ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน

ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน HealthServ.net

โรคเบาหวาน คือ ภาวะที่มีระดับน้ำตาลกลูโคสสูงในเลือด ซึ่งเป็นผลจากความบกพร่องในการหลั่ง Insulin จากตับอ่อน หรือ การออกฤทธิ์ของ Insulin ผิดปกติ หรือทั้ง 2 อย่างร่วมกัน เป็นโรคที่พบบ่อย 10.2% ของประชากรอายุ >35 ปี

ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ThumbMobile HealthServ.net

เรื่องน่ารู้  เกี่ยวกับโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน  คือ  ภาวะที่มีระดับน้ำตาลกลูโคสสูงในเลือด  ซึ่งเป็นผลจากความบกพร่องในการหลั่ง Insulin จากตับอ่อน หรือ การออกฤทธิ์ของInsulin ผิดปกติ หรือทั้ง 2 อย่างร่วมกัน เป็นโรคที่พบบ่อย 10.2% ของประชากรอายุ >35 ปี   อาการของโรคเบาหวาน  ดื่มน้ำบ่อย  ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะบ่อยกลางคืน ตามัว เพลีย  น้ำหนักตัวลดลงโดยอธิบายไม่ได้ด้วยเหตุอื่น ข้อบ่งชี้ในการตรวจหาโรคเบาหวานในบุคคลที่ไม่ทราบว่าเป็นโรคเบาหวานมาก่อนและไม่มีอาการผิดปกติ
 
  1. อายุ > 45 ปี  ถ้าหากผลตรวจปกติควรตรวจซ้ำทุก 3 ปี
  2. ผู้ที่ควรได้รับการตรวจก่อนอายุ 45 ปี  หรือ ต้องมีการตรวจซ้ำเป็นระยะถี่ขึ้น  ได้แก่ผู้ที่มีปัจจัย ดังต่อไปนี้
    •  ดัชนีมวลกาย > 25 ( คำนวณจาก  {น้ำหนัก(kg) / ส่วนสูง2(เมตร)} )
    • ประวัติโรคเบาหวานในญาติ  เช่น มี พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นเบาหวาน
    • ประวัติคลอดบุตรน้ำหนัก มากกว่า 4 กิโลกรัม หรือประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์
    • ความดันโลหิตสูง มากกว่า 140/90 mmHg
    • ไขมันในเลือดผิดปกติ HDL < 35 mg/dl, Triglyceride > 250 mg/dl
    • เคยพบน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง > 100 mg/dl
    • ออกกำลังกายน้อย
    • มีโรคของหลอดเลือด
    • เป็นโรคถุงน้ำรังไข่ (Polycystic ovarian syndrome)
 

การวินิจฉัย

  1. งดอาหารหรือเครื่องดื่มที่มี Calories เป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง  แล้วเจาะระดับน้ำตาลในเลือด ได้  > 126 mg/dl
  2. มีอาการของโรคเบาหวาน  ร่วมกับผลน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้ของวันโดยไม่คำนึงถึงเวลาที่รับประทานอาหารมื้อสุดท้าย ได้ > 200 mg/dl  HbA1c คือ ค่าเฉลี่ยของน้ำตาลในเลือด  ในระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา  ซึ่งเป้าหมายในการรักษาคือ ควบคุมให้ระดับ HbA1c < 6.5 หรือ 7 (แล้วแต่ประเภทของผู้ป่วย) 
ค่านี้มีประโยชน์เนื่องจากมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ควบคุมอาหารอย่างดีเพียง 1-2 วันก่อนวันก่อนพบแพทย์  ซึ่งอาจทำให้ระดับน้ำตาลที่ตรวจพบดี  แต่ความเป็นจริงคือ 2-3 เดือนที่ผ่านมามิได้ควบคุมตนเอง  ซึ่งค่า HbA1c จะสูงฟ้องให้เห็นทำให้แพทย์สามารถเห็นค่าน้ำตาลที่แท้จริงได้  และหากค่า HbA1c ยิ่งสูงจะเพิ่มอัตราเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน  
 

ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง (หรืออันตรายภัยเงียบจากเบาหวาน)

  1. หลอดเลือดหัวใจ : ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด  หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย
  2. หลอดเลือดสมอง : ทำให้เกิดภาวะอัมพาต  อัมพฤกษ์
  3. หลอดเลือดส่วนปลายที่ขา : ทำให้เลือดไปเลี้ยงขาไม่เพียงพอ  มีอาการปวดน่องเวลาเดิน  และอาจทำให้เกิดแผลที่เท้าเนื่องจากการขาดเลือดไปเลี้ยง
  4. จอประสาทตา : ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจจอประสาทตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง  และหากพบความผิดปกติ  สามารถรักษาได้โดยการ laser เพื่อป้องกันระดับสายตาเสื่อมลงและตาบอด
  5. ไต : ขั้นแรกจะตรวจพบ protein รั่วออกมาในปัสสาวะ และหากไม่ระวังดูแลให้ดีอาจทำให้เกิดภาวะไตวายในอนาคตได้
  6. เส้นประสาท : อาการที่พบบ่อยคือ  มีอาการชา หรือ ปวดแสบปวดร้อน  หรือ ปวดรุนแรง หรือ รู้สึกชาแบบเหน็บชา หรือเหมือนถูกแทง  โดยมักมีอาการที่ปลายเท้า และ ปลายมือก่อน
หากเราไม่อยากให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานดังกล่าว เราจึงควรควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีตั้งแต่แรกวินิจฉัย  รวมทั้งตรวจหาและรักษาปัจจัยเสี่ยงที่พบร่วม อันได้แก่ ความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง
 

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

  1. ควบคุมอาหาร  โดยลด ข้าว แป้ง น้ำตาล และเครื่องดื่นที่มีน้ำตาลโดยเฉพาะ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ และนมเปรี้ยว
  2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 30-60 นาทีต่อครั้ง 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์
  3. งดสูบบุหรี่
  4. รับประทานยาหรือฉีดยาตามแพทย์แนะนำ
  5. รักษาปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่พบร่วม ได้แก่ ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง
  6. หากมีอาการผิดปกติ  เช่น อาเจียนมาก  รับประทานอาหารไม่ได้  ควรปรึกษาแพทย์เนื่องจากระดับน้ำตาลจะแกว่งสูงหรือต่ำได้มาก
พญ.วรณัน  เจริญหิรัญยิ่งยศยศ
อารยุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด