาย ลักลอบผลิตนำเข้าจำหน่าย เลขอย.ปลอม/ขาดอายุ/สวมทะเบียน มีผู้กระทำผิดมากมายไม่เว้นแต่ละวัน เพื่อช่วยเฝ้าระวังให้ประชาชนอีกทาง ได้รวบรวมสินค้าที่ต้องห้ามผิดกฏหมายอย.ไว้เพื่อตรวจสอบได้ง่ายขึ้น

อย.เตือนภัย สินค้าผิดกฏหมาย ต้องห้าม เลขอย.ปลอม (ปี 2566) ThumbMobile HealthServ.net
 

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Bluzone Fish Oil Plus โฆษณาคุณประโยชน์คุณภาพของอาหารอันเป็นเท็จหรือ หลอกลวง LINK

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Bluzone Fish Oil Plus โฆษณาคุณประโยชน์คุณภาพของอาหารอันเป็นเท็จหรือ หลอกลวง อย.เตือนภัย สินค้าผิดกฏหมาย ต้องห้าม เลขอย.ปลอม (ปี 2566)
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Bluzone Fish Oil Plus โฆษณาคุณประโยชน์คุณภาพของอาหารอันเป็นเท็จหรือ หลอกลวง อย.เตือนภัย สินค้าผิดกฏหมาย ต้องห้าม เลขอย.ปลอม (ปี 2566)
27 มกราคม 66 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Bluzone Fish Oil Plus ตามโฆษณา ฉลากระบุ Bluzone Fish Oil Plus+ 500 EPA/ 250 DHA Omega 960 Capsule ทั้งนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลในระบบสืบค้นข้อมูลการอนุญาต ผลิตภัณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในชื่อ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ฟิชออย พลัส (ตรา บลูโซน)/Fish Oil Plus Dietary Supplement Product (BLUZONE Brand) พบผลิตภัณฑ์ได้รับ อนุญาตในเลขสารบบอาหาร 13-2-03555-5-0134 และเลขสารบบอาหาร 12-1-13353-5-0662 ซึ่งการ แสดงข้อความ ช่วยบรรเทาการอักเสบของร่างกายและหลอดเลือด ช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ เพิ่ม HDL ดังกล่าว เป็นการโฆษณาคุณประโยชน์คุณภาพของอาหารอันเป็นเท็จหรือ หลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร เนื่องจากผลิตภัณฑ์อาหารไม่มีผลในการ บำบัด บรรเทา หรือรักษาโรค ซึ่ง อย. จะดำเนินการทางกฎหมายกับผู้กระทำการฝ่าฝืน พรบ. อาหาร พ.ศ. 2522 ต่อไป

ผลิตภัณฑ์ฉลากระบุ นาเมทีส ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อย.ตรวจสอบแล้ว เป็นข้อมูลเท็จ LINK

ผลิตภัณฑ์ฉลากระบุ นาเมทีส ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อย.ตรวจสอบแล้ว เป็นข้อมูลเท็จ อย.เตือนภัย สินค้าผิดกฏหมาย ต้องห้าม เลขอย.ปลอม (ปี 2566)
ผลิตภัณฑ์ฉลากระบุ นาเมทีส ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อย.ตรวจสอบแล้ว เป็นข้อมูลเท็จ อย.เตือนภัย สินค้าผิดกฏหมาย ต้องห้าม เลขอย.ปลอม (ปี 2566)
9 มกราคม 66 ผลิตภัณฑ์ฉลากระบุ นาเมทีส ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Nametis Dietary Supplement Product) ทั้งนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลในระบบสืบค้นข้อมูลการอนุญาตผลิตภัณฑ์ของ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในชื่อ นาเมทีส (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) พบผลิตภัณฑ์ได้รับ อนุญาตในเลขสารบบอาหาร 13-1-15859-5-0024 และเลขสารบบอาหาร 13-1-15859-5-0359 สถานะผลิตภัณฑ์: ยกเลิกโดยผู้ประกอบการ และเลขสารบบอาหาร 13-1-15859-5-0768 สถานะผลิตภัณฑ์: คงอยู่ ซึ่งการแสดงข้อความ ลดอัตราการเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและ สมอง โรคสมองเสื่อม โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง เข้าข่ายเป็นโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือ สรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จ หรือเป็นการหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร เนื่องจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ไม่มีผลในการบำบัด บรรเทา หรือรักษาโรค และต้องแสดงคำ เตือนดังกล่าวบนฉลาก ทั้งนี้ อย. จะดำเนินการทางกฎหมายกับผู้กระทำผิดต่อไป

ผลิตภัณฑ์ฉลากระบุ THAnOS ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่ ได้รับอนุญาตจาก อย. และมีการปลอมเลข อย. LINK

ผลิตภัณฑ์ฉลากระบุ THAnOS ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่ ได้รับอนุญาตจาก อย. และมีการปลอมเลข อย.  อย.เตือนภัย สินค้าผิดกฏหมาย ต้องห้าม เลขอย.ปลอม (ปี 2566)
ผลิตภัณฑ์ฉลากระบุ THAnOS ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่ ได้รับอนุญาตจาก อย. และมีการปลอมเลข อย.  อย.เตือนภัย สินค้าผิดกฏหมาย ต้องห้าม เลขอย.ปลอม (ปี 2566)
 ผลิตภัณฑ์ฉลากระบุ THAnOS อย. 24-1-09957-1-0107 ดังกล่าว ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่ ได้รับอนุญาตจาก อย. และมีการปลอมเลข อย. ของผลิตภัณฑ์อื่นซึ่งถูกยกเลิกไปตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2562 ทั้ง นี้ข้อความ “เพิ่ม สมรรถภาพ เพิ่มขนาด แข็งตัวได้เต็มที่ ทำให้คุณอึดได้ดั่งใจ มี อย. รับรอง” เป็นการโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของ อาหารอันเป็นเท็จ หรือหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร ซึ่ง อย. จะดำเนินการทางกฎหมายกับผู้กระทำการฝ่าฝืน พรบ. อาหาร พ.ศ. 2522 ต่อไป...

ผลิตภัณฑ์ ENEL ARED ไม่มีการยื่นข้อมูลประสิทธิผลตามที่ กล่าวอ้างแต่อย่างใด

26 มกราคม 66 ผลิตภัณฑ์ ENEL ARED ช่วยบำรุงสายตา ลดความเสี่ยงจอประสาทตาเสื่อม ลด ความเสี่ยงต้อกระจก และช่วยกรองแสงสีฟ้าได้ ข้อเท็จจริง : ...ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ขออนุญาตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในชื่อ เอเนล เอเรด (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร)/ENEL ARED (Dietary supplements product) เลขอย. 11-1-01757-5-0140 ซึ่งในการยื่นขออนุญาต ไม่มีการยื่นข้อมูลประสิทธิผลตามที่ กล่าวอ้างแต่อย่างใด ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่มีผล ในการบำบัด บรรเทา หรือ รักษาโรค และต้องแสดงคำเตือนดังกล่าวบนฉลาก และการแสดงข้อความ ช่วยบำรุง สายตา ลดความเสี่ยงจอประสาทตาเสื่อม ลดความเสี่ยงต้อกระจก และช่วยกรองแสงสี ฟ้า เป็นการโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณ ของอาหารอันเป็นเท็จ หรือ หลอกลวงให้ เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร ซึ่ง อย. จะดำเนินการทางกฎหมายกับ ผู้กระทำการฝ่าฝืน พรบ. อาหาร พ.ศ. 2522 ต่อไป

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร LUTA ไม่มีการยื่นข้อมูล ประสิทธิผล ในการขออนุญาต LINK

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร LUTA ไม่มีการยื่นข้อมูล ประสิทธิผล ในการขออนุญาต อย.เตือนภัย สินค้าผิดกฏหมาย ต้องห้าม เลขอย.ปลอม (ปี 2566)
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร LUTA ไม่มีการยื่นข้อมูล ประสิทธิผล ในการขออนุญาต อย.เตือนภัย สินค้าผิดกฏหมาย ต้องห้าม เลขอย.ปลอม (ปี 2566)
31 มกราคม 66 ผลิตภัณฑ์ฉลากระบุ Luta ดังกล่าว ขออนุญาตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในชื่อ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ลูต้า (ตราแท็พ) / Luta Dietary Supplement Product (TaaP Brand) เลขอย. 74-1-18761-5-0264 ซึ่งในการยื่นขออนุญาตไม่มีการยื่นข้อมูล ประสิทธิผลตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่มีผลในการบำบัด บรรเทา หรือรักษาโรค และต้องแสดงคำเตือนดังกล่าวบนฉลาก และการแสดงข้อความ ช่วยบำรุงอาการตาบอดกลางคืน ช่วยอาการเมื่อยล้าของดวงตา ชะลอความเสื่อมของ จอประสาทตา ต้านอาการอักเสบ บรรเทาอาการตาแห้ง และช่วยกรองแสงสีฟ้าได้ เป็น การโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณ ของอาหารอันเป็นเท็จ หรือ หลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร ซึ่ง อย. จะดำเนินการทางกฎหมายกับ ผู้กระทำการฝ่าฝืนพรบ. อาหาร พ.ศ. 2522 ต่อไป 

ครีมหน้าใสพีวาย P.Y. Facial Skin cream พบสารประกอบของปรอทและสารสเตียรอยด์ เป็นสารห้ามใช้ LINK

ครีมหน้าใสพีวาย P.Y. Facial Skin cream พบสารประกอบของปรอทและสารสเตียรอยด์ เป็นสารห้ามใช้  อย.เตือนภัย สินค้าผิดกฏหมาย ต้องห้าม เลขอย.ปลอม (ปี 2566)
ครีมหน้าใสพีวาย P.Y. Facial Skin cream พบสารประกอบของปรอทและสารสเตียรอยด์ เป็นสารห้ามใช้  อย.เตือนภัย สินค้าผิดกฏหมาย ต้องห้าม เลขอย.ปลอม (ปี 2566)
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ดำเนินการตรวจสอบและทำการซื้อเครื่องสำอางจากร้านค้าออนไลน์ บัญชีเฟซบุ๊ก ชื่อ “P.Y. Shop - ครีมหน้าใสพีวาย” เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2565 และส่งตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบสารที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง จึงขอประกาศผลการตรวจสอบหรือผลวิเคราะห์เครื่องสำอางให้ประชาชนทราบ ดังนี้
 
ครีมหน้าใสพีวาย P.Y. Facial Skin cream
ไม่ระบุเลขที่ใบรับจดแจ้ง
ไม่ระบุ เลขที่ผลิต และ ครั้งที่ผลิต
ไม่ระบุ เดือนปี ที่ผลิตและเดือนปีที่หมดอายุ
สารห้ามใช้  ที่ตรวจพบ
1.สารประกอบของปรอท (Mercury compounds)
2.สารสเตียรอยด์ (Glucocorticoids ชนิดBetamethasone 17-valerate)
 
อันตรายของเครื่องสำอางข้างต้น  ได้แก่
1. ผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารประกอบของปรอท อาจทำให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ ผิวบางลง เกิดพิษสะสมของสารปรอท ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ และไตอักเสบ
 
2. ผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารสเตียรอยด์ (Glucocorticoids ชนิด Betamethasone 17-valerate) อาจทำให้ผิวบาง เกิดรอยแตก เส้นเลือดใต้ผิวหนังผิดปกติ หน้าแดงตลอดเวลา เกิดผื่นแพ้ เกิดสิวผด ผิวหนังมีสีจางลง หากใช้เป็นเวลานานจะเกิดด่างขาว
 
ข้อแนะนำ
ขอเตือนให้ประชาชนเลือกซื้อเครื่องสำอางด้วยความระมัดระวัง  ซื้อจากร้านค้าที่มีหลักแหล่งแน่นอน ฉลากภาษาไทยมีข้อความตามที่กฎหมายกำหนดอย่างครบถ้วน ได้แก่ ชื่อเครื่องสำอาง ชื่อทางการค้า ประเภทเครื่องสำอาง ชื่อของสารที่ใช้เป็นส่วนผสม วิธีใช้ ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต ผู้นำเข้า ปริมาณสุทธิ ครั้งที่ผลิต เดือนปีที่ผลิตหรือปีเดือนที่ผลิต คำเตือน (ถ้ามี) และเลขที่ใบรับจดแจ้ง สำหรับร้านค้าที่ซื้อเครื่องสำอางเพื่อจำหน่าย จะต้องซื้อจากผู้มีหลักแหล่งน่าเชื่อถือ และมีหลักฐานการซื้อขายที่ระบุชื่อและที่ตั้งของผู้ขายอย่างชัดเจน
 
กรณีที่พบผลิตภัณฑ์ ที่สงสัยว่าจะเป็นอันตราย สามารถสอบถามหรือแจ้งร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือผ่าน Line@FDAThai, Facebook: FDAThai หรือ E-mail: 1556@fda.moph.go.th ตู้ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ 

อย่าหลงเชื่อ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันมะพร้าว (ตรา คุณพลอย) LINK

อย่าหลงเชื่อ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันมะพร้าว (ตรา คุณพลอย) อย.เตือนภัย สินค้าผิดกฏหมาย ต้องห้าม เลขอย.ปลอม (ปี 2566)
อย่าหลงเชื่อ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันมะพร้าว (ตรา คุณพลอย) อย.เตือนภัย สินค้าผิดกฏหมาย ต้องห้าม เลขอย.ปลอม (ปี 2566)
น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ช่วยปรับสมดุลร่างกาย หลับง่ายขึ้น และช่วยให้ไม่ปวดตามเนื้อตามตัว หรือกระดูก.. ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ขออนุญาตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในชื่อ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร น้ำมัน มะพร้าว (ตรา คุณพลอย)/COCONUT OIL DETARY SUPPLEMENT PRODUCT (KHUNPLOY BRAND) เลข อย.70-1-27160-5-0101 ซึ่งในการยื่นขออนุญาตไม่มีการยื่นข้อมูลประสิทธิผลในการ ปรับสมดุลร่างกาย ลดอาการปวดเมื่อย และปวดกระดูก ตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์เสริม อาหารไม่มีผลในการบำบัด บรรเทา หรือรักษาโรค และต้องแสดงคำเตือนดังกล่าวบนฉลาก

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ฮัล์ค (Hulx) โฆษณาสรรพคุณอาหารเป็นเท็จ LINK

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ฮัล์ค (Hulx) โฆษณาสรรพคุณอาหารเป็นเท็จ อย.เตือนภัย สินค้าผิดกฏหมาย ต้องห้าม เลขอย.ปลอม (ปี 2566)
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ฮัล์ค (Hulx) โฆษณาสรรพคุณอาหารเป็นเท็จ อย.เตือนภัย สินค้าผิดกฏหมาย ต้องห้าม เลขอย.ปลอม (ปี 2566)
2 ก.พ. 66 อย.เตือน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ฮัล์ค (Hulx) นวัตกรรมหนึ่งเดียวของการใช้สมุนไพรที่เทียบเท่า Viagra ช่วยฟื้นฟูระบบร่างกายของเพศชายให้กลับมาสมดุลได้อีกครั้ง อย. ตรวจสอบแล้วพบ "  ข้อมูลอนุญาตโฆษณา เลขที่ ฆอ.2271/2565 เพื่อเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตและวีดิทัศน์ไม่ใช่ตามคลิปเสียงการมอบรางวัลที่กล่าวอ้าง " เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อ โฆษณาสรรพคุณอาหารเป็นเท็จ
 
        ลักษณะการโฆษณาแฝงมาในรูปแบบทำเป็นคลิปการรับรางวัล Product Innovation Awards 2022 พร้อมเสียงประกาศว่า “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Dr.X Hulk นวัตกรรมหนึ่งเดียวของการใช้สมุนไพรที่เทียบเท่า Viagra เจ้าแรกและเจ้าเดียวในไทยที่ใช้การศึกษาการระบาด ศาสตร์สมุนไพรจีนกับ สมุนไพรไทย ซึ่งสามารถช่วยฟื้นฟูระบบร่างกายของเพศชายให้กลับมาสมดุลได้อีก ครั้ง” คลิปดังกล่าว มีเนื้อหาที่สื่อแสดงให้เข้าใจคุณประโยชน์ คุณภาพของอาหารอัน เป็นเท็จหรือหลอกลวง ให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร เนื่องจากผลิตภัณฑ์เสริม อาหารไม่มีผลในการบำบัด บรรเทา หรือรักษาโรค 

อย่าหลงเชื่อ!! โฆษณาผลิตภัณฑ์ WIBERRY อ้างสรรพคุณรักษาโรคตา LINK

อย่าหลงเชื่อ!! โฆษณาผลิตภัณฑ์ WIBERRY อ้างสรรพคุณรักษาโรคตา อย.เตือนภัย สินค้าผิดกฏหมาย ต้องห้าม เลขอย.ปลอม (ปี 2566)
อย่าหลงเชื่อ!! โฆษณาผลิตภัณฑ์ WIBERRY อ้างสรรพคุณรักษาโรคตา อย.เตือนภัย สินค้าผิดกฏหมาย ต้องห้าม เลขอย.ปลอม (ปี 2566)
พบการโฆษณาผลิตภัณฑ์ “WIBERRY” เลข อย. 11-106353-5-0018 ทางเว็บไซต์ระบุสรรพคุณ “...การคิดค้นสูตรสากลที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างมากในเรื่อง ของ: กระจกตา (กระจกตาขาวขุ่น การเกิดแผลเป็น) เส้นประสาทตา (ต้อหิน) จอประสาทตา (โรคจุดภาพชัดที่ จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ เบาหวานขึ้นตา สายตาสั้น สายตายาว) เลนส์แก้วตา (ต้อกระจก) แล้วหมอก็ทำได้ สำเร็จ!...”
 
          สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่า เป็นข้อมูลลวง เนื่องจากการโฆษณาผลิตภัณฑ์ดังกล่าว จัดเป็นการโฆษณาแสดงคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จ หรือเป็นการหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร และไม่ได้รับอนุญาตโฆษณากับ อย. สำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อย.ไม่อนุญาตให้โฆษณาไปในทิศทางที่เกี่ยวกับการรักษาโรคต่างๆ ส่วนเว็บไซต์ที่ทำการโฆษณา ไม่พบข้อมูลผู้โฆษณา พบเพียงวิธีการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์จะต้องกรอกชื่อ หมายเลขโทรศัพท์ ของผู้ซื้อลงในเว็บไซต์ รวมทั้งเป็นเว็บไซต์ที่จดทะเบียนในต่างประเทศ หากเกิดปัญหาใด ๆ ในการบริโภคผลิตภัณฑ์จะไม่สามารถตามหาผู้รับผิดชอบได้ ดังนั้น จึงขอเตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อโฆษณาลักษณะนี้
 
ข้อแนะนำ
ขอแนะผู้บริโภคว่า นอกจากการให้ความสำคัญกับการตรวจสอบข้อมูลการขออนุญาตผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ที่ www.fda.moph.go.th หรือผ่าน Line@FDAThai, Facebook : FDAThai แล้ว ควรพิจารณาเนื้อหาการโฆษณาของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวด้วย อย่าหลงเชื่อโฆษณาที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง โดยผู้บริโภคสามารถตรวจสอบว่าโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหาร ยา และเครื่องมือแพทย์ ได้รับอนุญาตหรือไม่ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ อย. หมวดบริการประชาชน ในหัวข้อสืบค้นใบอนุญาตโฆษณา กรณีมีปัญหาสุขภาพควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกวิธี ทั้งนี้ หากพบผลิตภัณฑ์ที่สงสัยว่าจะไม่ปลอดภัย ขอให้แจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด