ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

การเตรียมตัวก่อนถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านม (Mammogram)

ปัจจุบันโรคมะเร็งในสตรีสำหรับประเทศไทย พบว่ามะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งปากมดลูก และมีแนวโน้มจะพบมากขึ้นทุกปี

ปัจจุบันโรคมะเร็งในสตรีสำหรับประเทศไทย พบว่ามะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งปากมดลูก และมีแนวโน้มจะพบมากขึ้นทุกปี 
 
สาเหตุของการเกิดมะเร็งเต้านม 
ยังไม่มีใครทราบสาเหตุที่แน่นอน
 
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม(ที่ป้องกันไม่ได้)
   -ผู้หญิง อายุมากกว่า 35 ปี
   -เคยมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน
   -มีประจำเดือนเร็ว , หมดประจำเดือนช้า
   -มีมารดา พี่สาว น้องสาว ลูกสาวเป็นมะเร็งเต้านม
   -ไม่มีบุตร หรือมีบุตรคนแรกเมื่ออายุมากว่า 30 ปี
 
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม(ที่ป้องกันได้)
   -ถูกฉายรังสีที่หน้าอกบ่อยๆ
   -ดื่มแอลกอฮอล์ ตั้งแต่อายุน้อยกว่า 30 ปี
   -ใช้ยาคุมกำเนิดนานกว่า 4 ปี ก่อนการตั้งครรภ์ครั้งแรก 
   -ออกกำลังกายน้อยทำให้ประจำเดือนมาเร็ว
   -กินจุ ทำให้ประจำเดือนมาเร็ว
   -รวมเวลาให้นมบุตรน้อยกว่า 3 เดือน
 
วิธีการป้องกันมะเร็งเต้านม 
   -ไม่มีวิธีการป้องกันโดยตรง
   -การตรวจให้พบตั้งแต่ระยะเริ่มต้นเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยรักษาให้หายได้ เรียกว่าการคัดกรอง(Screening) 
 
การตรวจคัดกรองสำหรับประชาชนทั่วไป
   -อายุ 20-40 ปี ตรวจเต้านมด้วยตัวเองทุกเดือน และตรวจเต้านมโดยแพทย์ทุก 3 ปี
   -อายุ 40 ปี ขึ้นไป ตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน และตรวจเต้านมโดยแพทย์ทุกปี
 
การตรวจคัดกรองสำหรับสตรีกลุ่มเสี่ยง
-ตรวจเต้านมด้วยตัวเองทุกเดือน และตรวจเต้านมโดยแพทย์ทุกปี
-ถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านมทุก 2 ปี
 
การเตรียมตัวก่อนถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านม
-งดเครื่องดื่มหรือยาที่มีสารคาเฟอีน เพราะจะไปกระตุ้นให้มีการขับน้ำออกมามาก
-ห้ามใช้ยาระงับกลิ่นตัว แป้งทาตัว เพราะมีสารที่ทำให้เกิดการคั่งค้างของน้ำ เวลากดเต้านม จะรู้สึกเจ็บมาก และแป้งมีสารทึบรังสีเป็นฝุ่นเล็กๆ ทำให้ปรากฏเห็นบนภาพได้ อาจทำให้นึกว่าเป็น microcalcification ได้
 
การตรวจเต้านมด้วยอัลตร้าซาวด์
-ใช้ในการตรวจที่เอกซเรย์เต้านมแล้วเห็นก้อนไม่ชัดเจน
-จะช่วยแยก solid กับ cystic mass โดยอัลตร้าซาวด์จะวินิจฉัย cystic mass ได้ชัดเจน
-ข้อเสีย ไม่สามารถใช้เป็นการตรวจคัดกรอง เพราะไม่เห็น microcalcification (ตัวก่อมะเร็งซึ่งมีขนาดเล็กมากเป็นไมครอน) 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด