ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สธ.เผยผลตรวจ 70 คนงานโรงถลุงเหล็ก ไม่พบรังสีซีเซียม-137 ค่าเลือดปกติ

สธ.เผยผลตรวจ 70 คนงานโรงถลุงเหล็ก ไม่พบรังสีซีเซียม-137 ค่าเลือดปกติ HealthServ.net
สธ.เผยผลตรวจ 70 คนงานโรงถลุงเหล็ก ไม่พบรังสีซีเซียม-137 ค่าเลือดปกติ ThumbMobile HealthServ.net

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผย ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน จ.ปราจีนบุรี รายงานผลตรวจร่างกายคนงานโรงถลุงเหล็กที่หลอมวัสดุกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 โดยสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ไม่พบรังสีในร่างกาย แต่ยังให้ติดตามตรวจเลือดต่อเนื่องเพื่อเฝ้าระวังผลกระทบระยะยาว พร้อมจัดทำแนวทางให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศและคลินิกเอกชนทั่วประเทศร่วมเฝ้าระวังผู้ป่วยที่สงสัยอาจเกิดจากการได้รับรังสี

  
 
         20 มีนาคม 2566 ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์กรณีตรวจพบวัตถุกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 ที่หายไปจากโรงไฟฟ้าใน อ.ศรีมหาโพธิ ในโรงถลุงเหล็กเขตอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ว่า ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี เปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน (EOC) ส่วนหน้า ติดตามสถานการณ์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างใกล้ชิดและเฝ้าระวังและดูแลสุขภาพประชาชน ตั้งแต่เริ่มเกิดเหตุการณ์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ล่าสุด ได้รับรายงานความคืบหน้าว่า สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ได้ตรวจสอบบริเวณโรงงานที่พบวัสดุกัมมันตรังสีแล้วไม่พบการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม รวมถึงตรวจการปนเปื้อนรังสีในร่างกายของคนงานโรงงานทั้ง 70 คน ไม่พบปริมาณรังสีเช่นกัน อย่างไรก็ตาม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรีจะติดตามอาการผิดปกติและตรวจเลือดเพื่อเฝ้าระวังสุขภาพคนงาน รวมทั้งญาติผู้ใกล้ชิดในครอบครัวอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะมั่นใจว่าไม่ได้รับผลกระทบจากกัมมันตรังสี
 
          นพ.โอภาส กล่าวต่อว่า ความรุนแรงจากการได้รับรังสีซีเซียม-137 ขึ้นกับความเข้มข้น ระยะเวลาที่สัมผัส และระยะห่างในการสัมผัส โดยหากสัมผัสโดยตรงจะเกิดบาดแผลไหม้จากรังสี เช่น ผิวหนังมีตุ่มน้ำพอง เป็นแผล หรือเนื้อตายได้ เกิดอาการทั่วไป เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ส่วนผลระยะกลางและระยะยาว จะส่งผลต่อเซลล์ที่มีการแบ่งตัว เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาว หรือเส้นผม เป็นต้น ได้มอบหมายให้กองสาธารณสุขฉุกเฉิน ประสานผู้เชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยจากกัมมันตรังสี จัดทำแนวทางการเฝ้าระวังสุขภาพเชิงรุกและแจ้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศดำเนินการ พร้อมทั้งประสานจัดสิ่งสนับสนุน เช่น เครื่องตรวจวัดรังสีเพิ่มเติม ชุดป้องกัน หน้ากากอนามัยชนิดกันอนุภาค รวมทั้งให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพประสานคลินิกเอกชนทั่วประเทศ ร่วมเฝ้าระวังผู้ป่วยที่สงสัยอาจเกิดจากการได้รับรังสีด้วย
 
          “แม้หน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขจะเป็นปลายทาง คือ ให้การดูแลผู้ได้รับผลกระทบทางสุขภาพ แต่ได้ให้แต่ละกรมในสังกัดใช้เหตุการณ์นี้ทบทวนกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ เพื่อนำมาปรับระบบดูแลสุขภาพให้รัดกุมยิ่งขึ้น และรับมือกับเหตุฉุกเฉินในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น” นพ.โอภาสกล่าว
 

ผลเลือดปกติ


       21 มีนาคม 2566 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสุขภาพผู้ที่มีโอกาสสัมผัสวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ว่า ได้รับรายงานจาก นพ.สุรินทร์ สืบซึ้ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี ในฐานะผู้บัญชาการเหตุการณ์ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข จังหวัดปราจีนบุรี ถึงการตรวจตรวจเลือดคนงานโรงงานถลุงเหล็กที่ดำเนินการหลอมวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ในอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 70 คน เพื่อเฝ้าระวังสุขภาพของพนักงาน พบว่า ค่าเม็ดเลือดขาวค่าเกล็ดเลือด ค่าการทำงานของตับและไตเป็นปกติ โดยนัดตรวจซ้ำอีกครั้งในวันที่ 5 เมษายน 2566 ส่วนการตรวจหาซีเซียมในปัสสาวะ (Urine Cesium) โดยสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ยังต้องรอผลในอีก 2 สัปดาห์
 
          นพ.โอภาสกล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี ยังคงติดตามเฝ้าระวังอาการแสดงของการได้รับรังสีอย่างต่อเนื่อง ทั้งการตรวจสุขภาพในคนงานโรงงานถลุงเหล็ก การเฝ้าระวังอาการกลุ่มประชาชนทั่วไปในจังหวัดปราจีนบุรี และหากมีข้อมูลว่ามีผู้สงสัยสัมผัสเพิ่มเติมหรือมีการกระจายของกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ออกจากพื้นที่ ก็จะขยายวงในการเฝ้าระวังเพิ่มเติมต่อไป ทั้งนี้ อาการแสดงที่พบจากการสัมผัสซีเซียม-137 มีทั้งทางผิวหนังเช่น เป็นแผลตุ่มน้ำพอง ผิวหนังอักเสบ อาการทั่วไป เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีค่าเม็ดเลือดขาวผิดปกติ ดังนั้น จึงมีการเฝ้าระวังใน 3 กลุ่มอาการนี้ 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด