ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคภูมิแพ้ในเด็ก รู้จักสารก่อภูมิแพ้ แนวทางการรักษาและดูแล

โรคภูมิแพ้ในเด็ก รู้จักสารก่อภูมิแพ้ แนวทางการรักษาและดูแล

โรคภูมิแพ้ในเด็ก 
โรคภูมิแพ้เป็นกลุ่มของโรคที่มีอาการแสดงได้หลายระบบ เกิดจากปฏิกิริยาของร่างกาย ต่อสารก่อภูมิแพ้ ปัจจุบันความชุกของโรคกลุ่มนี้มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
 
โรคที่จัดว่าอยู่ในกลุ่มโรคภูมิแพ้ ได้แก่
  • โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือโรคแพ้อากาศ อาการที่พบบ่อย ได้แก่ คันในจมูก จามติดกันหลาย ๆ ครั้ง น้ำมูกใส ๆ ไหลมาก คัดแน่นจมูก อาการอื่น ๆ เช่น หูอื้อ ปวดมึนศีรษะ น้ำมูกไหลลงคอ เสมหะติดในคอ
  • โรคหืด ผู้ป่วยจะมีอาการไอ หอบ แน่นหน้าอก หายใจเสียงวี้ด อาจเป็นตอนออกกำลังกาย ตอนกลางคืน หรือตอนเป็นหวัดก็ได้
  • ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นผื่นคัน แห้งแดง และเรื้อรัง พบบ่อยบริเวณหน้า ข้อพับแขนขา * ลมพิษ ผื่นนูน บวม คัน ตามผิวหนังส่วนต่าง ๆ บางรายอาจมีอาการบวมบริเวณหน้าตาหรือ ปากด้วย
  • ผื่นแพ้ผิวหนังจากการสัมผัส เป็นผื่นคันจากการสัมผัสสารแพ้ต่าง ๆ เช่นผงซักฟอก ยาย้อมผม เครื่องสำอาง ถุงมือ โลหะ เป็นต้น
  • แพ้อาหาร มีอาการได้หลายระบบ ทั้งระบบผิวหนัง (ผื่นลมพิษ) ระบบหายใจ (คัดจมูก น้ำมูกไหล หอบ) ระบบทางเดินอาหาร (อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย) อาหารที่เป็นสาเหตุได้บ่อย คือ นมวัว ไข่ อาหารทะเล ถั่วลิสง
  • เยื่อบุตาอักเสบจากการแพ้ มีอาการแสบตา คันตา ตาแดง น้ำตาไหล ขยี้ตาบ่อย เปลือกตาบวม
 
ปฏิกิริยาการแพ้แบบรุนแรง
เกิดอาการหลังได้รับสารแพ้ภายในเวลาไม่เกินครึ่งชั่วโมง ทำให้มีอาการแน่นหน้าอก ความดันโลหิตต่ำ และอาจเสียชีวิตได้ สาเหตุเป็นได้ทั้งจากแพ้อาหาร แพ้ยา แพ้แมลงต่าง ๆ เป็นต้น
 
 
สารก่อภูมิแพ้คืออะไร
คือ สารที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการของโรคภูมิแพ้ ซึ่งอาจเป็นสารที่ร่างกายได้รับโดยการ ฉีด กิน หายใจ หรือสัมผัสก็ได้ มีทั้งสารก่อภูมิแพ้ในบ้าน (เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ ขนและรังแคของสัตว์เลี้ยง เชื้อรา ควันบุหรี่) และสารก่อภูมิแพ้นอกบ้าน (เช่น เกสรหญ้า เกสรดอกไม้ ควันและฝุ่นต่าง ๆ)
 
แนวทางการรักษาโรคภูมิแพ้
  1. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ เป็นวิธีที่สำคัญที่สุด และช่วยลดความรุนแรงของโรคได้
  2. การรักษาด้วยยา มีทั้งยากิน ยาพ่นจมูก ยาพ่นปอด ยาหยอดตา ยาทาผิวหนัง ซึ่งควรอยู่ภายใต้ คำแนะนำของแพทย์
  3. การฉีดวัคซีนภูมิแพ้ โดยการฉีดสารสกัดจากสารก่อภูมิแพ้และค่อย ๆ เพิ่มปริมาณ จนผู้ป่วย มีภูมิต้านทานต่อสารนั้นซึ่งต้องรับการฉีดอย่างสม่ำเสมอ เป็นเวลา 3-5 ปี จึงจะได้ผลดี
ปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อเป็นโรคภูมิแพ้
  1. ในห้องนอน ควรมีเครื่องตกแต่งห้องน้อยชิ้นที่สุด หมั่นทำความสะอาด และกำจัดฝุ่นละออง เป็นประจำ 
  2. ในกรณีแพ้ไรฝุ่น ควรทำความสะอาดเครื่องนอน (ที่นอน,หมอน,ผ้าห่ม) โดยซักด้วยน้ำร้อน 60 องศา นาน 15-20 นาที อย่างน้อยทุก 2 สัปดาห์ 
  3. ไม่ใช้พรม เก้าอี้เบาะหุ้มผ้า หมอนนุ่น ตุ๊กตาที่ทำจากนุ่นหรือขนสัตว์ 
  4. ไม่เลี้ยงสัตว์ที่มีขนในบ้าน เช่น สุนัข แมว นก 
  5. กำจัดเศษอาหาร และขยะต่าง ๆ รวมทั้งปิดฝาท่อระบายน้ำเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ แมลงสาบ 
  6. ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศบ่อย ๆ และใช้แบบที่มีเครื่องกรองอากาศชนิด HEPA Filter 
  7. ระวังไม่ให้บ้าน ห้องน้ำ อับชื้น และไม่ควรปลูกต้นไม้ในบ้านเพราะทำให้เชื้อราเติบโต 
  8. อย่าไปใกล้บริเวณที่มีควันบุหรี่ ควันไฟ และบริเวณที่มีฝุ่นมาก
  9. ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ หากมีอาการหอบเหนื่อยเวลาออกกำลังกาย ควรสูดยา ป้องกัน อาการหอบก่อน
  10. ใช้ยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง เพราะบางชนิดถ้าใช้ต่อเนื่องนานอาจมี อันตรายได้
พญ.สุกัลยา รัศมีสุนทรางกูล กุมารแพทย์ รพ.วิภาวดี 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ แผนกกุมารเวช 
โทร.0-2941-2800 , 0-2561-1111 กด 1
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด