ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เรียนรู้การกำหนดค่าจ้างจากต่างประเทศ แนวทางที่เหมาะสมสำหรับแรงงานไทย

เรียนรู้การกำหนดค่าจ้างจากต่างประเทศ แนวทางที่เหมาะสมสำหรับแรงงานไทย HealthServ.net
เรียนรู้การกำหนดค่าจ้างจากต่างประเทศ แนวทางที่เหมาะสมสำหรับแรงงานไทย ThumbMobile HealthServ.net

รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 4/2565 ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีรายละเอียดและข้อเสนอแนะแนวทางการกำหนดค่าจ้างแรงงานสำหรับประเทศไทยเอาไว้อย่างน่าสนใจ อ้างอิงตัวอย่างการศึกษาจากวิธีการกำหนดค่าจ้างจากต่างประเทศ เพื่อกำหนดทิศทางค่าจ้างสำหรับประเทศไทย

ค่าจ้างหรือผลตอบแทนของแรงงานเป็นสิ่งสำคัญที่สะท้อนคุณภาพชีวิตของแรงงานโดยตรง โดยแรงงานจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีหากแรงงานได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมสอดคล้องกับค่าครองชีพ ขณะเดียวกันยังช่วยแก้ปัญหาความยากจน และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม รวมทั้งจูงใจให้แรงงานพัฒนาทักษะและมีผลิตภาพเพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ในโลก มีรูปแบบการกำหนดค่าจ้างที่หลากหลายแตกต่างกัน ดังนี้ 
 

ค่าจ้างขั้นต่ำ
การกำหนดค่าจ้างจะต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกจ้างและครอบครัว ระดับค่าจ้างทั่วไปในประเทศ ค่าครองชีพ สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ มาตรฐานการครองชีพเทียบกับกลุ่มสังคมอื่น และปัจจัยทางเศรษฐกิจ
 
รูปแบบค่าจ้างขั้นต่ำ 
พิจารณาตามปัจจัยต่างๆ อาทิ
  • พื้นที่/ภูมิภาค
  • อายุ/ประสบการณ์ของแรงงาน
  • อุตสาหกรรม/สาขาอาชีพ
  • ค่าจ้างเพื่อชีวิต
 
การกำหนดโครงสร้างค่าจ้าง
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับแรงงานมากขึ้นโดยจะมีการปรับค่าจ้างเพิ่มขึ้นตามประสบการณ์และทักษะ
 
 
การกำหนดค่าจ้างโดยการตกลงกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้างหรือการใช้กลไกตลาด 

ซึ่งเป็นรูปแบบที่ไม่มีการแทรกแซงจากภาครัฐ โดยเป็นการตกลงกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง (Collective Bargaining) โดยอาจมีสหภาพแรงงานเข้ามาช่วยในการเจรจาต่อรองหรือไม่ก็ได้
 
 

ตัวอย่างกรณีศึกษาจากต่างประเทศ 
 

 

หลายประเทศมีใช้กลไกการกำหนดค่าจ้างด้วยวิธีที่ผสมผสาน ดังกรณีศึกษาในสิงคโปร์ สหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์ และอินโดนีเซีย ดังนี้

 
สิงคโปร์
กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำในบางสาขาอาชีพและส่งเสิรมการยกระดับทักษะเพื่อค่าจ้างที่สูงขึ้น โครงการ Progressive Wage Model (PWM) ซึ่งมีกลไกสนับสนุนให้แรงงานได้รับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มระดับทักษะในบางสาขา หนึ่งกลไกที่สำคัญ คือ Progressive Wage Credit Scheme (PWCS) ที่มีบทบาทในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยภาครัฐจะร่วมจ่ายเงินค่าจ้างบางส่วนให้กับแรงงานที่ได้รับค่าจ้างตามโครงการ PWM
 
 
สหราชอาณาจักร
กำหนดค่าจ้างเพื่อชีวิตและค่าจ้างขั้นต่ำที่จำแนกตามกลุ่มอายุแรงงานที่อายุต่ำกว่า 23 ปี จะได้รับค่าจ้างขั้นต่ำตามระดับอายุ ส่วนแรงงานที่อายุ 23 ปีขึ้นไป จะได้รับค่าจ้างเพื่อชีวิตซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำทุกช่วงอายุ ซึ่งจะมีการปรับขึ้นทุกปี
 
 
 
นิวซีแลนด์
กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำตามระดับอายุและบังคับการฝึกทักษะเพื่อให้ได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้น ซึ่งมีการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับแรงงานแรกเข้า 6 เดือนแรก หรือ Starting-out minimum wage สำหรับแรงงานอายุ16 - 17 และ 18 – 19 ปีโดยแรงงานจะต้องได้รับการฝึกอบรมเพื่อที่จะได้รับค่าจ้างที่เพิ่มสูงขึ้น
 
 
อินโดนีเซีย
กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำที่แตกต่างกันระดับจังหวัด ซึ่งมีผลบังคับใช้เฉพาะกับกลุ่มแรงงานที่อายุงานน้อยกว่า 1 ปี และสำหรับแรงงานที่มีอายุงานมากกว่า 1 ปี จะได้รับค่าจ้างตามโครงสร้างค่าจ้างของบริษัทหรือที่มีการตกลงกัน 
 
 
 

การกำหนดค่าจ้างในประเทศไทย

1. การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ

มีแนวคิดว่าคือ ค่าจ้างที่เพียงพอสำหรับแรงงานทั่วไปแรกเข้าทำงาน 1 คน ให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ตามสมควรแก่มาตรฐานการครองชีพ สภาพเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งเหมาะสมตามความสามารถของธุรกิจ  
 
ค่าจ้างขั้นต่ำเพียงพอต่อค่าครองชีพของแรงงาน 1 คน 
 
แรงงานที่มีประสบการณ์ยังคงได้รับเพียงค่าจ้างขั้นต่ำ 
 
2. การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ
 
  • วัตถุประสงค์เพื่อให้แรงงานกึ่งฝีมือ และแรงงานฝีมือได้รับค่าจ้างที่เหมาะสม จูงใจให้แรงงานพัฒนาฝีมือให้เป็นที่ยอมรับเพิ่มหลักประกันรายได้รวมทั้งเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจ ปัจจุบันมีการกำหนดถึง 129 สาขา ค่าจ้างอยู่ระหว่าง 345 - 900 บาทต่อวัน โดยมีการแบ่งระดับ 1 – 3 ในแต่ละสาขา
  • เมื่อเปรียบเทียบค่าจ้างมาตรฐานฝีมือแรงงานมีความแตกต่างกับค่าจ้างขั้นต่ำ และใกล้เคียงกับค่าจ้างเฉลี่ยของแรงงานที่จบการศึกษาระดับมัธยมปลาย อาชีวศึกษา และวิชาชีพชั้นสูง
 
3. การกำหนดค่าจ้างโดยกลไกตลาด

ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในกรณีที่เป็นกลุ่มแรงงานที่มีทักษะระดับกลางขึ้นไป ที่ค่าจ้างถูกกำหนดจากการต่อรองกับนายจ้างหรือสถานประกอบการเองโดยระดับค่าจ้างแตกต่างไปตามสาขาวิชาชีพ/อุตสาหกรรม ขนาดของสถานประกอบการ และพื้นที่ 

การประยุกต์ใช้แนวทางการกำหนดค่าจ้างจากต่างประเทศ

ต้องส่งเสริมให้แรงงานพัฒนาทักษะเพื่อให้ได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้น และได้รับค่าจ้างที่สอดคล้องกับประสบการณ์
 
  • สนับสนุนให้แรงงานได้รับการฝึกอบรมและทดสอบเพื่อเพิ่มระดับทักษะ 
  • บูรณาการหลักสูตรการฝึกอบรม และทดสอบสมรรถนะแรงงานของแต่ละหน่วยงานที่มีการรับรองมาตรฐานทักษะแรงงานให้มีความเชื่อมโยงกับอัตราค่าจ้าง อาทิ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ และองค์กรภาคเอกชน
  • เร่งส่งเสริมให้แรงงานตระหนักถึงความสำคัญของการทดสอบฝีมือแรงงาน


ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด