ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ผลวิจัยจากเกาหลี เครื่องดื่มแอลกอฮอล์บ้าง กลับลดสมองเสื่อม

ผลวิจัยจากเกาหลี เครื่องดื่มแอลกอฮอล์บ้าง กลับลดสมองเสื่อม HealthServ.net

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา เล่าถึงผลวิจัยในวารสาร JAMA เกี่ยวกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่มีผลต่อการลดอาการสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ และมีผลการศึกษาบางประการที่ให้ผลลัพธ์น่าตื่นตะลึงไม่น้อย

ผลวิจัยจากเกาหลี เครื่องดื่มแอลกอฮอล์บ้าง กลับลดสมองเสื่อม ThumbMobile HealthServ.net
ผลวิจัยจากเกาหลี เครื่องดื่มแอลกอฮอล์บ้าง กลับลดสมองเสื่อม HealthServ

แอลกอฮอล์บ้าง กลับลดสมองเสื่อม !!??!!


การศึกษานี้ไม่ได้หมายความว่าส่งเสริมให้ผู้คนทั้งหลายดื่มเหล้า เพราะทั้งนี้เราทุกคน ทราบแล้วว่า การดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ถ้าไม่รู้จักตนเองเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นติด 

 
ดื่มหัวราน้ำ ชีวิตตนเองและครอบครัวจะพังพินาศและมีโรคภัยไข้เจ็บมหาศาลทั้งโลกทางกายและสมอง

 
 
ผลของการศึกษานี้ รายงานในวารสารสมาคมแพทย์อเมริกัน (JAMA network open) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2023
ผลสรุป โครงการศึกษาก็คือ กลุ่มที่คงระดับของการดื่มอยู่ที่ดื่มบ้าง ถึงดื่มปานกลางนั้น ลดความเสี่ยงของสมองเสื่อมลง และการลดปริมาณจากดื่มหนักเป็นดื่มปานกลาง จะลดความเสี่ยงของสมองเสื่อมเช่นกัน และในขณะเดียวกันจากที่ไม่ดื่มเลย เป็นเริ่มดื่มบ้างในปริมาณน้อย จะลดความเสี่ยงของสมองเสื่อมด้วย
 

ทั้งนี้ เป็นการติดตามศึกษาในคนเกาหลีเป็นจำนวน 4 ล้านคน (3,933,382 คน) โดยเริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2009 และในจำนวนนี้ ตั้งแต่เริ่มต้น 54.8% ไม่ดื่มเลย 26.7% ดื่มบ้าง 11.0% เป็นพวกดื่มปานกลางและ 7.5% เป็นดื่มหนัก
 
โดยที่การจัดระดับของการดื่มบ้าง ปานกลาง และหนักนั้น ดูจากปริมาณแอลกอฮอล์มาตรฐาน นั่นก็คือ หนึ่งดื่ม=14 กรัมของแอลกอฮอล์
 
ดื่มบ้าง หรือ mild drinker จะอยู่ที่น้อยกว่า 15 กรัมต่อวันหรือประมาณ=หนึ่งดื่ม 
 
ดื่มปานกลางจะอยู่ที่ 15 ถึง 29.9 กรัมต่อวัน หรือประมาณเท่ากับหนึ่งถึงสองดื่มและ
 
ดื่มหนักจะอยู่ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 30 กรัมต่อวัน นั่นก็คือมากกว่าหรือเท่ากับสามดื่ม
 
ในระหว่างช่วงเวลา 2009 ถึง 2011 นั้น กลุ่มดื่มบ้าง 24.2% กลุ่มดื่มปานกลาง 8.4% และกลุ่มดื่มหนัก 7.6% นั้นเลิกดื่มไปหมด
 
แต่ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ปรากฏว่า 13.9% ของกลุ่มไม่ดื่มเลย 16.1% ของกลุ่มที่ดื่มบ้างและ 17.4% ของกลุ่มที่ดื่มปานกลางกลับเพิ่มระดับปริมาณของการดื่มขึ้น
 
ในช่วงเวลาของการติดตามเฉลี่ย 6.3 ปีนั้น พบว่ามี 2.5% ที่เป็นสมองเสื่อม (100,282 คน) โดยสามารถระบุได้ว่า 2% (79,982 คน) เป็นโรคอัลไซเมอร์ และ 0.3% (11,085 คน) เป็นโรคสมองเสื่อมที่เกิดขึ้นจากเส้นเลือดฝอยตันพรุนในเนื้อสมอง (vascular dementia)
 
ข้อมูลที่ไม่คาดคิดมาก่อน ในการศึกษานี้ก็คือ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ดื่มเลยตลอดระยะเวลาที่เริ่มการศึกษา กลับพบว่ากลุ่มที่ดื่มบ้างและดื่มปานกลางกลับมีความเสี่ยงของสมองเสื่อมลดลง 21% (aHR, 0.79; 95% CI, 0.77-0.81) และ 17% (aHR, 0.83; 95% CI, 0.79-0.88) ตามลำดับ
 
แต่ในกลุ่มที่ดื่มหนักนั้นมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 8% (aHR, 1.08; 95% CI, 1.03–1.12)
 
 
ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณกับความเสี่ยงของสมองเสื่อมในลักษณะนี้เป็นแบบเดียวกันทั้งโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ และสมองเสื่อมจากเส้นเลือดตัน
 
• การลดระดับปริมาณของแอลกอฮอล์จากดื่มหนักเป็นดื่มปานกลางทำให้ลดความเสี่ยงของการเกิดสมองเสื่อมได้ทั้งสองแบบ 
 
• และเช่นเดียวกันเมื่อเพิ่มปริมาณขึ้นจากระดับปานกลางไปเป็นหนักก็จะเพิ่มความเสี่ยงของสมองเสื่อมทั้งสองแบบ
 
• แต่ข้อมูลที่ดูประหลาดแต่เป็นไปแล้วนั้น ก็คือในกลุ่มที่ไม่ดื่มเลยและเริ่มต้นดื่มบ้างในระยะต่อมา พบว่าความเสี่ยงที่จะเกิดสมองเสื่อมทั้งหมดลดลง 7 เปอร์เซ็นต์ (aHR, 0.93; 95% CI, 0.90-0.96) และลดลง 8% ของสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ (aHR, 0.92; 95% CI, 0.89-0.95) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ดื่มบ้างอยู่แล้วตั้งแต่ต้น
หมายความว่า เมื่อเริ่มดื่มบ้างแล้วจากไม่เคยดื่มเลยกลับทำให้ความเสี่ยงของสมองเสื่อมนั้นลดลง


ซึ่งข้อมูลจากไม่ดื่มเลยเป็นดื่มบ้าง กลับได้ประโยชน์ ไม่เคยมีรายงานการศึกษาที่ใดมาก่อน และหัวหน้าคณะวิจัยได้กล่าวย้ำว่าผลการศึกษานี้ ไม่ได้เป็นการชักชวนให้คนที่ไม่ดื่มเลยเริ่มต้นดื่ม


ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษานี้หรือการศึกษาก่อนหน้า เมื่อเริ่มต้นดื่มไปแล้วและไม่สามารถหยุดยั้งตนเองกลายเป็นติดแอลกอฮอล์จนใช้ปริมาณสูงจะเพิ่มความเสี่ยงของสมองเสื่อมขึ้นเป็นสามเท่า


 
ในทางกลับกัน ผู้ที่ดื่มบ้างในปริมาณน้อยอยู่แล้ว สามารถคงปริมาณในระดับนั้นได้ โดยอาจไม่ต้องกังวล และอาจมีความดีใจแฝงอยู่นิดๆว่ายังคงมีสมองใสต่อไปได้


 
ท้ายสุด คณะผู้ศึกษาได้แจงข้อจำกัดของการศึกษานี้ว่า ปริมาณแอลกอฮอล์ที่แต่ละคนรายงานนั้น อาจเป็นไปได้ว่า น้อยกว่าสัดส่วนที่ดื่มจริง และขณะเดียวกันชนิดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นไม่ได้มีการแยกแยะรายละเอียดในการศึกษานี้ว่า เป็น เหล้า เบียร์ ไวน์ หรือเป็นเครื่องดื่มประเภทอื่น


 
และอีกประเด็นหนึ่งก็คือ ผู้อยู่ในการศึกษานี้เป็นผู้ที่ได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ 
 
ดังนั้นอาจจะเป็นกลุ่มประชากรที่มีสุขภาพค่อนข้างดีอยู่แล้วและมีการใช้ชีวิตแบบสุขภาพดีกว่าประชากรทั่วไปในเกาหลี
 
อีกประเด็นที่สำคัญก็คือการศึกษานี้ไม่ได้มีการพิจารณาถึงยีนที่ส่งเสริมที่ทำให้เกิดอัลไซเมอร์ และ
ประการสุดท้ายก็คือ ข้อมูลเหล่านี้จำกัดอยู่ที่คนเกาหลี ดังนั้น อาจจะพูดไม่ได้เต็มที่ว่าสามารถนำไปประยุกต์กับคนเชื้อชาติอื่นได้หรือไม่โดยที่อาจจะมีพันธุกรรมในด้านการขจัดแอลกอฮอล์ไม่เหมือนกัน (alcohol metabolism)
 
ง่ายสุดที่เราทำได้ก็คือ ไม่เคยดื่มก็ไม่ต้องดื่ม หรือถ้าดื่มก็เป็นการดื่มเพื่อสุขภาพในปริมาณน้อยครับ.



ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
19 มีนาคม 2566
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด