ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

3 พฤติกรรม New Normal ของการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศหลังวิกฤติโควิด-19

3 พฤติกรรม New Normal ของการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศหลังวิกฤติโควิด-19 HealthServ.net

เจาะพฤติกรรมท่องเที่ยวใน New Normal: เมื่อโควิดทำชีวิตเปลี่ยน บทวิเคราะห์จาก KrungThai Compass

3 พฤติกรรม New Normal ของการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศหลังวิกฤติโควิด-19 ThumbMobile HealthServ.net
ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และภาวะเศรษฐกิจถดถอยล้วนทำให้พฤติกรรมท่องเที่ยวของผู้คนเปลี่ยนไป โดยปกติ สถานที่ที่เราไปเที่ยวมักมีความสะอาดปลอดภัยดีอยู่แล้ว แต่การระบาดของโควิด-19 ทำให้เวลาจะไปเที่ยว นักท่องเที่ยวมักคำนึงถึงความปลอดภัยเพิ่มขึ้นอย่างมาก ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ทำให้พฤติกรรมในการท่องเที่ยวของผู้คนมีการเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเราน่าจะได้เห็นพฤติกรรมท่องเที่ยวแบบนี้จนกว่าวัคซีนจะถูกค้นพบ และผู้คนส่วนใหญ่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ในส่วนนี้ เราจะมาดูว่าพฤติกรรม New Normal ของการท่องเที่ยวจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง 

3 พฤติกรรม New Normal ของการท่องเที่ยว

3 New Normal ของการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศหลังวิกฤติโควิด-19 ได้แก่
1) เที่ยวในประเทศเป็นตัวเลือกแรก 
2) เที่ยวใกล้ๆ ส้ันๆ ขับรถไป และ 
3) เที่ยวที่ Unseen คนไม่พลุกพล่าน 

รูปแบบการท่องเที่ยวที่จะเปลี่ยนไปใน 3 สไตล์
เปรียบเที่ยบตัวเลขและคาดการณ์สัดส่วนรายได้จากนักท่องเที่ยว 2019-2021

1. เที่ยวในประเทศกลายเป็นตัวเลือกแรก

 เที่ยวนอกประเทศลำบาก เที่ยวในประเทศจึงเป็นตัวเลือกแรก ในช่วงที่วัคซีนยังไม่ถูกค้นพบหรือกระจายแพร่หลาย ในหลายประเทศมีมาตรการจำกัดการเดินทางเข้าประเทศจากต่างประเทศ เพื่อควบคุมการระบาดของโรค ทำให้การเดินทางไปต่างประเทศ ไม่ว่าไปจะเที่ยวพักผ่อนหรือติดต่อธุรกิจทำได้ยาก แม้จะเที่ยวนอกประเทศได้ แต่คนก็ยังอยำกเที่ยวในประเทศกันอยู่ แม้จะไม่มีผลสำรวจในไทยโดยตรง แต่ผลการสำรวจจากต่างประเทศ ก็พอทำให้เราคาดการณ์พฤติกรรมของคนไทยได้ โดยจากผลสำรวจของ McKinsey ต่อกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนในเดือนพฤษภาคม 2020 โดยมีการถามว่า ในการท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนในครั้งถัดไป คิดว่าจะท่องเที่ยวในที่ที่ไกลเพียงใด ซึ่งการท่องเที่ยวต่างประเทศถูกรวมอยู่ในคำถามนี้ด้วย ผลปรากฎว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม 55% คิดว่าจะเที่ยวในประเทศก่อน  ซึ่งความต้องการเที่ยวในประเทศดังกล่าวอาจมาจากท้ังเหตุผลเรื่องเศรษฐกิจ และเหตุผลเรื่องความเสี่ยงจากการติดเชื้อโควิด-19 จากการไปเที่ยวต่างประเทศ
 
 สำหรับผู้ชอบเที่ยวในประเทศ แผนการเที่ยวในประเทศในช่วงกลางปีไม่เปลี่ยนแปลงมากนักจากช่วงต้นปี ผลสำรวจจาก US Travel Association ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2020 เปิดเผยว่า ในบรรดานักท่องเที่ยวสหรัฐฯ ที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศหรือต่างประเทศในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา 64% ยังมีแผนที่จะเที่ยวในประเทศในช่วง 6 เดือนข้างหน้าอยู่ ซึ่งเป็นตัวเลขลดลงจากเดิมเล็กน้อย จากผลการสำรวจในเดือนมีนาคม ที่มีสัดส่วนดังกล่าวที่ 70% (รูปที่ 2) สำหรับจุดประสงค์การเที่ยวส่วนใหญ่เป็นการเดินทางไปพักผ่อน ในขณะที่การเดินทางไปติดต่อธุรกิจลดน้อยลง
 

2. เที่ยวใกล้ๆ สั้นๆ ขับรถไป

ในช่วงโควิด-19 ระบาด นักท่องเที่ยวในหลายประเทศนิยมขับรถไปเที่ยว ทริปจึงมักเป็นทริปใกล้ๆ สั้นๆ จากการสำรวจของบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำหลายแห่ง จากกลุ่มตัวอย่างกว่า 10 ประเทศ นักท่องเที่ยวเลือกที่จะขับรถไปท่องเที่ยวเอง ด้วยเหตุผล ด้านความปลอดภัยและการรักษาระยะห่างทางสังคม อย่างในกรณีของจีนระยะทางที่คนอยากไปเที่ยวมากที่สุดอยู่ในระยะการขับรถที่มากกว่า 3 ช่ัวโมง (McKinsey) เช่นเดียวกับในกรณีของสหรัฐฯ ที่ผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 60% ของผู้ที่จะขับรถไปเที่ยว เลือกที่จะขับรถในรัศมีไม่เกิน 300 ไมค์ หรือ 483 กิโลเมตร ซึ่งผลสำรวจของ Lufthasa ในกลุ่มนักท่องเที่ยวจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น พบว่า นักท่องเที่ยว 70% มีแนวโน้มจะไปเที่ยวทริปส้ันๆ ไม่กี่วันในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์มากกว่า
 
 เช่นเดียวกันกับไทย ข้อมูลเดือนกรกฎาคมชี้ว่า จังหวัดที่อยู่ไม่ไกลเกินจากรัศมีการขับรถจากกรุงเทพฯ ได้นั้น มีอัตราการพัก (Occupancy Rate หรือ OR) ที่ฟื้นตัวได้เร็วกว่าจังหวัดอื่น อัตราการเข้าพักโดยเฉลี่ย ณ เดือน กรกฎาคม 2020 ท้ังประเทศอยู่ที่ 25.7% ฟื้นตัวจาก 2.3% และ 3.8% ในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคมที่มีการ Lockdown โดยจังหวัดท่องเที่ยวที่ค่า OR ฟื้นตัวได้ดีกว่าจังหวัดอื่น ส่วนหนึ่งคือ จังหวัดที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ซึ่งมีผู้บริโภคจำนวนมาก และสามารถขับรถไปเที่ยวได้ เช่น ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี นครราชสีมา เป็นต้น ในขณะที่นักท่องเที่ยวมักต้องเดินทางไปเที่ยวด้วยเครื่องบิน ค่า OR ยังฟื้นตัวได้ไม่ดีนัก เช่น ภูเก็ต กระบี่ เป็นต้น 

เทรนด์นี้ยังคงดำเนินต่อไป โดยข้อมูลที่รวดเร็วกว่าอย่ำงข้อมูลจาก Apple Map ก็สื่อว่า จังหวัดที่อยู่รอบข้างกรุงเทพฯ กำลังเป็นที่นิยมในการท่องเที่ยว Krungthai COMPASS ได้นำข้อมูลการขอรับเส้นทางจาก Apple Map ในจังหวัดที่อยู่ใกล้ๆ กรุงเทพฯ เช่น กาญจนบุรี นครราชสีมา ยังคงมีผู้คนขอใช้ Apple Map ในการขับรถไปมากกว่า จังหวัดอื่นๆ เช่นเดียวกับจังหวัดที่เป็นจังหวัดท่องเที่ยวในภูมิภาคต่างๆ ก็มีคนไปท่องเที่ยวมากขึ้น เช่นกัน เช่น อุบลราชธานี และขอนแก่น ในขณะที่จังหวัดอย่างภูเก็ตและเชียงใหม่ คนยังไม่ขับรถไปเที่ยวกันน้อยกว่าช่วงก่อนโควิด-19 
 
อย่างไรก็ดี แม้ว่าคนไทยจะกลับไปเที่ยวบางจังหวัดไม่ต่างจากช่วงก่อนโควิด-19 แต่ไม่ได้หมายความว่ารายได้ท่องเที่ยวน้ันๆ จะกลับมาเท่าเดิม เพราะบางจังหวัดมี สัดส่วนรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงมาก แม้ว่าคนไทยจะกลับไปเที่ยวจังหวัดน้ันๆ เหมือนเดิมแล้ว แต่รายได้การท่องเที่ยวคาดว่าน่าจะยังต่ากว่าช่วงก่อนโควิด -19 อยู่เยอะ อย่างเช่น ชลบุรี ที่มีสัดส่วนรายได้จากชาวต่างชาติถึง 80% ในปี 2019
 
 

3. เที่ยวที่ Unseen คนไม่พลุกพล่าน

ความปลอดภัยต้องมาก่อนในการท่องเที่ยวยุคโควิด-19 จากผลสำรวจของ McKinsey ถึงปัจจัยที่จะทำให้นักท่องเที่ยวกลับมาอีกครั้ง โดยพบว่า นักท่องเที่ยวในสหรัฐฯ ถึง 75% บอกว่าต้องมีวัคซีนก่อนจึงจะเริ่มเที่ยวอีกครั้ง ในขณะที่ 39% บอกว่าในพื้นที่จะต้องไม่มีผู้ติดเชื้อใหม่ติดต่อกันไม่ต่ากว่า 1 เดือน 
 
ซึ่งท้ังหมดนี้ล้วนสื่อถึงความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยจากโควิด-19 ในการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการที่พักต่างๆ ควรมีมาตรการความปลอดภัย ในช่วงก่อนที่จะมีวัคซีน แม้หลังจากวัคซีนถูกค้นพบ แต่ยังถูกกระจายไม่ท่ัวถึง นักท่องเที่ยวน่าจะยังมีความกังวลเรื่องความปลอดภัยในการท่องเที่ยวอยู่ และให้ความสำคัญอย่างมาก กับการเลือกใช้บริการธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัย ดังน้ัน ผู้ประกอบการไทยจึงควรมีเครื่องการันตีให้นักท่องเที่ยวม่ันใจ อย่างเช่น การปรับมาตรการความปลอดภัยของที่พักให้ได้รับ SHA (Amazing Thailand Safety and Health Administration) ซึ่งเป็นมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยเพื่อนักท่องเที่ยว จากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นต้น ความกังวลเรื่องความปลอดภัย ทำให้นักท่องเที่ยวอยำกไปเที่ยวที่ Unseen มากยิ่งขึ้น
 
นักเขียนหนังสือท่องเที่ยวยอดนิยมของสหรัฐฯ ให้ความเห็นว่า นักท่องเที่ยวอาจหลีกเลี่ยงที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่คนไปเยอะ ซึ่งอาจทำให้มีความเสี่ยงในการติดไวรัสเพิ่มมากขึ้น และเลือกไปสถานที่ที่คนไม่พลุกพล่าน และสามารถไปเที่ยวด้วยตัวเองได้แทน ซึ่งก็สอดคล้องกับผลการสำรวจนักท่องเที่ยวจีนของ McKinsey ที่พบว่านักท่องเที่ยวจีน 44% มีความต้องการที่จะเที่ยวแหล่งทิวทัศน์ กลางแจ้งมากที่สุด ในขณะที่แหล่งท่องเที่ยวประเภทช้อปป้ิงกลายเป็นที่ที่นักท่องเที่ยวต้องการไปเที่ยวน้อยที่สุด
 
 เมื่อครั้ง SARs ระบาด คนต่างชาติมาไทยลดลง ไทยก็มีการโปรโมทการท่องเที่ยวแบบ Unseen หากย้อนกลับไปดูในช่วงปี 2003 ที่มีการระบาดของโรคซาร์ส ทางการมีเคมเปญกระตุ้นคนไทยเที่ยวในประเทศ ภายใต้โครงการ Unseen Thailand เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้ภายในประเทศ โดยแหล่งท่องเที่ยว Unseen แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้แก่ 
  1. แหล่งท่องเที่ยวมหัศจรรย์และธรรมชาติ 
  2. แหล่งท่องเที่ยวผจญภัย 
  3. แหล่งท่องเที่ยวสิ่งศักดิ์สิทธิ์และ 
  4. แหล่งท่องเที่ยวประเพณี วัฒนธรรม และ 
  5. แหล่งท่องเที่ยววิถีชีวิต
 
การส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยว Unseen ในไทยช่วงนี้ น่าจะสามารถช่วยการท่องเที่ยวประเทศได้ขณะเดียวกัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรว่ มกันพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกให้พร้อมรองรับนักท่องเที่ยวหน้าใหม่ที่จะเดินทางเข้าไปเยี่ยมเยือนมากขึ้น
 
 
แม้รายได้จากนักท่องเที่ยวไทยจะเป็นรายได้หลักในช่วง New Normal แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า หากอยากให้รายได้จากการท่องเที่ยวฟื้นตัวโดยเร็ว การมาเที่ยวของต่างชาติก็ ยังถือเป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้อยู่ ซึ่ง Krungthai COMPASS วิเคราะห์ว่า แนวทางการรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่แตกต่างกันในช่วงโควิด-19 สามารถทำให้รายได้การท่องเที่ยวแตกต่างกันอย่างมาก ในส่วนนี้เรากล่าวถึงว่า Travel Bubble คืออะไร และการเปิด Travel Bubble แบบใดบ้างที่อาจนำมาใช้กับไทยได้ 
 
Krungthai COMPASS รู้เรื่องเศรษฐกิจแบบเจาะลึกจากกูรูตัวจริง
คณะผู้จัดทำ
พชรพจน์ นันทรามาศ 
กิตติพงษ์ เรือนทิพย์ 
จารุวรรณ เหล่าสัมฤทธิ์
 
เผยแพร่: สิงหาคม 2020
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด