ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคที่เกิดจากบุหรี่ ปัญหาทางสาธารณะสุขที่ต้องสูญเสียเงินมหาศาลเพื่อเยียวยา

แม้จะมีคำเตือนเกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ติดไว้บนซองบุหรี่ อาทิ บุหรี่ทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคมะเร็ง ถุงลมโป่งพอง อัมพาต เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ

โรคที่เกิดจากบุหรี่ ก็ยังเป็นปัญหาทางสาธารณะสุขที่แต่ละปี ต้องสูญเสียเงินมหาศาลเพื่อเยียวยา ที่สหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ.1990 พบว่าในจำนวนผู้ที่เสียชีวิตทุก 5 คน 1 คนในจำนวนนั้นเกิดจากบุหรี่ สังคมอเมริกันเอง มีการรณรงค์ต่อต้านบุหรี่กันอย่างกว้างขวาง ดังจะเห็นได้จากข้อมูลว่า เมื่อปี ค.ศ. 1965 คนอเมริกันสูบบุหรี่กันถึง 40 % แต่เมื่อปี ค.ศ. 1995 ปริมาณลดลงเหลือ 24.7 % บริษัทจำหน่ายบุหรี่รายใหญ่ของอเมริกาเห็นว่า แนวโน้มถ้าจะแย่แถมยังถูกอเมริกันฟ้องร้องว่า เป็นตัวการให้รัฐต้องเสียเงินเพื่อบำบัดเยียวยาโรคที่มีสาเหตุเกิดจากบุหรี่ปีๆ หนึ่ง เป็นพันๆล้านดอลลาร์ บริษัทผู้ผลิตจึงพยายามหาทางออก คือ เอาบุหรี่อเมริกันไปขายให้คนชาติอื่น ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนให้คนชาติอื่น หันมานิยมผ่อนส่งความตายกันเพิ่มมากขึ้น เพื่อโฆษณานี้ปีๆหนึ่งหลายร้อยล้านดอลลาร์ทีเดียว คนที่มีรสนิยม และพอจะมีทรัพย์ก็พยายามหามาเพื่อบริโภค ถึงรัฐบาลขึ้นภาษีสรรพสามิตเท่าใดก็ไม่พ้นบุหรี่หนีภาษีอยู่ดี ไม่ว่าจะบุหรี่ไทยหรือบุหรี่นอก ขึ้นชื่อว่าควันบุหรี่แล้วก็น่ากลัวพอกัน เพราะมีสารต่างๆถึง 4,700 ชนิด มีทั้งที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ภูมิแพ้ หลอดลมอักเสบสารพัด แต่ที่สำคัญก็คือ สารนิโคติน คาร์บอนมอนนอกไซด์ สารไฮโดรคาร์บอน
 
นิโคติน เมื่อถูกสูดเข้าในถุงลมปอดจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งจะมีฤทธิ์คล้ายสารประสาทมีชื่อ Adrenaline ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ
 
สารคาร์บอนมอนนอคไซด์ ซึ่งจับกับโมเลกุลของฮีโมโกบิน ทำให้เม็ดเลือดไม่สามารถนำออกซิเจนได้ จึงก่อให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนในระดับเซล ในควันบุหรี่มีสารที่ทำลายเซลเยื่อบุผนังหลอดเลือด (Endothelium) ทำให้หลอดเลือดแข็งตัว หดตัว ทำให้ระดับ HDL ลดลง กระตุ้นการแข็งตัวของเม็ดเลือดทำให้เกิดหลอดเลือดอุดตันได้โดยง่าย
 
บุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของมะเร็งกว่า 10 ชนิด อาทิ มะเร็งปอด มะเร็งของทางเดินหายใจและช่องปาก มะเร็งของกระเพาะอาหาร ตับอ่อน เป็นต้น เพราะมีสารก่อมะเร็ง (Carcinogen) อยู่เกือบ 50 ชนิด บุหรี่กระตุ้นให้เกิดภาวะหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคถุงลมโป่งพอง เปรียบเหมือนทำให้ฟองน้ำซึ่งมีช่องอากาศเล็กๆถูกทำลาย ทำให้กลายเป็นรวงผึ้งใหญ่ๆ พื้นผิวของการแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่ถุงลมลดลง ลงท้ายออกซิเจนในอากาศไม่เพียงพอ ต้องนอนกอดถังออกซิเจนไปตลอด ขยับตัวออกกำลังเล็กน้อยก็เหนื่อย วันร้ายคืนร้ายก็เกิดปอดอักเสบหรือปอดแตกไปเลยก็มี สำหรับคุณผู้หญิงที่คิดจะมีลูกควรฟังตรงนี้ให้ดี จากการศึกษาพบว่า ทารกที่เกิดจากมารดาที่สูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์ไม่เพียงแต่ จะเป็นเด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อยเมื่อแรกคลอดเท่านั้น พบว่าเมื่อโตขึ้นไป เด็กผู้ชายจะมีโอกาสเป็นเด็กที่มีนิสัยก้าวร้าวชอบลักขโมยมากกว่าเด็กทั่วไปถึง 4 เท่า เช่นกันในเด็กเพศหญิง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ทฤษฎีหนึ่งที่เชื่อกันคือ สารนิโคตินในบุหรี่ อาจกระทบกระเทือนกับการพัฒนาการของสมองของทารกในครรภ์ มารดาที่ไม่ได้สูบบุหรี่แต่ต้องอยู่กับบิดาที่ชอบสูบบุหรี่ในห้องนอน ในบ้าน ก็ไม่น่าจะปลอดภัยเช่นกัน
 
มีการศึกษาพบว่า ผู้ที่สูบบุหรี่ส่วนใหญ่ 90% เริ่มสูบก่อนอายุ 20 ปี ก็ควรเป็นข้อเตือนใจที่ดีในการรณรงค์ป้องกันโทษภัยของบุหรี่กันให้เข้มข้นตั้งแต่วัยเด็ก จะได้ไม่ต้องมากลายเป็นผู้ใหญ่ที่ติดบุหรี่ในอนาคต และที่สำคัญจากการวิจัยพบว่า ยาเสพติดทุกประเภทไม่ว่า กัญชา ยาบ้า เฮโรอีน ฯลฯ ล้วนมีจุดเริ่มต้นที่บุหรี่ทั้งสิ้น คนที่ติดบุหรี่แล้วก็อย่าพึ่งเสียอกเสียใจ ถ้าคิดอยากจะเลิกลองมาฟังการศึกษานี้ดู เขาพบว่าถ้าหยุดบุหรี่วันนี้อัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจะลดลงถึง 50 % ภายในระยะเวลา 1-2 ปี แต่ถ้าจะให้อัตราเสี่ยงเท่าปกติเลย จะต้องใช้เวลานานกว่านั้น คือ ประมาณ 10-15 ปี ทีเดียว เอาเถอะ ถึงจะนานเท่าใดก็คุ้มค่า เพราะไม่เฉพาะแต่โรคหัวใจ โรคมะเร็ง ถุงลมโป่งพอง ฯลฯ ก็จะพลอยเบาลงไปด้วยจะได้มีชีวิตอยู่ดูโลกอย่างสดใส ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคภัยไข้เจ็บที่ป้องกันได้
 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์หัวใจวิภาวดี โทร.0-2561-1111 ต่อ 1322

โดย นพ.วรงค์ ลาภานันต์                                      
กองอายุรกรรมรพ.ภูมิพล และแพทย์ที่ปรึกษารพ.วิภาวดี
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด