เชฟรอนส่งครูอาสาเปิดโลกความรู้สู่วิชานอกห้องเรียนกับ After School Program 2 ท่าน ได้แก่ นายปริญญา ผลบุตร หรือ คุณหนุ่ม ผู้มีอาชีพหลักเป็นนักธรณีวิทยา (Petrophysicist) นายภาณุ บุญวัฒโนภาส หรือคุณบอย รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายดิจิทัล และเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด
“นอกจากการได้แบ่งปันความรู้ให้เด็กๆ รู้สึกรักวิชาคณิตศาสตร์มากขึ้นแล้ว อีกจุดมุ่งหมายที่โครงการ After School Program เน้นคือการปลูกฝัง Growth mindset ให้เด็กๆ รู้สึกว่าถ้าทุกคนทำได้ เราก็ทำได้ ผมว่าสิ่งนี้แหละคือหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ที่เปิดพื้นที่ให้ทุกคน”
สำหรับนายภาณุ บุญวัฒโนภาส หรือคุณบอย รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายดิจิทัล และเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด อีกหนึ่งอาสาสมัครผู้บริหารหนุ่มไฟแรงของบริษัทฯ ที่ได้แบ่งเวลาในฐานะครูอาสากล่าวเสริมว่า “ผมสอนภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดพระยายัง โดยจุดเริ่มต้นคือผมอยากจะมีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาการศึกษาของประเทศ และมีความฝันอยากเป็นอาจารย์อยู่แล้วเป็นทุนเดิม ซึ่งภาษาอังกฤษที่ผมสอนจะเน้นไปในรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันถือเป็นภาษาที่สองของเด็กๆ เลยทีเดียว โดยสิ่งที่ผมประทับใจที่สุดคือการที่ได้ให้โอกาสลูกๆ ทั้งสองคนเข้ามามีส่วนร่วมในการสอนครั้งนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการนำกิจกรรมในห้องเรียน หรือช่วยการสอน ซึ่งผมเชื่อว่าด้วยสังคมปัจจุบัน ถ้าเราไม่ให้โอกาสเขาได้เห็นโลกที่กว้างมากขึ้น และปลูกฝังแนวคิดเรื่องการแบ่งปัน เขาก็จะไม่รู้ว่าจะทำให้สังคมดีขึ้นได้อย่างไร ต้องขอบคุณ Saturday School Foundation ที่ริเริ่มโครงการนี้ขึ้นมา และขอบคุณบริษัทฯ ที่ทำให้ภาพเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริง รวมถึงจริงจังกับการพัฒนารากฐานของประเทศผ่านการศึกษามาโดยตลอด โดยผมมองว่าการได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวถือเป็นประตูแห่งโอกาสทั้งสำหรับผมและครอบครัว และได้เห็นการศึกษาที่ไร้ซึ่งขีดจำกัดอย่างแท้จริง”
นายวุฒิพงษ์ วงษ์ชัยวัฒนกุล หรือคุณแบงค์ ผู้จัดการโครงการ After School Program ภายใต้ Saturday School Foundation กล่าวถึงการขับเคลื่อนโครงการฯ ว่า “ความตั้งใจของมูลนิธิคืออยากให้คนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อขยายโอกาสในระบบการศึกษาไปด้วยกัน โดยนอกจากวิชาพื้นฐานอย่างคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ แล้ว เรายังเปิดสอนวิชาอื่นๆ อย่าง ภาษาญี่ปุ่น การเขียนโปรแกรม ดนตรี และสะเต็มศึกษา (STEM) อีกด้วย โดยหลังจากผ่านการคัดเลือก อาสาสมัครทุกคนต้องเข้าอบรมก่อน ซึ่งเราเน้นการเรียนการสอนแบบ Active Learning คือให้เด็กๆ เรียนรู้ผ่านการมี ส่วนร่วมในห้องเรียน เช่น การเรียนผ่านเกมการ์ด ผ่านการจำลองสถานการณ์ เป็นต้น ระหว่างอบรมครูอาสา เราเน้นเสมอว่าอยากให้ห้องเรียนเป็น Sandbox คือเป็นกระบะทรายให้เด็กๆ ลองผิดลองถูกได้ และไม่มีเด็กคนไหนที่ทำสิ่งใดไม่ได้เช่นกัน ในระยะยาว เราอยากเดินทางไปถึงความสำเร็จในการปลดล็อคโมเดลดังกล่าวให้โรงเรียนหรือชุมชนสามารถตั้งกลุ่มดำเนินการรับสมัครครูอาสาได้เองโดยไม่จำเป็นต้องผ่านตัวกลาง เพื่อให้ต่อไปใครที่อยากเข้าร่วมก็สามารถเชิญชวนกันเข้าไปได้ ซึ่งถือเป็นการขยายโอกาสของพื้นที่การศึกษาตามความตั้งใจแรกเริ่มของเรา”
การสร้างพื้นที่ของโครงการ After School Program เพื่อขยายกรอบโอกาสทางการศึกษาของทุกคนให้กว้างกว่าเดิม ไม่เพียงแต่ส่งต่อโอกาสให้เด็กๆ ในห้องเรียนเท่านั้น แต่นักเรียนมัธยม นักศึกษามหาวิทยาลัย หรือแม้กระทั่งพนักงานบริษัทในอุตสาหกรรมพลังงานอย่างเชฟรอนยังได้มีโอกาสเป็นหนึ่งในฟันเฟืองเพื่อสร้างโอกาสในระบบการศึกษาไปพร้อมกัน โดยการที่เชฟรอนมุ่งผลักดันให้บุคลากรในทุกระดับมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมนั้น ได้เปิดมุมมองใหม่ๆ อย่างคาดไม่ถึงให้พนักงานได้สัมผัสประสบการณ์นอกเหนือจากงานประจำที่ได้ทำ ซึ่งการเชื่อมั่นใน “พลังคน” ของเชฟรอน ได้ถ่ายทอดสู่พนักงานจนได้ก้าวขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างโอกาสที่ยิ่งใหญ่ ผ่านหลักสูตร “หลังเลิกเรียน” ที่ได้จุดประกายการศึกษาไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน