ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

มาตรฐานอาหารและผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์

มาตรฐานอาหารและผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ HealthServ.net
มาตรฐานอาหารและผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ThumbMobile HealthServ.net

รู้จักกับมาตรฐานอาหารและ ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ในแบบง่ายๆ ที่ผู้ประกอบเช่นคุณและชุมชนก็สามารถสร้างเองได้ โดยเราได้ร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้จากพี่อ้อยหรือ คุณนาถฤดี นาครวาจา ผู้จัดการสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์(มกท.)หน่วยงานที่ให้การตรวจสอบ รับรองมาตรฐานในระดับสากล และได้การรับรองระบบ (Accreditation) จาก IFOAM

(ข้อมูลจาก "สรุปงานวงสนทนาเกษตรอินทรีย์ ครั้งที่ ๒ (Green Dialogue)")

รู้จักกับมาตรฐานอาหารและ ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ในแบบง่ายๆ ที่ผู้ประกอบเช่นคุณและชุมชนก็สามารถสร้างเองได้ โดยเราได้ร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้จากพี่อ้อยหรือ คุณนาถฤดี นาครวาจา ผู้จัดการสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์(มกท.)หน่วยงานที่ให้การตรวจสอบ รับรองมาตรฐานในระดับสากล และได้การรับรองระบบ (Accreditation) จาก IFOAM


1. เกษตรอินทรีย์ คือ
  • ระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใยด้วย ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ
  • หลักการปรับปรุงบำรุงดิน การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และนิเวศการเกษตร
  • ลดการ ใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์
  • ขณะเดียวกันก็พยายาม ประยุกต์ใช้ธรรมชาติในการเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทานต่อโรคของพืชและสัตว์เลี้ยง
  • เป็นหลักการสากลที่สอด คล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม ภูมิอากาศ และวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วย
  • เกษตร อินทรีย์มุ่งที่จะผลิตผลผลิตอินทรีย์บนความสมดุลของระบบนิเวศโดย
    - สร้างความอุดมสมบูรณ์ของดิน เป็นหัวใจของเกษตรอินทรีย์ เพราะทำให้  “ดินมีชีวิต” คือมีสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ในดินย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ และปลดปล่อยธาตุอาหารแก่พืช ทำให้เกิด “การหมุนเวียนของธาตุอาหาร” อย่างต่อเนื่อง
    - อนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศ ด้วยการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายของพืช
    - พึ่งพาตัวเองด้านปัจจัยการผลิต โดยลดการใช้ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ ฯลฯ จากภายนอก
    - ควบคุมและป้องกันมลพิษ ทั้งต่อสิ่งแวดล้อม และที่จะมาปนเปื้อนภายในฟาร์ม

2. การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์คืออะไร?
  • กระบวนการประกันคุณภาพ เพื่อยืนยันว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวผลิตตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่กำหนด
  • ดำเนินการโดยหน่วยงานอิสระที่ไม่ได้เป็นทั้งผู้ผลิตหรือผู้ซื้อ (third party) ซึ่งมีความเป็นกลาง และมีความโปร่งใส
  • เป็นการรับรองกระบวนผลิต ตั้งแต่การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว จนถึงการแปรรูป การบรรจุ และจัดจำหน่าย (ไม่ใช่การนำผลิตภัณฑ์มาทดสอบในห้องปฏิบัติการ)
  • การรับรองครอบคลุมทั้งพื้นที่ที่ทำการผลิต (ฟาร์ม) และผลผลิตที่ได้จากฟาร์มนั้น โดยผู้ผลิตสามารถใช้ตราเกษตรอินทรีย์ของหน่วยงานรับรองบนผลิตภัณฑ์ได้


3. ใครรับรององค์กรรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์?
  1. ปี 2540 IFOAM จัดทำเกณฑ์การรับรองระบบงานเกษตรอินทรีย์ (IFOAM Accreditation Criteria) โดยอิงกับ ISO Guide 65 เพื่อประกันคุณภาพว่าองค์กรรับรองดังกล่าวมีการทำงานที่โปร่งใส มีประสิทธิภาพ และน่าเชื่อถือ
  2. มีองค์กรรับรองเอกชน 32 องค์กร ในหลายประเทศ ที่ได้รับการรับรองจาก IFOAM (ACBs – Accredited Certification Bodies) รวมทั้ง มกท.
  3. สินค้าอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองโดย ACBs จะได้รับการยอมรับจาก ACBs ด้วยกัน ซึ่งช่วยให้ส่งออกสินค้าไปขายโดยใช้ฉลากของ ACBs ในประเทศนั้นๆ ได้ง่ายขึ้น

4. องค์กรรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (Organic Certification Body)


5.ขั้นตอนการตรวจและรับรองมาตรฐานเกษตร อินทรีย์
  
  1. การสมัครขอรับรอง: ติดต่อองค์กรรับรอง กรอกใบสมัคร (ข้อมูลฟาร์ม/สถานที่ประกอบการ ประวัติฟาร์ม แผนการผลิต แผนผังฟาร์ม ส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ ฯลฯ) และลงนามในสัญญาข้อตกลงว่าจะปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และส่งกลับให้องค์กรรับรอง พร้อมกับชำระค่าตรวจรับรอง
  2. การตรวจเอกสาร/การประเมินเบื้องต้น: เพื่อประเมินว่าผู้สมัครมีการปฏิบัติที่อยู่ในขอบข่ายที่จะขอรับรองหรือไม่ โดยดูจากเอกสาร หรืออาจมีการไปตรวจประเมินเบื้องต้นที่ฟาร์ม/สถานที่ประกอบการ
  3. การตรวจฟาร์ม/สถานที่ประกอบการ: องค์กรรับรองส่งผู้ตรวจไปตรวจ ผู้ตรวจทำการสัมภาษณ์ สังเกต เดินสำรวจรอบฟาร์ม/สถานที่ประกอบการ และประเมินว่าผู้สมัครทำการผลิตตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์หรือไม่ และสรุปผลการตรวจให้ผู้สมัครทราบ จากนั้นจัดทำรายงานการตรวจส่งให้องค์กรรับรอง
  4. การรับรอง: เจ้าหน้าที่รับรองหรือคณะกรรมการรับรองพิจารณาผลการตรวจจากรายงานของผู้ตรวจ และตัดสินใจว่าจะรับรองหรือไม่ อย่างไร โดยการรับรอง อาจรับรองโดยมีเงื่อนไขให้ผู้สมัครปฏิบัติในระยะเวลาที่กำหนดเพื่อให้เป็นไป ตามมาตรฐาน
  5. การแจ้งผลการรับรองและออกใบประกาศนียบัตร : แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้สมัครทราบ พร้อมกับออกใบประกาศนียบัตรให้ในกรณีที่ได้รับการรับรอง
  6. การอุทธรณ์: ในกรณีที่ผู้สมัครไม่เห็นด้วยกับผลการรับรอง สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อองค์กรรับรองได้
  7. การติดตามผล: การติดตามเงื่อนไขการรับรอง ผู้สมัครจะต้องได้รับการตรวจและรับรองอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

6. มาตรฐานเกษตรอินทรีย์
  • มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ต้องปฏิบัติ: เป็นมาตรฐานหรือกฎระเบียบของรัฐ/ประเทศ ซึ่งต้องปฏิบัติเมื่อต้องการนำสินค้าอินทรีย์เข้าไปขายในประเทศนั้นๆ เช่น กฎระเบียบ EEC 2092/91 ของยุโรป, มาตรฐาน NOP ของอเมริกา, มาตรฐาน JAS ของญี่ปุ่น ฯลฯ
  • มาตรฐานเกษตรอินทรีย์เอกชน: เป็นมาตรฐานที่ไม่บังคับ (สมัครใจขอรับรอง) มักมีมาตรฐานที่สูงกว่ามาตรฐาน/กฎระเบียบของรัฐ และ เช่น มาตรฐาน Soil Association ของอังกฤษ เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 และมาตรฐาน มกท.
  • มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐาน IFOAM  ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำสำหรับให้องค์กรรับรองต่างๆนำไปใช้กำหนดราย ละเอียดมาตรฐานของตน และมาตรฐาน Codex ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดโดย FAO และ WHO


ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด