ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

การตรวจเชื้อไวรัส RSV (โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี)

การตรวจเชื้อไวรัส RSV (โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี) HealthServ.net
การตรวจเชื้อไวรัส RSV (โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี) ThumbMobile HealthServ.net

RSV คือไวรัสที่มีชื่อเต็มว่า Respiratory Syncytial Virus มีสองสายพันธุ์ คือ RSV-A และ RSV-B เป็นไวรัสก่อการติดเชื้อทางเดินหายใจของเด็กทั่วโลก โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และมีการระบาดเกือบทุกปี

การตรวจเชื้อไวรัส RSV (โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี) HealthServ
ไวรัส RSV มีอาการที่รุนแรงโดยเฉพาะในเด็กอายุน้อย ซึ่งผู้ใหญ่เองก็สามารถเป็นได้เช่นกันแต่อาจจะรู้สึกเหมือนเป็นไข้หวัดธรรมดาคือ ไอ มีน้ำมูกเล็กน้อย ไม่มีไข้ โดยส่วนใหญ่ เชื้อ RSV จะระบาดในช่วงฤดูฝน ตามความเข้าใจส่วนมากที่เชื่อว่าการระบาดจะเกิดขึ้นในช่วงฝนตกเยอะ มีความชื้น ซึ่งบางครั้งการเป็นไข้หวัดของเราก็เริ่มมาจากเชื้อ RSV นี้หรืออาจะเป็นหวัดธรรมดาก่อนจะพัฒนาไปเป็นเชื้อไวรัส RSV
 
เชื้อ RSV สามารถติดต่อได้จากน้ำลาย ละอองเสมหะของเด็กที่ป่วยและไอออกมา หรือผู้ใหญ่บางคนที่มีเชื้อ RSV แม้จะไม่รุนแรงแต่หากไปคลุกคลีกับเด็กแล้วเด็กได้รับเชื้อนี้เข้าไปก็อาจจะส่งผลให้ติดเชื้อนี้ได้เช่นกัน แต่จะมีโอกาสน้อยกว่าการที่เด็กอยู่รวมกันเยอะๆ
 
การติดต่อของไวรัส RSV มีลักษณะคล้ายการติดต่อของไข้หวัด คือ การอยู่ร่วมกันโดยคนเป็นหวัด 1 คนสามารถแพร่เชื้อได้ แต่คนที่รับเชื้อเข้าไปอาจจะไม่แสดงอาการออกมาซึ่งขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกัน นอกจากการแพร่กระจายจากผู้ที่มีเชื้อแล้ว อาจจะติดจากสิ่งของที่ผู้มีเชื้อไปสัมผัสหรือการที่ผู้ปกครอง พี่เลี้ยง ไปสัมผัสเด็ก เพราะฉะนั้นควรล้างมือทุกครั้งก่อนที่จะคลุกคลีกับเด็ก


การรักษา RSV
ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคติดเชื้อไวรัส RSV โดยตรง แต่ใช้วิธีการรักษาตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้ แก้ไอละลายเสมหะ ในเด็กบางรายที่มีเสมหะเหนียวมาก ต้องทำการพ่นยาขยายหลอดลมผ่านทางออกซิเจนละอองฝอย เคาะปอด และดูดเสมหะออก จะช่วยลดความรุนแรงของอาการไอและอาการหายใจหอบเหนื่อยได้


ข้อมูลจาก ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด