ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ไมโครซอฟต์เปิดตัว Bing ยุคใหม่ผสาน ChatGPT

ไมโครซอฟต์เปิดตัว Bing ยุคใหม่ผสาน ChatGPT HealthServ.net
ไมโครซอฟต์เปิดตัว Bing ยุคใหม่ผสาน ChatGPT ThumbMobile HealthServ.net

หลังจากไมโครซอฟต์ประกาศการลงทุนในบ. OpenAI ที่เป็นผู้พัฒนาระบบ ChatGPT อันลือลั่นสนั่นโลก พร้อมกับข่าวที่เล็ดลอดตามมาว่าไมโครซอฟต์เตรียมจะประยุกต์ใช้ประโยชน์ของ ChatGPT เข้ากับผลิตภัณฑ์ของตนทันที และบัดนี้คำตอบได้เผยออกมาแล้ว

7 กุมภาพันธ์ 2023 เรดมอนด์ วอชิงตัน สำนักงานใหญ่ บ. ไมโครซอฟต์ ยักษ์ใหญ่ด้านระบบปฏิบัติการและซอฟแวร์  เปิดตัวระบบค้นหา Bing เวอร์ชั่นใหม่ ที่ผสานพลังระบบเอไอปัญญาประดิษฐ์ ChatGPT สุดลือลั่นที่โลกตะลึงที่เปิดตัวไปเมื่อปลายปี 2022

ระบบค้นหา Bing เป็นเครื่องมือค้นหาของไมโครซอฟต์ เช่นเดียวกับ Google Search  ของค่ายกูเกิ้ล อัลฟาเบท 

โดยการเปิดตัว Bing โฉมใหม่ครั้งนี้ นับเป็นก้าวกระโดดทางนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ของบริษัท ที่ยิ่งใหญ่และรวดเร็วอย่างมาก  หลังจากที่ไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้า ไมโครซอฟต์ ได้ประกาศการลงทุนใน OpenAI บริษัทผู้เป็นเจ้าของประดิษฐ์ระบบแชทสุดล้ำ ChatGPT ตัวนี้ และประกาศแผนจะผนวกเราระบบนี้เข้ากับผลิตภัณฑ์ของบริษัท แทบจะทันที 
 

ก้าวย่างสำคัญครั้งนี้ ส่งแรงสะเทือนไปยังยักษ์ใหญ่เจ้าตลาดเสิร์จเอ็นจิ้นอย่างกูเกิ้ล โดยตรง และโลกกำลังจับตาดูความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดนับจากนี้


 
ไมโครซอฟต์เปิดตัว Bing ยุคใหม่ผสาน ChatGPT HealthServ
 
"การแข่งขัน" เริ่มแล้ว ณ วันนี้ สัตยา นาเดลลา ซีอีโอ ไมโครซอฟต์ ประกาศกร้าวบนเวทีเปิดตัว Bing 
 

ChatGPT จะไม่ใช่แค่ให้ผลการค้นหาที่จะลิงค์ไปยังเว็บไซต์ต่างๆ แบบเดิม แต่จะให้ "คำตอบ" เลย ระบบดีปเลิร์นนิ่งที่อยู่เบื้องหลัง จะประมวลคำถาม ค้นหาข้อมูล และโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ทันที 
 
ChatGPT ในระบบค้นหาเป็นเพียงจุดเริ่มต้น และจะตามมาอีกมากในซอฟต์แวร์ต่างๆ หลังจากนี้ 

"มันจะพลิกโฉมซอฟแวร์ของเราไปไม่น้อยเลย" บอสใหญ่ไมโครซอฟต์ กล่าว
 

 
การเปิดตัว Bing ChatGPT ครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากกูเกิ้ลเปิดตัว "Bard" ระบบ AI ของตนไปเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2023 ผ่านแถลงการณ์ของซีอีโอ ซุนดาร์ พิชัย "ก้าวสำคัญก้าวใหม่บนเส้นทางปัญญาประดิษฐ์ของเรา" An important next step on our AI journey  โดยกล่าวถึง บาร์ด ที่เป็นอีกขั้นของระบบเอไอแรกเริ่มนาม แลมด้า (LaMDA - ( Language Model for Dialogue Applications) ที่กูเกิ้ลเริ่มพัฒนาเมื่อ 2 ปีก่อน 
 

สมรภูมิเอไอ ได้เริ่มขึ้นแล้ว และผู้ใช้จะเป็นทั้งผู้เล่น และผู้ตัดสิน คนสำคัญของสนามนวัตกรรมสะเทือนโลกนับจากนี้

 
ไมโครซอฟต์ ตั้งทีมพิเศษขึ้นมาใหม่ เพื่อรับผิดชอบงานระบบแชทโดยเฉพาะ และเผยว่า อนาคตอันใกล้จะได้เห็นเทคโนโลยีใหม่จาก OpenAI นอกเหนือจาก ChatGPT อีกมาก เช่น ในบราวเซอร์เอดจ์ และซอฟต์แวร์อื่นๆ 
 
 

ฟีเจอร์ใหม่ในบิง ทำงานอย่างไร

 
ในระบบค้นหา บิงรุ่นใหม่ เมื่อทำการค้นหา ระบบแชทจะปรากฏมาควบคู่ไปกับผลลัพธ์ ผู้ใช้สามารถแชตคุยสอบถามเพื่อหาข้อมูลเชิงลึกได้ทันที ตัวอย่างเช่น หากค้นหาทีวี เราสามารถแชตถามได้เลยว่า ทีวีรุ่นไหนหรือยี่ห้อไหนดีสุดสำหรับการเล่นเกม หรือ หารุ่นที่ราคาถูกสุด เป็นต้น 
 
เราอาจใช้ระบบเอไอแชทช่วยในการวางแผนการท่องเที่ยวของครอบครัวก็ได้ ว่าจะไปที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร  เมื่อได้แผนการเดินทางแล้ว  จะส่งแผนนี้ต่อให้กับสมาชิกในครอบครัวทางอีเมล์ ก็ทำได้ หรือหากจำเป็นต้องแปลเป็นภาษาต่างๆ ด้วย ก็ทำได้เลยเช่นกัน 
 
ข้อมูลที่เป็น "คำตอบ" ที่เกิดจากระบบแชท จะอ้างอิงแหล่งที่มาเอาไว้ และสามารถจะคลิกลิงค์ไปยังแหล่งข้อมูลได้เสมอ
 
"การตอบคำถาม คือมิติใหม่ที่ไปไกลกว่าระบบค้นหาในปัจจุบัน" คำกล่าวของ ยุซุฟ เมห์ดี รองประธานฝ่ายพัฒนานวัตกรรมเพื่อผู้บริโภคของไมโครซอฟต์ 
 
ไมโครซอฟต์ มีแผนจะฝังระบบแชท GPT ลงไปในบราวเซอร์เอดจ์ (Edge) โดยผู้ใช้งาน สามารถเลือกแชทหาคำตอบ บนกล่องค้นหาที่แทรกอยู่ด้านข้างของจอได้เลย 
 
 
 

ข้อกังวลต่อ AI 

 
ถึงแม้ว่าโดยส่วนใหญ่จะเห็นถึงประโยชน์มากมายที่จะได้จาก AI แต่หลายฝ่ายก็มีข้อสังเกตและความกังวลต่อผลลัพธ์ที่ได้ โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า เอไอนั้น ให้ข้อมูลที่มีอคติ รวมถึงให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งผู้บริหารไมโครซอฟต์ อธิบายไว้ว่า 
 
"เรารู้ดีว่า เราคงไม่สามารถจะให้คำตอบต่อทุกคำถามได้ในทุกครั้ง ความผิดพลาดหรือข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกิดขึ้นได้ ดังนั้นเราจึงเพิ่มปุ่มโต้ตอบไว้ให้ในทุกการค้นหา เพื่อให้ผู้ใช้ส่งฟีดแบ็คกลับมาได้ทันที  ข้อมูลจากฟีดแบ๊คเหล่านั้น จะช่วยให้ระบบได้เรียนรู้มากขึ้น" 
 
ทีมระบุว่า การสอนให้ระบบเรียนรู้ ไม่ได้ทำเฉพาะในด้านปกติหรือแง่ดีเท่านั้น แต่มีการสอนและฝึกฝนให้ระบบเรียนรู้จากแง่ตรงข้ามด้วย  โดยการจำลองเป็นผู้ใช้ตัวแสบ หรือแสร้งเป็นผู้ไม่หวังดี ที่พยายามบั่นทอนหรือคุกคามระบบด้วยเช่นกัน 
 

"ความรับผิดชอบเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเสมอ  เราต้องการสร้างความมั่นใจว่า เครื่องมือนี้ จะถูกพัฒนา ประยุกต์ และใช้งานได้อย่างเหมาะสม" 


 
+++++
 
ดีปเลิร์นนิง (Deep Learning) เป็นวิธีหนึ่งในปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่สอนคอมพิวเตอร์ให้ประมวลผลข้อมูลในลักษณะที่อ้างอิงมาจากสมองมนุษย์ แบบจำลองการเรียนรู้แบบดีปเลิร์นนิงสามารถจดจำรูปแบบที่ซับซ้อนในรูปภาพ ข้อความ เสียง และข้อมูลอื่นๆ เพื่อสร้างข้อมูลเชิงลึกและการคาดคะเนที่ถูกต้อง คุณสามารถใช้วิธีดีปเลิร์นนิงเพื่อทำให้งานที่ต้องการความฉลาดของมนุษย์ดำเนินไปได้โดยอัตโนมัติ เช่น การอธิบายภาพ หรือการถอดเสียงไฟล์เสียงเป็นข้อความ  รูปแบบดีปเลิร์นนิงเป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ที่นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลได้ฝึกฝนให้ทำงานโดยใช้อัลกอริทึมหรือชุดขั้นตอนที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ธุรกิจใช้แบบจำลองดีปเลิร์นนิงเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและคาดการณ์ในแอปพลิเคชันต่างๆ [Amazon AWS
 
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด