ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

Palliative care การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

Palliative care การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย HealthServ.net

Palliative care การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

Palliative care การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ThumbMobile HealthServ.net
Palliative care การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย HealthServ
หลักการของ Palliative care

Palliative Care คืออะไร?
ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ลักษณะของโรคในชุมชนได้เปลี่ยนแปลงไป จากข้อมูลสถิติของประเทศไทยจัดทำโดยสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตในช่วงปีพ.ศ.2546-2550 คือ โรคมะเร็ง โดยคิดเป็นอัตรา 84.9 คนต่อจำนวนประชากร 100,000 คน และมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี แม้ว่าวิทยาการทางการแพทย์จะเจริญก้าวหน้าจนโรคมะเร็งในระยะที่ผู้ป่วยเคยมีโอกาสรอดเพียงเล็กน้อย ก็สามารถให้การรักษาทำให้ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตได้นานมากขึ้น แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม ยังมีผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่ป่วยหนักจนกระทั่งความรู้ทางการแพทย์ในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถยื้อความตายออกไปได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่บุคคลากรทางการแพทย์ที่จะให้การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
 
แม้ว่า "ความตาย" จะเป็นธรรมชาติของชีวิตทุกชีวิต แต่คนในปัจจุบันกลับเผชิญหน้ากับความตายได้ยากลำบากมากขึ้นกว่าคนรุ่นก่อนๆ ซึ่งก็เกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่
 
  • แต่ก่อนนั้น คนส่วนใหญ่มักจะเสียชีวิตที่บ้าน ทำให้คนอื่นๆในครอบครัวเห็นความตายเป็นเรื่องปกติของชีวิต ในขณะที่ปัจจุบัน ความตายนั้นมักจะเกิดในโรงพยาบาล เป็นสาเหตุให้คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้สัมผัสกับประสบการณ์ของการเสียชีวิตของคนใกล้ตัว
     
  • รูปแบบครอบครัวในสังคมที่เปลี่ยนไป จากที่เคยเป็นครอบครัวขยาย (Extended family) ก็กลายเป็นครอบครัวเดี่ยว (Nuclear family) มากขึ้น ทำให้เด็กๆที่โตขึ้นมาอาจจะไม่เคยได้เห็นประสบการณ์ของการตาย
     
  • วิทยาการทางการแพทย์มีความก้าวหน้ามากขึ้น โรคบางโรคก็สามารถป้องกันได้ โรคบางโรคจากที่เคยป่วยแล้วไม่มีทางรักษาต้องเสียชีวิต ก็สามารถรักษาให้ผู้ป่วยอยู่ได้นานมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องที่ดี แต่ในมุมกลับกัน สังคมเริ่มมีความคาดหวังกับการแพทย์มากขึ้น จนบางครั้งไม่สามารถยอมรับความตายได้หรือมองว่าความตายเป็นเรื่องผิดปกติ จนบางครั้งก็ลืมไปว่าเทคโนโลยีนั้นก็มีขีดจำกัดเช่นกัน หลายๆครั้งที่แพทย์สามารถยื้อชีวิตผู้ป่วยเอาไว้ได้ แต่การยื้อชีวิตผู้ป่วยโดยใช้เทคโนโลยต่างๆีนั้น บางครั้งไม่เพียงแต่ไม่ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่กลับเป็นการเพิ่มความทรมานแก่ผู้ป่วยในเวลาที่เหลืออยู่
     
  • ยิ่งเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากเท่าไหร่ การตัดสินใจเรื่องการรักษาพยาบาลก็ถูกมองว่าเป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์มากขึ้น เพราะมองว่าเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน ยากเกินกว่าคนทั่วไปจะเข้าใจ จนบางครั้งก็มองข้ามความจริงที่ว่าผู้ป่วยแต่ละคนควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแนวทางการรักษาของตนเอง เนื่องจากแต่ละคนก็มีความเชื่อ ค่านิยม และบริบทอื่นๆของชีวิตที่แตกต่างกัน
จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงได้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อให้มีความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้มากขึ้น องค์การอนามัยโลกได้ให้ความหมายของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือระยะประคับประคอง (Palliative care) ว่า เป็น "วีธีการดูแลผู้ป่วยที่ป่วยเป็นระยะสุดท้ายของโรคและครอบครัว โดยให้การป้องกันและบรรเทาอาการตลอดจนความทุกข์ทรมานด้านต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น การดูแลจะเน้นการดูแลที่เป็นองค์รวมครอบคลุมทุกมิติของสุขภาพอันได้แก่ กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณของผู้ป่วย" ทั้งนี้เป้าหมายหลักของการดูแลคือ การลดความทรมานของผู้ป่วย เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว และทำให้ผู้ป่วยได้เสียชีวิตอย่างสงบหรือ “ตายดี”

 
โดยสรุปหลักการสำคัญของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายคือ
  • ให้การดูแลเป็นองค์รวม ทั้งกาย ใจ สังคม และจิตวิญาณ
  • ให้การดูแลทั้งผู้ป่วยและครอบครัว เพราะเมื่อคนใดคนหนึ่งในครอบครัวป่วยหนัก ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่คนอื่นๆในครอบครัวจะได้รับผลกระทบจากการเจ็บป่วยของผู้ป่วยไปด้วย
  • ให้ความเคารพสิทธิของผู้ป่วยและครอบครัวในการรับทราบข้อมูลการเจ็บป่วย และให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมตัดสินใจเรื่องแนวทางและเป้าหมายของการดูแล รวมไปถึงการให้ความเคารพในค่านิยม ความเชื่อและศาสนาของผู้ป่วยและครอบครัว
  • ปรัชญาของการดูแลจะไม่ใช่เป็นการใช้เครื่องมือหรือความรู้ทางการแพทย์ที่เป็นเพียงการยื้อความทรมานโดยไม่เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ในขณะเดียวกันก็ไม่ใช่เป็นการเร่งหรือช่วยให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเร็วกว่าการดำเนินโรคตามธรรมชาติ
  • การดูแลจะเป็นการดูแลโดยทีมสหวิชาชีพ มีการประสานงานระหว่างบุคคลากรสาธารณสุขหลายสาขา เพื่อให้สามารถช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวได้มากที่สุด และที่สำคัญควรตระหนักไว้เสมอว่าครอบครัวก็เป็นส่วนหนึ่งของทีม
  • การดูแลมีความต่อเนื่องตั้งแต่ในระยะแรกๆ ของโรคจนกระทั่งหลังจากผู้ป่วยเสียชีวิต
 
อ.นพ.กิติพล นาควิโรจน์
 
ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว  FamMed.mahidol.ac.th
สำนักงาน: ชั้น 2 อาคาร 4 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
โทรศัพท์ 0-2201-1486

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย แบบประคับประคอง (Palliative Care) PDF LINK

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย แบบประคับประคอง (Palliative Care) PDF Palliative care การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย แบบประคับประคอง (Palliative Care) PDF Palliative care การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
คู่มือสำหรับประชาชน การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย แบบประคับประคอง (Palliative Care) PDF มีนาคม 2556 รวม 47 หน้า จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สารบัญ ตอนที่ 1 แนวคิดและหลักการของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย แบบประคับประคอง (Palliative Care) ตอนที่ 2 การดูแลสุขภาพร่างกายเบื้องต้น ตอนที่ 3 การดูแลทางจิต อารมณ์ ความรู้สึกของผู่ป่วยและญาต ส่งท้าย บรรณานุกรม
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด