ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ทำอย่างไรจะป้องกันโรคทางสมองได้

โรค อัลไซเมอร์ เป็นโรคที่พบมากในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เป็นอาการเตือน โรคทางสมองเสื่อม มักมีอาการ เช่น ลืมแว่นตา ลืมว่าปิดประตูบ้านแล้วหรือยัง ลืมชื่อคนรู้จัก คล้ายๆความจำเสื่อม ความจำเสื่อมและอาการหลงลืมที่ไม่รุนแรง ร้อยละ 30 ของคนเหล่านี้จะกลายเป็นโรคสมองเสื่อม สาเหตุของอาการหลงลืม

ทำอย่างไรจะป้องกันโรคทางสมองได้

                                                                               นพ.สามารถ  นิธินันทน์

                                                         อายุรแพทย์โรคระบบประสาทวิทยา รพ.วิภาวดี


     โรคอัลไซเมอร์  เป็นโรคที่พบมากในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป    เป็นอาการเตือน โรคทางสมองเสื่อม  มักมีอาการ เช่น  ลืมแว่นตา   ลืมว่าปิดประตูบ้านแล้วหรือยัง  ลืมชื่อคนรู้จัก  คล้ายๆความจำเสื่อม  ความจำเสื่อมและอาการหลงลืมที่ไม่รุนแรง  ร้อยละ 30 ของคนเหล่านี้จะกลายเป็นโรคสมองเสื่อม สาเหตุของอาการหลงลืม



          -  สมาธิสั้น มักพบในผู้ที่ทำงานหลายอย่างพร้อมๆกันเป็นประเภท “ ได้หน้า ลืมหลัง”

          -  มีความวิตกกังวลที่มากเกินไปจนทำให้นอนไม่หลับ และเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้บ่อยครั้ง  ทำให้สมองเกิดอาการล้า  จึงมีอาการหลงลืม

         -  ภาวะซึมเศร้า จากการสูญเสียสิ่งที่ตัวเองรัก  ไม่มีงานทำ  ภาระหนี้สิน  หรือการเจ็บป่วยเรื้อรัง   อุบัติเหตุทางสมอง  รวมถึงอายุที่เพิ่มขึ้น


สาเหตุของโรคสมองเสื่อม มีดังนี้

          -  โรคอัลไซเมอร์

          -  โรคหลอดเลือดสมอง

          -  โรคอัลไซเมอร์ ร่วมกับ โรคหลอดเลือดสมอง

          -  โรคพาร์กิสัน 

          -  อุบัติเหตุทางสมอง


อาการเตือนโรคอัลไซเมอร์  

          -  การคิดคำนวนเริ่มช้าลง

          -  บริหารงานที่ผิดพลาดบ่อยขึ้น

          -  อารมณ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

          -  ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง หรือสิ่งของเครื่องใช้บางชนิดที่มีเทคโนโลยี

              ใหม่ๆ

       -   พฤติกรรมที่เปลี่ยนไป หลีกหนีตัวเองจากสังคม


ปัจจัยเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์  

        -  น้ำหนักลด  ความดันโลหิตสูง  เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ

        -   โรคเบาหวาน  ไขมันคลอเรสเตอรอลสูงและไขมันชนิดความหนาแน่นต่ำ

           -    การรับประทานอาหาร  ฮอร์โมนและการออกกำลังกาย

           -    ขาดวิตามินบี 12

                 ฯลฯ 


วิธีการป้องกัน

           -    ต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงให้ได้

           -   ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

           -   เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

           -   นั่งสมาธิ

           -  ดูแลและควบคุมในเรื่องของอารมณ์

 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด