ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคและอาการ อาหารเป็นพิษที่เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์

โรคและอาการ อาหารเป็นพิษที่เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ HealthServ.net
โรคและอาการ อาหารเป็นพิษที่เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ ThumbMobile HealthServ.net

หน้าร้อนมาทีไร โรคอาหารเป็นพิษก็เป็นโรคประจำฤดูร้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ โรคอาหารเป็นพิษเกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ มักเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อ่อนเพลีย หรืออาจมีความรุนแรงและความเฉียบพลันของอาการขึ้นอยู่กับปริมาณและชนิดของเชื้อจุลินทรีย์หรือสารพิษที่อยู่ในอาหาร

โรคและอาการ อาหารเป็นพิษที่เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ HealthServ
 โรคอาหารเป็นพิษ และโรคอุจจาระร่วง เป็นโรคที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ ซึ่งเกิดจากการปรุง การเก็บรักษาและสุขนิสัยที่ไม่เหมาะสมของผู้ปรุงและผู้บริโภค ทำให้เชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนไปกับอาหารและก่อให้เกิดอันตรายกับผู้บริโภคในที่สุด
 

โรคอาหารเป็นพิษที่เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์


มี 2 แบบ คือ
 
1. เกิดจากการบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคเข้าไปและเชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้จะเข้าไปเจริญเดิบโตหรือสร้างสารพิษในร่างกาย ทำให้ผู้บริโภคเจ็บป่วยได้ จุสินทรีย์ในส่วนนี้โดยมากจัดอยู่ในกลุ่ม Enterobacteriaceae
เช่น ซาลโมเนลล่า (Saimonella spp.)
อี โคไล (Escherichia coll)
ชิเกลล่า (Shigella spp.) 
เยอร์ซีเนีย Yersinia enterocolitica)
 
2. เกิดจากการบริโภคอาหารที่มีสารพิษที่เชื้อจุสินทรีย์สร้างขึ้นไว้ในอาหารอยู่แล้ว
เมื่อบริโภคเข้าไปก็จะก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยขึ้น เช่น สแตฟฟิโลคอคคัส ออเรียส
(Staphyococcus aureus), คลอสตรีเดียม โบทูไลนัม (Clostridium botulinum)
 
 

อาการที่เกิดจากโรคอาหารเป็นพิษ
 

โดยทั่วไปอาการที่เกิดจากโรคอาหารเป็นพิษจากเชื้อจุลินทรีย์ มักเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อ่อนเพลีย หรืออาจมี อาการอาเจียน 
 
ความรุนแรงและความเฉียบพลันของอาการขึ้นอยู่กับปริมาณและชนิดของเชื้อจุลินทรีย์หรือสารพิษที่อยู่ในอาหาร

 

ข้อปฏิบัติพื่อความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร

1. รักษาความสะอาด โดยล้างมือทุกครั้งก่อนจับอาหาร ระหว่างการเตรียมอาหาร หลังออกจากท้องน้ำ ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์เตรียมอาหารและพื้นครัว
 
 
2. แยกอาหารสดออกจากอาหารที่ปรุงสุกแล้วเสมอ เพราะอาจมีการถ่ายเทเชื้อจุลินทรีย์จากอาหารดิบไปสู่อาหารสุกในขณะปรุงอาหารหรือเก็บอาหารได้
 
3. ปรุงอาหารให้สุกทั่วถึง โดยใช้ความร้อนไม่น้อยกว่า 70 องศาเซลเชียส
 
4. เก็บรักษาอาหารไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสม โดยเก็บอาหารที่ปรุงสุกแล้วที่อุณหภูมิน้อยกว่า 5 องศาเซลเชียส หรือมากกว่า 60 องศาเซลเชียส และไม่ควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องเกินกว่า 2 ชั่วโมง ส่วนอาหารสด เช่น พืชผัก ผลไม้ เก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิไม่เกินกว่า 10 องศาเซลเชียส ส่วนเนื้อสัตว์ เก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิไม่เกินกว่า 4 องศาเซลเชียส 
 
 
5. ใช้น้ำสะอาดและวัตถุดิบที่ปลอดภัยในการปรุงอาหารโดยเลือกอาหารสดที่มีคุณภาพ
การเลือกซื้ออาหารถุง อาหารควรอยู่ในภาชนะที่มีฝาหรือมีอะไร
 
6. ปิดป้องกันฝุ่นละออง พ่อค้า แม่ค้าควรมีอุปกรณ์ป้องกันสิ่งสกปรก ตกลงไปในอาหาร ได้แก่ ผ้ากันเปื้อน ผ้าคลุมผม เป็นต้น และที่สำคัญก่อนบริโภคอาหารถุง ควรอุ่นให้ร้อนก่อนทุกครั้ง
 
 
ผลิตโดย : กองพัฒนาศัยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กระทรวงสาธารณสุข โทร : 0 590 7125 โทรสาร : 0 2591 8472
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด