ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เครื่องหมายรับรองฮาลาล

เครื่องหมายรับรองฮาลาล HealthServ.net
เครื่องหมายรับรองฮาลาล ThumbMobile HealthServ.net

เครื่องหมายรับรองฮาลาลเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรศาสนาอิสลามเท่านั้น คือคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด อาหารฮาลาลจึงเป็นเรื่องของความร่วมมือและผลประโยชน์ร่วมกันของ 3 ฝ่ายคือ มุสลิมผู้บริโภค ผู้ประกอบการและประเทศชาติ กล่าวคือ

เครื่องหมายรับรองฮาลาล HealthServ
 ปัจจุบัน อาหารฮาลาล (Halal Food) เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากสังคมไทย มิใช่ เพียงแต่ชาวไทยมุสลิมที่จำเป็นต้องบริโภคอาหารฮาลาลเท่านั้น แต่ผู้ประกอบการซึ่งต้องการผลิตอาหารฮาลาลจำหน่ายแก่ผู้บริโภคมุสลิมใน ประเทศ และผลิตเพื่อการส่งออกในตลาดโลกมุสลิมก็จำเป็นต้องให้ความสนใจอย่างจริงจัง และดำเนินกระบวนการผลิตอาหารฮาลาลให้ถูกต้องตามบัญญัติศาสนาอิสลามและ ระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับรองฮาลาล พ.ศ. 2544 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 โดยผ่านการตรวจสอบและรับรองจากคณะ กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยหรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดแล้วแต่ กรณี และหากผู้ขอรับรองฮาลาลประสงค์จะใช้ "เครื่องหมายรับรองฮาลาล" จะต้องรับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายดังกล่าวจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่ง ประเทศไทยก่อน (ข้อ 7, ข้อ 8 แห่งระเบียบฯ) ประกอบกับประเทศไทยเป็น แหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของโลก ตลาดโลกมุสลิมมีประชากรผู้บริโภคประมาณ 2,000 ล้านคน ดังนั้น อาหารฮาลาลจึงเป็นช่องทางการตลาด (Market Channel)  ที่สำคัญ ซึ่งประเทศไทยควรจะต้องเจาะตลาดอาหารฮาลาลเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด (Market Segmentation) ให้มากขึ้น รัฐบาลปัจจุบันจึงมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลเพื่อการส่งออกและ ได้แปลงนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง ทั้งในด้านการพัฒนาวัตถุดิบ การส่งเสริมผู้ประกอบการ การแสวงหาตลาดและการพัฒนากลไกการรับรองมาตรฐานฮาลาลให้เป็นที่น่าเชื่อถือ ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยอำนาจหน้าที่ในการตรวจรับรองและอนุญาตให้ใช้

          เครื่อง หมายรับรองฮาลาลเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรศาสนาอิสลามเท่านั้น คือคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด อาหารฮาลาลจึงเป็นเรื่องของความร่วมมือและผลประโยชน์ร่วมกันของ 3 ฝ่ายคือ มุสลิมผู้บริโภค ผู้ประกอบการและประเทศชาติ กล่าวคือ

          1) มุสลิมได้บริโภคอาหารฮาลาลที่เชื่อได้ว่าถูกต้องตามบัญญัติศาสนาอิสลาม มีคุณค่าอาหาร ถูกสุขอนามัย ปลอดภัยจากสิ่งต้องห้ามทางศาสนาอิสลาม (ฮารอม) และสิ่งปนเปื้อนต่างๆ
          2) ผู้ประกอบการได้รับผลประโยชน์ทางธุรกิจโดยตระหนักถึงการผลิตอาหารฮาลาลที่ ถูกต้องตามบัญญัติศาสนาอิสลามและปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่ง ประเทศไทยว่าด้วยการรับรองฮาลาลอย่างเคร่งครัด ตลอดจนบริหารคุณภาพอาหารตามมาตรฐานฮาลาล
          3) ประเทศชาติได้รับผลประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรัฐบาลให้การส่งเสริมสนับ สนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลอย่างครบวงจรทั้งในด้านการพัฒนาวัตถุดิบ ปัจจัยการผลิตของผู้ประกอบการการตลาดและการปรับปรุงกลไกการรับรอง "มาตรฐาน อาหารฮาลาล" ขององค์กรศาสนาอิสลาม เพื่อส่งออกอาหารฮาลาลสู่ตลาดโลก

ระเบียบรับรองฮาลาล48(ฉบับ แก้ไข) 
ระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยการรับรอง มาตรฐานฮาลาล
และการใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล  พ.ศ. ๒๕๔๘
 
**********************************************


 
            อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ (๕) (๙) แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐    เพื่อกำหนดมาตรการและวิธีดำเนินการตรวจสอบการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ฮาลา ลและการใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย    การรับรองมาตรฐาน     ผลิตภัณฑ์ฮาลาลของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดและสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลา ลเป็นไปใน แนวทางเดียวกัน จึงออกระเบียบไว้ ดังนี้
ข้อ ๑   ระเบียบนี้เรียกว่า  “ระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการ รับรองมาตรฐานฮาลาล และการใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล พ.ศ. ๒๕๔๘”
ข้อ ๒    ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ลงนามในระเบียบนี้ เป็นต้นไป
ข้อ ๓   ให้ยกเลิกระเบียบสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการ รับรอง ฮาลาล พ.ศ. ๒๕๔๔ ระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับรองฮาลาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๔๖
ข้อ ๔   บรรดาระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดที่กำหนดไว้แล้ว ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๕    ในระเบียบนี้
            “คณะกรรมการ”   หมายความว่า    คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด แล้วแต่กรณี
            “คณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาล” หมายความว่า คณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาลของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดแล้วแต่กรณี
            “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดแต่งตั้งขึ้นแล้วแต่กรณี
            “คณะทำงาน” หมายความว่า คณะทำงานที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยหรือ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดแต่งตั้งขึ้นแล้วแต่กรณี
            “เครื่องหมายรับรองฮาลาล” หมายความว่า เครื่องหมายรับรองฮาลาลเป็นของสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศ ไทยอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองแสดงบนฉลากผลิตภัณฑ์การโฆษณาผลิตภัณฑ์หรือ กิจการใด โดยมีสัญลักษณ์เรียกว่า  “ฮาลาล” เขียนเป็นภาษาอาหรับว่า "“……… ” อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนหลังกรอบเป็นลายเส้นแนวตั้งใต้กรอบภายใน เส้นขนานมีคำว่า “สนง.คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย” หรือ “สกอท.” และใต้เส้นขนานมีคำว่า “ที่ กอท.ฮล…(รหัสผลิตภัณฑ์)….”   เป็นภาษาไทย ภาษาอาหรับ หรือภาษาอังกฤษ
            “หนังสือรับรอง”   หมายความว่า หนังสือรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ฮาลาล
            “ผลิตภัณฑ์ฮาลาล” หมายความว่า สิ่งที่ทำขึ้นตามขั้นตอนมาตรฐานผลิตภัณฑ์ฮาลาล และหมายความรวมถึง การผลิต การบริการ การจำหน่าย ที่ไม่ขัดต่อบัญญัติศาสนาอิสลาม (ชารีอะห์ / SHARIYAH) และให้
(๑) “การผลิต” ได้แก่ ทำ ผสม ปรุง ประกอบ ประดิษฐ์ หรือแปรสภาพ และหมายความรวมถึงการเปลี่ยนรูป การดัดแปลง การคัดเลือก หรือการแบ่งบรรจุ
(๒) “การบริการ” ได้แก่ การรับจัดทำการงาน การให้สิทธิใด หรือการให้ใช้ หรือให้ประโยชน์ในทรัพย์สิน หรือกิจการใด โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อื่น แต่ไม่รวมถึงการจ้าง แรงงานตามกฎหมายแรงงาน
(๓) “การจำหน่าย”   ได้แก่ การนำผลิตภัณฑ์ฮาลาลออกขาย แจกจ่าย แก่ผู้บริโภค
            “ผู้บริโภค”  หมายความว่า ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบการ หรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอ หรือการชักชวนจากผู้ประกอบการเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ และหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้าบริการจากผู้ประกอบการโดยชอบ   แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม
          “ผู้ประกอบการ” หมายความว่า เป็นบุคคลหรือนิติบุคคลซึ่ง ขาย ผลิตเพื่อขาย สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย   หรือซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสินค้าหรือผู้ให้บริการ   และหมายความรวมถึงผู้ประกอบ กิจการโฆษณาด้วย
            “ที่ปรึกษา”  หมายความว่า มุสลิมซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้ประกอบการให้เป็นที่ปรึกษาตามหลักเกณฑ์ และได้รับความเห็นชอบของฝ่ายกิจการฮาลาล เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ฮาลาลแก่ผู้ประกอบการ
            “ที่ปรึกษาพิเศษ” หมายความว่า ที่ปรึกษาที่ได้รับการอบรมพิเศษเกี่ยวกับการเชือดสัตว์ การแปรรูปสัตว์ เพื่อให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการโรงเชือดที่เกี่ยวกับการเชือดสัตว์ทุกชนิด ณ สถานที่เชือดสัตว์ และหรือการแปรรูปสัตว์หรือชิ้นส่วนสัตว์
            “ผู้ตรวจสอบฮาลาล” หมายความว่า ผู้ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการให้ตรวจสอบวัตถุดิบ กระบวนการผลิต สถานที่ผลิต ณ โรงงาน/สถานประกอบการ
            “ผู้ตรวจการฮาลาล” หมายความว่า ผู้ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการให้ตรวจติดตามหรือ สอบสวนข้อเท็จจริง     การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ฮาลาลของ     ผลิตภัณฑ์ทีได้รับการรับรองแล้วในตลาดทั่วไปหรือแหล่งที่มีการจำหน่ายจ่าย แจก
            “สถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล”หมายความว่า สถาบันที่ได้ตั้งขึ้นตามระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วย การจัดตั้งสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล พ.ศ. ๒๕๔๖
           “เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจการฮาลาล” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ประจำของสำนักงานคณะกรรมการและ   เจ้าหน้าที่ของสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาลซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับกิจการฮาลาล
ข้อ ๖ ให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจวินิจฉัย
กำหนดหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติตามระเบียบนี้
  

หมวด ๑
หน่วยงานรับรองฮาลาลและการรับรองฮาลาล
---------------------------------------


ข้อ ๗   คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบในการกำหนดและประกาศใช้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ฮาลา ลของประเทศ ให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามและมาตรฐานสากลที่ไม่ขัดต่อหลักการ ศาสนาอิสลาม อนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลแก่      ผลิตภัณฑ์ฮาลาล เป็นหน่วยงานรับรองระบบงานฮาลาล (Halal Accreditatian Body : HAB) เพื่อให้การรับรองแก่หน่วยงานตรวจสอบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ฮาลาล (Halal Certification Body : HCB) ประสานงานและกำกับดูแลหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายกิจการฮาลาล ให้สามาถดำเนินงานได้สัมฤทธิ์ผลตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ฮาลาล
ข้อ ๘ การรับรองฮาลาลภายในเขตจังหวัด ให้เป็นอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด จังหวัดใดที่ไม่มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดให้เป็นอำนาจหน้าที่ความรับ ผิดชอบของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยรับรอง
                        ผู้ประกอบการที่นำเข้าสินค้ามาจากต่างประเทศเพื่อขายและใช้ในกิจการของผู้ ประกอบการเอง บริษัทหรือโรงงานนั้น จะตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดใดก็ตาม ให้เป็นอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ในการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ฮาลาลและให้ใช้   เครื่องหมายรับรองฮาลาล ส่วนผู้ประกอบการที่นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพื่อใช้เป็นส่วนผสมของ ผลิตภัณฑ์ของสถานประกอบการนั้นโดยเฉพาะ สถานประกอบการนั้นจะอยู่ในจังหวัดใดก็ตาม ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนั้นตรวจสอบและรับรอง
ข้อ ๙ เมื่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด พิจารณารับรองฮาลาลแล้ว หากผู้ขอรับรองฮาลาลประสงค์จะขอใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล ให้ส่งเอกสารรับรองเพื่อให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย พิจารณาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล
                        ในการพิจารณาให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย อาจเรียกเอกสาร หรือขอให้มีการตรวจวิเคราะห์เพิ่มเติมจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และหรือผู้ประกอบการที่ขออนุญาตเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาได้
ข้อ ๑๐ ให้มีการจัดตั้งฝ่ายกิจการฮาลาล ของคณะกรรมการเพื่อให้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับกิจการฮาลาลตามที่
          คณะกรรมการมอบหมายได้
ข้อ ๑๑ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะกรรมการกิจการฮาลาล จำนวนไม่น้อยกว่า  ๕  คน แต่ไม่เกิน  ๑๕  คน   ประกอบด้วย กรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ กรรมการคนหนึ่งเป็นรองประธานกรรมการ กรรมการหรือบุคคลอี่นซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านศาสนาอิสลามด้านวิทยาศาสตร์ อาหาร ด้านการบริหารและบุคคลที่เหมาะสมเป็นกรรมการ และให้ประธานกรรมการกิจการฮาลาลมอบหมายให้กรรมการผู้หนึ่งเป็นเลขานุการ
ข้อ ๑๒ คณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาล มีอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ ดังนี้
(๑) ปฏิบัติงานตามนโยบายการรับรองฮาลาลของคณะกรรมการ
(๒) เสนอแนะและให้ความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนามาตรฐานอาหารฮาลาล ให้คณะกรรมการทราบหรือ
       พิจารณา
(๓) กำหนดมาตรการและตรวจสอบเพื่อรับรองผลิตภัณฑ์อาหารตามคำขอของผู้ประกอบการ เพื่อเสนอ
       ผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการพิจารณารับรองแล้วแต่กรณี
(๔) ประสานงานและกำกับดูแลการดำเนินกิจการฮาลาลตามอำนาจหน้าที่ให้ถูกต้อง ตามบทบัญญัติ
       แห่งศาสนาอิสลาม ระเบียบข้อบังคับและมาตรฐานอาหารฮาลาล
(๕) เสนอให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานมีจำนวนตามความเหมาะสม เพื่อ
       ให้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัฒนากิจการฮาลาล
(๖) ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
ข้อ ๑๓ ในกรณีมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานตามข้อ ๑๒(๕) ให้คณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน มีวาระการดำรงตำแหน่งสองปี หรือเมื่อปฏิบัติภารกิจเสร็จสิ้น และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
ข้อ ๑๔ คณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาล คณะอนุกรรมการและคณะทำงาน พ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) หมดวาระ
(๒) ตาย
(๓) ลาออก
(๔) คณะกรรมการมีมติให้พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
ข้อ ๑๕ ในการประชุมคณะกรรมการตามข้อ ๑๑ และข้อ ๑๓ ต้องมีกรรมการหรืออนุกรรมการหรือ          คณะทำงานมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการหรืออนุกรรมการหรือคณะ ทำงานที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานปฏิบัติหน้าที่แทน ถ้าประธานและรองประธานไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ผู้มาประชุมเลือกกรรมการหรืออนุกรรมการหรือ คณะทำงานคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
                        มติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการหรืออนุกรรมการหรือคณะทำงานคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่ง เป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ ๑๖ ให้สถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นสถาบันวิชาการฮาลาลของประเทศในการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ฮาลาล กลั่นกรองเพื่อดำเนินการให้การรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลให้ถูกต้องตามบทบัญญัติ แห่งศาสนาอิสลาม และมาตรฐานสากลที่ไม่ขัดต่อหลักการศาสนาอิสลาม พัฒนาบุคลากรกิจการฮาลาล ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ ติดตามตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ฮาลาลให้คงคุณภาพ และมาตรฐาน  รวมทั้งประชาสัมพันธ์การรับรองอาหารฮาลาลของประเทศไทยให้เป็นที่เชื่อถือยอม รับของผู้ผลิตและผู้บริโภค ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อันจะเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ ฮาลาลของประเทศไทย ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกมากยิ่งขึ้น
ข้อ ๑๗ หน่วยงานตรวจสอบรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาล (Halal Certification Body : HCB) ซึ่งคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยให้การรับรองจะต้องดำเนินการตรวจสอบ รับรองตามหลักเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ฮาลาลของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศ ไทย
 

หมวด ๒
ประเภทของการรับรอง
-----------------------------------

ข้อ ๑๘ การขอรับรองฮาลาลและการขอใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลให้ใช้กับกิจการ ดังต่อไปนี้
(๑) ผลิตภัณฑ์อุปโภค บริโภค
(๒) การเชือดสัตว์
(๓) การบริการอาหารและเครื่องดื่ม
(๔) ผลิตภัณฑ์ฮาลาล ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป วัตถุดิบ ส่วนผสม และหรือเนื้อสัตว์ฮาลาลนำเข้า
       จากต่างประเทศ
 

หมวด ๓
การขอรับรองฮาลาล
และการขอใช้เครื่อง หมายรับรองฮาลาล
-------------------------------

           
ข้อ ๑๙ ผู้ประกอบการซึ่งมีกิจการตามข้อ ๑๘ ตั้งโรงงาน หรือสถานที่ผลิต   หรือให้บริการในเขตจังหวัดใดให้ยื่นคำขอรับรองฮาลาล และหรือขอใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลต่อคณะกรรมการตามข้อ ๘ ตามแบบท้ายระเบียบนี้
                        เมื่อได้รับแจ้งนัดตรวจสอบรับรองฮาลาล ผู้ประกอบการต้องชำระค่าใช้จ่ายการตรวจสอบ รับรอง
ข้อ ๒๐ เมื่อผู้ประกอบการยื่นคำขอพร้อมเอกสารครบถ้วนแล้ว คณะกรรมการกิจการฮาลาลตรวจสอบกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนตามระบบการขอรับรอง มาตรฐานผลิตภัณฑ์ฮาลาลของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ภายในหกสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ
ข้อ ๒๑ ผู้ประกอบการที่ขอให้รับรองฮาลาล และหรือขอใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล ต้องควบคุมดูแลการผลิตในกิจการตามข้อ ๑๘ ให้ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม โดยเคร่งครัดและต้องอำนวยความสะดวกในการตรวจสอบกระบวนการผลิตแก่คณะกรรมการ ฝ่ายกิจการฮาลาลทุกขั้นตอนทุกกรณี หรือดำเนินการตามที่คณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาลเสนอแนะ
ข้อ ๒๒ ผู้ประกอบการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ฮาลาลต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑)    อุปกรณ์ในการผลิตทุกชนิดต้องสะอาดตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม และต้องไม่ใช้ร่วม
       กับสิ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม
(๒)    วัตถุดิบหรือส่วนผสมของอาหารหรือสิ่งอื่น ต้องระบุแหล่งที่มาอันเชื่อได้ว่าฮาลาล และหรือไม่ปะปนกับสิ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม
(๓)    การผลิตที่มีส่วนผสมอันมีที่มาจากสัตว์ ต้องเป็นสัตว์ที่ศาสนาอิสลามอนุมัติ ให้บริโภคได้  และหรือเชือดตามข้อ ๒๓ และทำความสะอาดตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม
(๔)    ผู้ควบคุมการปรุงรสหรือผสมอาหารหรือการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการผลิตต้องเป็น ผู้นับถือศาสนา อิสลาม
(๕)    การเก็บรักษา การขนส่ง และการนำออกจำหน่ายต้องไม่ปะปนกับสิ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม
ข้อ ๒๓ ผู้ประกอบการเชือดสัตว์ ซึ่งเชือดสัตว์ตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑)  ผู้เชือดต้องเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม มีสุขภาพจิตสมบูรณ์ ไม่เป็นโรคติดต่อที่สังคมรังเกียจ
(๒)  สัตว์ที่จะนำมาเชือดต้องเป็นสัตว์ที่ให้เชือดและรับประทานได้ตามบทบัญญัติ แห่งศาสนาอิสลาม
(๓)  การลำเลียงขนส่งสัตว์ที่จะเชือด ต้องไม่ปะปนกับสัตว์ที่ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งศาสนา     
 อิสลาม
(๔)  ไม่กระทำการทารุณสัตว์ก่อนการเชือด
(๕)  การเชือดต้องใช้อุปกรณ์ที่มีคมทำการเชือด
(๖)  ให้กล่าวนามอัลเลาะฮ์ (ซ.บ.) ขณะเริ่มเชือด
(๗)  ผู้เชือดควรหันหน้าไปทางกิบลัต
(๘)  ต้องเชือดโดยต่อเนื่องในคราวเดียว และไม่ทรมานสัตว์
(๙)  ต้องให้หลอดลม หลอดอาหาร และเส้นเลือดสองข้างลำคอขาดจากกัน
 (๑๐) สัตว์จะต้องตายเพราะการเชือดนั้น
 (๑๑) เมื่อเชือดแล้วปล่อยสัตว์นั้นให้ตายสนิทเอง ก่อนนำไปดำเนินการอย่างอื่น
 (๑๒) การเก็บรักษา การขนส่ง และการนำออกจำหน่ายต้องไม่ปะปนกับสิ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม
ข้อ ๒๔   ผู้ประกอบการร้านอาหารฮาลาลหรือสถานที่ให้บริการอาหารเครื่องดื่มฮาลาล ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑)    วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหารหรือการบริการ ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม
(๒)    ผู้ประกอบอาหารหรือควบคุมการประกอบอาหารต้องเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม
(๓)    สถานที่ประกอบอาหารฮาลาล และบริการต้องเป็นสถานที่เฉพาะ ไม่ปะปนกับสถานที่ที่ใช้ประกอบอาหารหรือสิ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งศาสนา อิสลาม
(๔)    การเก็บรักษา   ขนส่ง   และนำออกจำหน่ายต้องไม่ปะปนกับสิ่งที่ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม
(๕)    การทำความสะอาดภาชนะที่ใช้ในการประกอบอาหารหรือบริการต้องแยกไม่ปะปนกับ ภาชนะอื่นที่ใช้กับสิ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม
ข้อ ๒๕ ผู้ประกอบการหรือผู้แทนจำหน่าย ขอให้รับรองเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์ฮาลาลนำเข้าจากต่างประเทศต้องปฏิบัติดัง ต่อไปนี้
(๑)    เนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์นำเข้า ซึ่งมีการรับรองฮาลาลจากประเทศผู้ผลิตให้จัดส่งเอกสารรับรองฮาลาลต้นฉบับที่ สมบูรณ์ต่อคณะกรรมการโดยครบถ้วนถูกต้องเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา
(๒)    หากเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์นำเข้าไม่มีการรับรองฮาลาลมาก่อนหรือมีแต่ไม่น่า เชื่อถือ ให้ฝ่าย กิจการฮาลาลคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยดำเนินการตรวจสอบตามขั้นตอนใน ระเบียบนี้ หรือตรวจสอบ ณ แหล่งผลิตโดยตรง
ข้อ ๒๖ สิ่งต้องห้ามตามบัญญัติศาสนาอิสลามที่ห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์ฮาลาล
            (๑)   สัตว์ต้องห้าม เช่น
·       สุกร สุนัข และสัตว์ที่เกิดจากมัน
·       สัตว์บกที่มีเขี้ยว เช่น สิงโต เสือ ช้าง แมว
·       สัตว์ปีกที่มีกรงเล็บ เช่น อินทรีย์ เหยี่ยว
·       สัตว์มีพิษหรือสัตว์นำโรค เช่น หนู ตะขาบ แมงป่อง และสัตว์อื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
·       สัตว์ที่ไม่อนุญาตให้ฆ่าตามหลักการของศาสนาอิสลาม เช่น มด ผึ้ง และนกหัวขวาน
·       สัตว์ที่พิจารณาโดยทั่วไปแล้วว่าเป็นสัตว์ที่น่ารังเกียจ เช่น เหา แมลงวัน และสัตว์อื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
·       ซากสัตว์ที่ตายเองโดยไม่ได้เชือด หรือสัตว์ที่เชือดไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติศาสนาอิสลาม
·       สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น เต่า กบ
            (๒)   เลือดสัตว์
            (๓)   พืชที่มีพิษและเป็นอันตรายทุกชนิด
            (๔)   อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือที่มีส่วนประกอบที่ทำให้เกิดความมึนเมา
 

หมวด ๔
การตรวจสอบเพื่อรับรองฮาลาล
และการขอใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล
---------------------------

ข้อ ๒๗ การตรวจสอบเพื่อรับรองฮาลาล และการขอใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล ให้ดำเนินการดังนี้
(๑)    ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะขอรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาล และหรือบริการจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ฮาลาล และหรือการบริการตามบทบัญญัติแห่งศาสนา อิสลาม
(๒)    ผู้ประกอบการจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อการผลิตหรือบริการและจัดทำระบบ เอกสาร     เกี่ยวกับกระบวนการผลิตหรือบริการตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ฮาลาล
(๓)    ผู้ประกอบการยื่นคำขอรับรองฮาลาล ต่อคณะกรรมการแล้วแต่กรณีพร้อมเอกสารประกอบ    คำขอและตัวอย่างผลิตภัณฑ์
(๔)    เจ้าหน้าที่กิจการฮาลาล ตรวจความถูกต้องสมบูรณ์ของเอกสารประกอบคำขอ และอาจมีการวิเคราะห์ตัวอย่างผลิตภัณฑ์
(๕)    คณะกรรมการแจ้งวันนัดตรวจสอบกระบวนการผลิตหรือบริการหลังจากผู้ประกอบการ ชำระค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามระเบียบฯ แล้ว
(๖)    คณะผู้ตรวจสอบไปตรวจสอบวัตถุดิบ กระบวนการผลิต อุปกรณ์ สถานที่ผลิต หรือสถานที่จำหน่าย หรือการขนส่ง หรือการบรรจุ หรือการให้บริการ ณ โรงงาน / สถานประกอบการตามที่นัดหมาย
(๗)    คณะเจ้าหน้าที่ของสถานประกอบการนำคณะผู้ตรวจสอบตรวจตามข้อ (๖) หลงจากมีการประชุมร่วมกันแล้ว
(๘)    คณะผู้ตรวจสอบฮาลาลสรุปผลการตรวจสอบเพื่อเสนอคณะกรรมการพิจารณา
(๙)    เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจการฮาลาล ของฝ่ายกิจการฮาลาลหรือสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล       รวบรวมสรุปผลการตรวจสอบเสนอคณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาล หรือคณะกรรมการบริหารสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาล พิจารณา
(๑๐) สำนักงานคณะกรรมการ แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ประกอบการทราบ
(๑๑) ผู้ประกอบการทำสัญญายอมรับปฏิบัติตามเงื่อนไขการรับรองตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ฮาลาล
(๑๒) คณะกรรมการออกหนังสือรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ฮาลาลแก่ผู้ประกอบการ
(๑๓) คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดส่งผลการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ฮาลาลพ ร้อม เอกสารประกอบการพิจารณาการรับรอง ให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยพิจารณา  ในกรณีที่ผู้ประกอบการประสงค์ขอใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล
(๑๔) คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ออกหนังสือสำคัญให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลแก่ผู้ประกอบการ เมื่อผู้ประกอบการได้ชำระค่าธรรมเนียมแล้ว
(๑๕) คณะกรรมการดำเนินการติดตามตรวจสอบและกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ให้คงคุณภาพตาม มาตรฐานผลิตภัณฑ์ฮาลาล และหรือการใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล ให้ปฏิบัติตามสัญญาและเงื่อนไขตามระเบียบฯ อย่างเคร่งครัด โดย “ที่ปรึกษาฮาลาลประจำสถานประกอบการ” และ  “ผู้ตรวจการฮาลาล”
(๑๖) เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจการฮาลาล วิเคราะห์และสรุปผลการติดตามตรวจสอบให้คณะกรรมการทราบหรือพิจารณาแล้วแต่ กรณี
ข้อ ๒๘ คณะกรรมการอาจมอบหมายให้ผู้ตรวจการฮาลาลหรือคณะทำงานไปตรวจสอบวัตถุดิบ กระบวนการผลิตและสถานประกอบการโดยไม่มีการนัดหมายล่วงหน้าเป็นระยะตามความ เหมาะสม และหรือให้สุ่มตรวจผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองฮาลาลแล้วตามท้องตลาดทั่วไป และให้รายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการทราบหรือพิจารณา
ข้อ ๒๙ การรับรองฮาลาลของคณะกรรมการ มีอายุการรับรองไม่เกินหนึ่งปี
ข้อ ๓๐ คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย อาจมอบอำนาจการพิจารณาอนุญาต ให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองฮาลาลแล้ว ให้คณะกรรมการฝ่ายกิจการ   ฮาลาลก็ได้ และให้รายงานผลการพิจารณาอนุญาต ให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ทราบทุกครั้ง
 

หมวด ๕
หนังสือรับรอง
------------------------------------

                       
ข้อ ๓๑   เมื่อคณะกรรมการรับรองฮาลาลแล้ว และสำนักงานคณะกรรมการมีหนังสือแจ้งผลการรับรองให้ผู้ขอทราบและผู้ขอต้องทำ สัญญายอมรับปฏิบัติตามเงื่อนไขการรับรองตามสัญญาท้ายระเบียบนี้ และชำระค่าธรรมเนียมแล้ว จึงออกหนังสือรับรองให้แก่ผู้ขอหนังสือรับรองให้กำหนดอายุตาม      ข้อ ๒๙            
ผู้ขอรับรองฮาลาลประสงค์จะขอต่ออายุหนังสือรับรอง ให้ยื่นคำขอก่อนหนังสือ รับรองหมดอายุอย่างน้อยหกสิบวัน และชำระค่าตรวจสอบการต่ออายุตามอัตราที่กำหนด หากไม่ยื่นคำขอตามกำหนดต้องดำเนินการขอรับรองใหม่
                                    ผู้ขอรับรองฮาลาลรายใดที่ยื่นคำขอรับรองหรือขอต่ออายุ หากไม่ดำเนินการใดตามที่สำนักงานคณะกรรมการแจ้งภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มี การตรวจสอบรับรองครั้งแรกให้ยกคำขอนั้น และจะไม่คืนค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายที่ชำระไว้แต่อย่างใด
                                    ผู้ขอรับรองฮาลาลรายใดขอต่ออายุหลังหมดอายุไม่เกิน ๖๐ วัน จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มตามข้อกำหนด ผู้ขอรับรองฮาลาลรายใดไม่ต่ออายุเกิน ๖๐ วัน หลังจากวันที่หมดอายุ ฝ่ายกิจการฮาลาลอาจยกเลิกการรับรองฮาลาลและอาจไม่ได้รับการรับรองฮาลาลอย่าง น้อยหนึ่งปี    
ข้อ ๓๒ หนังสือรับรองฮาลาลให้ประธานกรรมการหรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมายเป็นผู้ลง นาม
ข้อ ๓๓ ให้สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยออกหนังสือสำคัญให้ใช้เครื่อง หมาย   รับรองฮาลาล หนังสือมีอายุตามที่กำหนดในหนังสือรับรอง และตามแบบท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๓๔ หนังสือสำคัญให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาลให้ประธานคณะกรรมการกลางอิสลาม แห่งประเทศไทย   หรือผู้ที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมอบหมายเป็นผู้ลงนาม
 
 

หมวด ๖
ค่าใช้จ่าย
------------------------------------

ค่า ธรรมเนียมการตรวจสอบรับรองฮาลาล หนังสือรับรองฮาลาลและหนังสือสำคัญให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล
ข้อ ๓๕ ผู้ประกอบการต้องชำระค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายการตรวจสอบ ตามอัตราที่กำหนด
ข้อ ๓๖ การออกหนังสือรับรองฮาลาลเพื่อการส่งออกไปต่างประเทศ ผู้ประกอบการต้องชำระค่าธรรมเนียมการรับรองตามอัตราที่กำหนด
 
๑.   ค่าธรรมเนียม
๑.๑ การตรวจสอบรับรองฮาลาล
 (๑) การตรวจสอบกรณีขอใหม่                                                    ๑๐,๐๐๐         บาท
 (๒) การตรวจสอบกรณีขอต่ออายุ ครั้งละ                                        ๘,๐๐๐         บาท
 (๓) การตรวจสอบติดตามผล (กรณีตรวจครั้งแรกไม่ผ่านความเห็นชอบ) หรือขอเพิ่ม
                     หรือตรวจสอบเมื่อมีการร้องเรียน ครั้งละ                                 ๕,๐๐๐         บาท
(๔) การตรวจวิเคราะห์อาหาร กรณีที่ฝ่ายกิจการฮาลาลฯ กำหนด   ให้ผู้ประกอบการเป็นผู้เสีย    
       ค่าใช้จ่ายผลิตภัณฑ์ ละ                                                          ๑,๐๐๐        บาท
(๕) ให้ผู้ยื่นคำขอเป็นผู้จ่ายค่าพาหนะ และค่าที่พัก แทนผู้ตรวจสอบ จนกว่าการตรวจสอบจะเสร็จสิ้น
( ๖) การตรวจสอบกรณีขอต่ออายุหลังหมดอายุไม่เกิน   ๖๐ วัน        ๑๕,๐๐๐         บาท
๑.๒ หนังสือรับรองฮาลาล และหนังสือสำคัญให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล
(๑) หนังสือรับรองฮาลา ล                                                             ฉบับละ        ๕๐๐ บาท
(๒) หนังสือสำคัญให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล                           รายการละ    ๕๐๐ บาท
(๓) หนังสือสำคัญให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล (ฉบับภาษาอังกฤษ)ฉบับละ   ๕๐๐ บาท
                     และหากแยกฉบับละ ๑ รายการ ค่าธรรมเนียม                   ฉบับละ        ๕๐๐ บาท
 (๔) เอกสารรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลเพื่อการส่งออก (ฮ.ล. ๒)
      ซึ่งรับรองโดยสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย   รายการละ ๕๐๐ บาท
  

หมวด ๗
การควบคุม
------------------------------------

                       
ข้อ ๓๗ ผู้ประกอบการต้องแต่งตั้งที่ปรึกษาฮาลาลประจำสถานประกอบการตามหลักเกณฑ์และ ความเห็นชอบของคณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาลและจ่ายค่าตอบแทนแก่ที่ปรึกษาฮาลา ลตามที่คณะกรรมการกิจการฮาลาลกำหนดให้คณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาลมีอำนาจถอด ถอนที่ปรึกษา ซึ่งขาดความสามารถหรือมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม หรือคณะกรรมการกิจการฮาลาลพิจารณาตามที่ผู้ประกอบการร้องขอให้ถอดถอนที่ ปรึกษา ที่ปรึกษาต้องรายงานผลการ

(ข้อมูลและภาพจาก http://www.halal.or.th/th/main/content.php?page=sub&category=11&id=11)

ฮา ลาลคืออะไร ? ทำไมต้องฮาลาล

     คำว่า “ฮาลาล” เป็นคำภาษาอาหรับมีความหมายทั่วไปว่า อนุมัติ เมื่อนำมาใช้ในทางศาสนา จะมีความหมายาว่า สิ่งที่ศาสนาอนุมัติ (เช่นอนุมัติให้กิน อนุมัติให้ดื่ม อนุมัติให้ทำ อนุมัติให้ใช้สอย เป็นต้น )

     คำว่า “ฮาลาล” เป็นคำภาษาอาหรับมีความหมายทั่วไปว่า อนุมัติ เมื่อนำมาใช้ในทางศาสนา จะมีความหมายาว่า สิ่งที่ศาสนาอนุมัติ (เช่นอนุมัติให้กิน อนุมัติให้ดื่ม อนุมัติให้ทำ อนุมัติให้ใช้สอย เป็นต้น )

      “ฮาลาล” เป็นคำที่มีความหมายตรงข้ามกับคำว่า “ฮารอม” ที่มีความหมายทั่วไปว่า ห้าม และเมื่อนำมาใช้ในทางศาสนาจะมีความหมายว่า สิ่งที่ศาสนาห้าม

     การอนุมัติสิ่งใด หรือการห้ามสิ่งใดใสศาสนาอิสลามเป็นประกาศิตที่มาจากอัลเลาะห์ผู้เป็นเจ้า และมาจากศาสนทูตของพระองค์เท่านั้น ถือเป็นหลักสำคัญที่มุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดโดยไม่ต้องค้น หาเหตุผลการอนุมัติ หรือเหตุผลการห้ามแต่อย่างใด เมื่อพระผู้เป็นเจ้าไม่ได้แจ้งไว้ เพราะมุสลิมมีความเชื่อมั่นศรัทธาว่าสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าอนุมัติเป็นสิ่ง ที่ดีมีประโยชน์ส่วนสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าห้ามเป็นสิ่งที่มีพิษภัยและมีโทษ พระผู้เป็นเจ้าผู้สร้างมนุษย์ขึ้นมาทราบดีถึงสิ่งที่เป็นและเป็นโทษต่อ มนุษย์ พระองค์จึงอนุมัติสิ่งที่เป็นคุณและห้ามสิ่งที่เป็นโทษ

     ส่วนเหตุผลที่มนุษย์ค้นพบว่ามีข้อดีในสิ่งที่ศาสนาอนุมัติ และมีข้อเสียในสิ่งที่ศาสนาห้าม โดยพระผู้เป็นเจ้าไม่ได้แจ้งไว้และได้นำมาอ้างอิงนั้นเป็นเพียงส่วนประกอบ เท่านั้นไม่ใช่เป็นหลักสำคัญ เพราะเหตุผลที่มนุษย์ค้นพบอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ส่วนประกาศิตของพระผู้เป็น เจ้านั้นเป็นอมตะไม่เปลี่ยนแปลง

     ในเมื่ออิสลามเป็นระบอบในการดำเนินชีวิตของมุสลิมชีวิตของมุสลิมจึงผูกพัน อยู่กัลป์ศาสนาตั้งแต่เกิดจนตาย การกระทำทุกอย่างของมุสลิมต้องดำเนินอยู่ในกรอบที่ศาสนากำหนดในทุกกรณีทั้ง เรื่องความผูกพัน ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า มนุษย์กับมนุษย์ และระหว่างมนุษย์กับสัตว์ มุสลิมต้องมีความเมตตาสงสารสัตว์ การกักขังสัตว์โดยไม่ให้อาหารเป็นเหตุให้ตกนรก การกลั่นแกล้งรังแกสัตว์ จะต้องถูกนำไปใต่สวรต่อหน้าพระผู้เป็นเจ้า การเชือดสัตว์เป็นสิ่งที่ศาสนาอนุมัติให้กระทำได้ภายใต้กรอบที่เชือดเพื่อ เป็นอาหาร ไม่กระทำทรมานสัตว์ ต้องเชือดด้วยมีดที่คม ต้องให้สัตว์ล้มลงนอนอย่างดี ขณะเชือดต้องกล่าวนามของพระผู้เป็นเจ้า

ฮาลาลและฮารอมในชีวิตส่วนตัวของมุสลิม

เรื่องอาหารและเครื่องดื่ม

     ประชาชาติและเผ่าพันธุ์มนุษย์มีทัศนะที่แตกต่างกันในเรื่องอาหารและเครื่อง ดื่มว่าสิ่งใดเป็นสิ่งอนุมัติและสิ่งใดเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับพวกเขามาช้า นานแล้ว โดยเฉพาะเรื่องอาหารที่มาจากสัตว์

     สำหรับอาหารและเครื่องดื่มที่ได้มาจากพืชนั้น มนุษย์เราไม่มีทัศนะที่แตกต่างกันมากนัก อิสลามไม่ได้ห้ามอาหารที่ได้มาจากพืช ยกเว้นสิ่งที่เกิดจากการนำไปหมักจนกลางเป็นสุรา ไม่ว่าจะผลิตจากองุ่น อินทผลัม ข้าวบาร์เลย หรือวัตถุอื่นใดก็ตาม เมื่อกลายสภาพเป็นสุรา เช่นเดียวกับที่อิสลามห้ามสิ่งที่ทำให้มึนเมาและขาดสติ และที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น ยาเสพติดชนิดต่าง ๆ ส่วนอาหารที่ได้มาจากสัตว์นั้น ศาสนาและลัทธิต่าง ๆ มีทัศนะที่แตกต่างกันอย่างกว้างขวาง

การเชือด สัตว์และการบริโภคเนื้อในลัทธิต่าง ๆ

     มีผู้คนหลายพวก เช่น พวกพราหมณ์และนักปรัชญาบางกลุ่มที่ห้ามเชือดสัตว์และห้ามรับประทานเนื้อ สัตว์ และดำรงชีพด้วยการกินอาหารมังสวิรัติ คนกลุ่มนี้อ้างว่าการฆ่าสัตว์นั้นเป็นความทารุณโหดร้ายที่มนุษย์กระทำต่อ สัตว์ที่มีชีวิตเช่นเดียวกับมนุษย์ เมื่อสัตว์มีชีวิต มนุษย์ก็ไม่มีสิทธิที่ จะทำลายชีวิตของสัตว์

     อย่างไรก็ตาม เมื่อเราพิจารณาถึงสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่อัลเลาะห์สร้างขึ้นมา เราจะพบว่าสัตว์ทั้งหลายมิได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตัวของมันเอง ทั้งนี้เพราะมันไม่มีสติปัญญาหรือสิทธิ์ที่จะเลือก และเราจะพบอีกว่า สภาพทางธรรมชาติของมันก็อยู่ในลักษณะที่ถูกสร้างมาเพื่อรับใช้มนุษย์ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ว่ามนุษย์น่าจะได้รับประโยชน์จากเนื้อของมัน หลังจากที่มันถูกเชือด เช่นเดียวกับที่มนุษย์ได้รับผลประโยชน์จากการใช้งานมันขณะเมื่อมันมีชีวิต อยู่

     เราจะพบได้อีกเช่นเดียวกันว่าในการสร้างสรรค์ของอัลเลาะห์นั้นพระองค์ได้วาง กฎไว้ให้ สิ่งที่อยู่ตระกูลที่ต่ำกว่าต้องอุทิศตนแก่สิ่งที่อยู่ในตระกูลที่สูงกว่า ด้วยเหตุนี้พืชจึงถูกตัดไปเป็นอาหารสัตว์ และสัตว์จะถูกเชือดเพื่อเป็นอาหารของมนุษย์ และยิ่งไปกว่านั้นคน ๆ เดียวกันอาจต้องต่อสู้ และเสียสละชีวิตเพื่อคนจำนวนมาก

     และการที่มนุษย์ไม่ฆ่าสัตว์ก็ใช่ว่าสัตว์จะรอดพ้นจากความตายและการถูกทำลาย ไปได้ คือถ้ามันไม่ตกเป็นเหยื่อของสัตว์อื่นมันก็จะต้องตายเองอยู่ดี และมันอาจได้รับความเจ็บปวดยิ่งกว่าโดยคมมีดที่มาคร่าชีวิตของมันด้วยความ รวดเร็ว

     ในศาสนาของยิวและคริสต์ซึ่งรากฐานมาจากคัมภีร์ของพระผู้เป็นเจ้านั้น อัลเลาะห์ได้ห้ามพวกยิวกินสัตว์ทะเลมากมายกลายชนิด คัมภีร์กุรอานเองก็ได้เอ่ยถึงสิ่งที่อัลเลาะห์ได้ทรงห้ามแก่พวกคนยิว ทั้งนี้เพื่อเป็นการลงโทษพวกยิวในฐานที่ดื้อดึงและทำบาปไว้หลายอย่างเช่น อายะห์ที่ว่า

     “และสำหรับพวกยิว เราได้ห้ามสัตว์มีกีบที่ไม่แยกเป็นสองกีบทุกชนิด ส่วนวัวและแพะเราได้ห้ามแก่พวกเขาบริโภคไขของมัน เว้นแต่ที่ติดอยู่บนหลังของมันหรือตามลำไส้หรือแทรกอยู่ในกระดูก เช่นที่กล่าวนั้น เราได้ลงโทษพวกเขาเพราะการละเมิดของพวกเขาและแท้จริงเราเป็นผู้ที่สัตย์จริง ” (อัลอันอาม: 146)

ทัศนะของชาวอาหรับก่อนอิสลาม

     สำหรับชาวอาหรับในยุคก่อนอิสลามได้ห้ามสัตว์บางอย่างในฐานะที่เป็นสัตว์ สกปรกและบางอย่างก็ถูกถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่จะละเมิดไม่ได้ และเป็นสัตว์ที่พลีอุทิศให้แก่เทวรูปของตน แต่ในทางตรงกันข้าม ชาวอาหรับกลับอนุญาตอาหารที่ไม่บริสุทธิ์หลายอย่างเช่น เนื้อของสัตว์ที่ตายแล้ว และเลือด เป็นต้น

อิสลามอนุญาตสิ่ง ที่ดีมีเป็นประโยชน์

ขณะที่ศาสนาอิสลามมาปรากฏสภาพของ มนุษย์ก็ยังคนเป็นอยู่อย่างที่กล่าวในเรื่องของการบริโภคเนื้อสัตว์ระหว่าง พวกที่ถือว่าเนื้อสัตว์ทุกอย่างเป็นที่อนุมัติ ส่วนอีกพวกหนึ่งถือว่าเนื้อสัตว์ทุกชนิดเป็นสิ่งต้องห้าม ดังนั้นอัลเลาะห์จึงได้ชี้นำมนุษย์ชาติทั้งมวลว่า

     “มนุษย์ชาติทั้งหลายเอ๋ย จงบริโภคสิ่งอนุมัติจากที่มีอยู่ในแผ่นดิน และอย่าปฏิบัติตามรอยเท้าของมารร้ายซัยตอน เพราะแท้จริงมันเป็นศัตรูของพวกเจ้าอย่างชัดเจน “(อัลบะกอเราะห์ :168 )

     อัลเลาะห์เรียกพวกเขาในฐานะ “มนุษยชาติ” ให้บริโภคอาหารที่ดีที่พระองค์ได้จัดทรงจัดหาไว้ให้พวกเขาบนโลกอันเปรียบได้ เสมือนโต๊ะอาหารขนาดใหญ่ และห้ามพวกเขาไม่ให้เจริญรอยตามแนวทางของมารซัยตอนที่ล่อลวงผู้คนให้ห้าม ปรามสิ่งดีมีประโยชน์ และมันจะชักนำมนุษย์ไปสู่กับดักแหล่งการทำลายตนเอง หลังจากนั้นอัลเลาะห์ได้แนะนำบรรดาผู้มีศรัทธา โดยเฉพาะว่า

      “โอ้บรรดาผู้มีศรัทธาทั้งหลาย จงบริโภคสิ่งที่ดีทั้งหลาย ที่เราได้ประทานให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกท่าน และพวกท่านจงขอบคุณอัลเลาะห์ถ้าหากพวกท่านเคารพภักดีแต่พระองค์เท่านั้น ที่จริงพระองค์ได้ทรงห้ามพวกท่านเฉพาะแต่เพียง ซากสัตว์ เลือด เนื้อของสุกร สัตว์ที่ถูกเชือดบูชาโดยเอ่ยนามอื่นนอกจาก อัลเลาะห์ ดังนั้นผู้ใดที่ตกอยู่ในภาวะคับขัน โดยไม่มีเจตนาขัดขืนและไม่ใช่เป็นการละเมิดก็ไม่มีบาปตกแก่พวกเขา แท้จริงอัลเลาะห์เป็นผู้ทรงอภัยยิ่ง ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (อัลบะกอเราะห์ : 172-173 )

     คำประกาศนี้มุ่งเฉพาะผู้มีศรัทธาเท่านั้น อัลเลาะห์บัญชาใช้พวกเขาให้บริโภคสิ่งที่ดีที่พระองค์ได้ทรงจัดไว้เป็น ปัจจัยยังชีพพวกเขา และให้พวกเขามีสำนึกในความกรุณาของพระองค์ จากนั้นพระองค์ได้ทรงอธิบายต่อไปว่า พระองค์ไม่ได้ห้ามพวกเขาบริโภค ยกเว้นอาหารสี่อย่างดังที่ได้กล่าวไว้ในโองการข้างต้น และอาหารที่มีระบุไว้ในโองการอื่น ๆ และโองการที่จัดเจนที่สุดที่พูดถึงอาหารสี่อย่างเป็นการเฉพาะคือ คำดำรัสของอัลเลาะห์ ตาอาลาที่ว่า

     “ จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ฉันไม่พบว่ามีสิ่งใดที่ถูกเผยแก่ฉันเป็นสิ่งต้องห้ามแก่ผู้ที่จะบริโภคมัน เว้นแต่สัตว์ที่ตายเอง หรือเลือดที่ไหลออกมา หรือเนื้อของสุกร เพราะแท้จริงมันเป็นสิ่งสกปรก หรือสัตว์ที่เป็นการฝ่าฝืนที่เปล่งนามอื่นไปจากอัลเลาะห์ขณะเชือด ดังนั้นผู้ใดตกอยู่ในภาวะคับขัน โดยไม่ได้มีเจตนาขัดขืนและไม่ใช่เป็นการละเมิด เพราะแท้จริงองค์อภิบาลของท่านเป็นผู้ทรงอภัยยิ่ง ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (อัลอันอาม : 145)

     ในซูเราะห์ อัลมาอิดะห์ อัลกุรอานได้กล่าวถึงสัตว์ต้องห้ามเหล่านี้ พร้อมรายละเอียดมากยิ่งขึ้นว่า

     “เป็นที่ต้องห้ามเหนือพวกท่าน คือซากสัตว์ เลือด เนื้อสุกร สัตว์ที่ถูกเชือดบูชาโดยเอ่ยนามอื่นจากอัลเลาะห์ สัตว์ที่ถูกรัดคอตาย สัตว์ที่ถูกตีจนตาย สัตว์ที่ตกมาจากที่สูงตาย สัตว์ที่ถูกขวิดตาย สัตว์ที่ถูกสัตว์ดุร้ายกิน เว้นแต่ที่สูเจ้าเชือดทัน และสัตว์ที่ถูกเชือดพลีบนแทนหิน บูชา...” (อัลมาอิดะห์ : 3)

     อาหารที่ต้องห้ามจึงรวมอยู่ในประเภทใหญ่ ๆ สี่ประเภท โดยสามารถที่จะจำแนกรายละเอียดออกได้เป็นสิบประเภทดังนี้

ห้าม รับประทานซากสัตว์และเหตุผลของการห้าม

1. สิ่งแรกของอาหารต้องห้ามที่กุรอานกล่าวถึงเกี่ยวก็คือเนื้อของ “ซากสัตว์” นั่นคือสัตว์และ สัตว์ปีกที่ตายเองโดยไม่ได้ถูกฆ่าหรือถูกล่าโดยมนุษย์ เหตุผลที่ห้ามก็คือ - การกินเนื้อสัตว์ที่ตายเองเป็นสิ่งที่น่าขยะแขยงต่อความรู้สึกของคนทั่วไป - อัลเลาะห์มิทรงต้องการให้มนุษย์กินสิ่งที่เขามิดได้ตั้งใจหรือคิดที่จะกิน ดังในกรณีสัตว์ที่ตายเอง - ถ้าหากสัตว์ตายเอง มันก็อาจเป็นไปได้ว่ามันตายเพราะเหตุปัจจุบันทันด่วนหรือตายเพราะโรคระบาด ดังนั้นการกินเนื้อของมันจึงอาจเป็นอันตรายได้ - เป็นความเมตตาอย่างหนึ่งของอัลเลาะห์ที่จัดหาแหล่งอาหารไว้ให้แก่สัตว์และนก บาง ประเภทที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มคล้ายกับมนุษย์ ความจริงอันนี้จะเห็นได้จากการที่ซากสัตว์ต่าง ๆ ที่ตายอยู่กลางแจ้งจะถูกสัตว์และนกหลายชนิดเข้ามาจิกกิน

การห้ามกินเลือด

2. ข้อห้ามประการที่สองก็คือเลือด

     มีผู้ถามอิบนุ อับบาส เกี่ยวกับม้าม ท่านได้ตอบว่า “พวกท่านจงกินมันเถิด” พวกเขาได้กล่าวว่า “แต่มันเป็นเลือด” ท่านจึงตอบว่า “เพียงแต่เลือดที่ไหลเท่านั้นที่ถูกห้ามสำหรับพวกท่าน” เหตุผลสำหรับการห้ามกินเลือดก็คือ มันเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจต่อความรู้สึกของมนุษย์ และมันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพด้วยเช่นกัน

เนื้อหมู

3. อาหารต้องห้ามประเภทที่สามก็คือ เนื้อหมู

     เนื่องจากเนื้อหมูเป็นสัตว์ที่ชอบของสกปรกและสิ่งปฏิกูล ยิ่งไปกว่านั้นการค้นคว้าทางการแพทย์ได้แสดงให้เราเห็นว่าการกินเนื้อหมู นั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพในทุกสภาพอากาศ โดยเฉพาะในเขตอากาศร้อน นอกจากนี้แล้วการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ก็ได้แสดงให้เห็นว่าเนื้อหมูนั้นมี เชื้อโรคชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคสมองอักเสบ และยังมีพยาธิที่มีชื่อว่า ตัวจี๊ด (ทริไคนา) อยู่ด้วย

สัตว์ทีถูกพลีให้แก่ผู้ อื่นนอกจากอัลเลาะห์

4. อาหารประเภทที่สี่คือ สัตว์ที่ถูกพลีให้แก่สิ่งอื่นจากอัลเลาะห์

     ซึ่งหมายถึงสัตว์ที่ถูกเชือดโดยผู้เชือดกล่าวนามอื่นจากนามอัลเลาะห์ เหตุผลที่ห้ามสำหรับกรณีนี้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความศรัทธาทั้งสิ้น เพื่อทำให้การปฏิบัติศาสนกิจบริสุทธิ์เพื่ออัลเลาะห์ และเพื่อต่อสู้กับการตั้งภาคีทุกรูปแบบ

ประเภทของซากสัตว์

     ที่กล่าวมานั้นเป็นอาหารเนื้อสัตว์ต้องห้ามสี่ประเภทใหญ่ ๆ นอกจากนี้กุรอานยังให้รายละเอียดเกี่ยวกับ “ซากสัตว์” อีก 5 ประเภทดังนี้

5. ที่ถูกรัดคอตาย หมายถึงสัตว์ที่ถูกรัดคอตายด้วยเชือก หรือด้วยวิธีการอย่างใดที่ทำให้หายใจไม่ออก

6. ที่ถูกตีจนตาย หมายถึงสัตว์ที่ถูกตีด้วยของหนักหรือวัตถุใด ๆ จนตาย

7. ที่ตกมาตาย หมายถึงสัตว์ที่ตายเพราะตกจากที่สูงหรือตกลงไปในหุบเขา

8. ที่ถูกขวิดตาย หมายถึงสัตว์ที่ถูกสัตว์อื่นขวิดจนตาย

9. ที่ถูกสัตว์ป่ากิน หมายถึงสัตว์ที่ถูกสัตว์ป่ากัดและตายด้วยเหตุนั้น

เหตุผล ของการห้ามอาหารเหล่านี้

     อัลเลาะห์ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงปรีชาญาณ ต้องการที่จะสอนมนุษย์ให้มีความเมตตากรุณาต่อสัตว์ และป้องกันมิให้มันได้รับอันตราย มนุษย์จะต้องไม่ปล่อยปละละเลยจนสัตว์ถูกรัดคอ หรือผลัดตกมาจากที่สูง หรือต่อสู้กันจนถูกขวิด และจะต้องไม่ทรมานสัตว์ด้วยการเฆี่ยนตีอย่างรุนแรงเหมือนที่พวกรับจ้าง เลี้ยวสัตว์ทำ หรือนำสัตว์มาต่อสู้กันจนตัวหนึ่งทำให้อีกตัวหนึ่งได้รับบาดเจ็บ หรือขวิดอีกตัวหนึ่งจนตาย

     ส่วนเหตุผลที่ห้ามกินเนื้อสัตว์ที่ถูกสัตว์ป่ากัดกินนั้น เป็นการรักษาศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ไว้ คือมุสลิมจะต้องไม่ลดตัวลงไปกินซากของสัตว์ที่ถูกสัตว์ป่าจับมาเป็นเหยื่อ

สัตว์ ที่ถูกเชือดบูชา

10. อาหารเนื้อสัตว์ต้องห้ามประเภทที่สิบ ก็คือสัตว์ที่ถูกเชือดบูชาเทวรูปต่างๆ ในยุคก่อนอิสลามนั้นเบื้องหน้าของเทวรูปจะมีแท่นบูชาตั้งอยู่ และพวกบูชาเทวรูปจะเชือดสัตว์บนแท่นหรือใกล้กับแท่นนี้เพื่อทำให้ตนได้ใกล้ ชิดกับเทพเจ้าของพวกเขา

ปลาและตั๊กแตนไม่อยู่ในจำพวกซากสัตว์ ที่ศาสนาห้าม

     อิสลามได้ยกเว้นปลาและปลาวาฬ และสัตว์ทะเลอื่น ๆ ออกจากประเภท “ซากสัตว์” ที่ศาสนาห้าม. ขณะเมื่อท่านนบีมุฮัมมัด ซ.ล. ได้ถูกถามเกี่ยวกับทะเล ท่านได้ตอบว่า : “น้ำทะเลสะอาด และสัตว์ทะเลที่ตายนั้นฮาลาล” (เป็นที่อนุมัติ)

     อัลเลาะห์ทรงกล่าวว่า : “การล่าสัตว์ทะเลเป็นที่อนุมัติแก่พวกท่านและอาหารของมัน “ (อัลมาอิดะห์ : 96)

     ท่านอุมัรได้อธิบายคำว่า “การล่าสัตว์ทะเล” ในที่นี้หมายถึงสัตว์ทะเลทุกชนิดที่ถูกล่าว และ คำว่า “อาหารของมัน” หมายถึงสิ่งที่ทะเลคายออกมา ส่วนอิบนุ อับบาส กล่าวว่า “อาหารของมัน” ก็คือสัตว์ทะเลที่ตาย สัตว์จำพวกตั๊กแตนก็ได้รับการยกเว้นไม่เข้าอยู่ในอาหารประเภท “ซากสัตว์” ด้วย ท่านศาสดาได้อนุญาตให้กินสัตว์จำพวกตั๊กแตนที่ตายแล้ว

     นอกจากเนื้อสัตว์ต้องห้ามที่กล่าวมาแล้วศาสนาอิสลามยังห้ามสุรา สิ่งที่ทำให้มึนเมาและทำให้ขาดสติทุกประเภท ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม และห้ามนำมาเป็นส่วนผสมในอาหาร

     ในการปรุงอาหารวัตถุดิบที่จะนำมาปรุงอาหารจะต้องเป็นสิ่งที่สะอาดตามบัญญัติ ศาสนาจะต้องผ่านการล้างเอาสิ่งที่เป็นนะยิส (สิ่งที่ศาสนาถือว่าเป็นสิ่งสกปรก) ออกไป และผ่านกระบวนการปรุงที่สะอาดและที่ถูกต้อง ถ้าหากเป็นเนื้อสัตว์ต้องเป็นที่เชือดถูกต้องตามบัญญัติศาสนาและต้องผ่านการ ล้างอย่างถูกวิธีตามบัญญัติศาสนา

     เนื้อหา : จากหนังสือฮาลาลและฮารอมในอิสลาม ของเชคยูซุฟ อัลกอรดอวีย์

     ภาพประกอบ : จากหนังสือสิ่งที่ต้องห้าม (ฮารอม) ในอิสลาม โดยอับดุลเลาะห์ ละออแม

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด