ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ไทยร่วม 40 ประเทศเอเชียแปซิฟิก วางระบบติดตามความปลอดภัยด้านอาหารมาตรฐานเดียว

ไทยร่วม 40 ประเทศเอเชียแปซิฟิก วางระบบติดตามความปลอดภัยด้านอาหารมาตรฐานเดียว HealthServ.net
ไทยร่วม 40 ประเทศเอเชียแปซิฟิก วางระบบติดตามความปลอดภัยด้านอาหารมาตรฐานเดียว ThumbMobile HealthServ.net

แต่ละปีทั่วโลกป่วยด้วยโรคติดเชื้อที่มากับอาหารถึง 600 ล้านคน เสียชีวิต 4.2 แสนคน

   

 
           วันนี้ (17 พฤศจิกายน 2563) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุมความปลอดภัยด้านอาหารระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Regional Food Safety Conference for Asia and the Pacific) ผ่านทางวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ในระบบ Zoom โดยมีนายจอง จิน คิม (Jong Jin Kim ) ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เข้าร่วมการประชุมทางออนไลน์ด้วย
 
 
          นายแพทย์เกียรติภูมิ กล่าวว่า จากข้อมูลขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อที่มากับอาหารประมาณ 600 ล้านคนต่อปี เสียชีวิตประมาณ 4.2 แสนคนต่อปี เฉพาะภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีผู้ป่วยถึง 275 ล้านคนต่อปี ทั้งนี้ อาหารถือเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต จึงต้องมีความปลอดภัยและมีคุณภาพ หากอาหารไม่ปลอดภัยจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน เศรษฐกิจ การค้า และการท่องเที่ยว ยิ่งช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด 19 อาหารปลอดภัยจึงยิ่งมีความสำคัญกว่าที่เคยเป็นมา เนื่องจากช่วยดูแลสุขภาพประชาชนและสร้างความมั่นใจการท่องเที่ยว
 
 
           นายแพทย์เกียรติภูมิกล่าวต่อว่า การประชุมความปลอดภัยด้านอาหารระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เดิมมีกำหนดจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานครในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา แต่จากสถานการณ์โรคโควิด 19 ทำให้ต้องเลื่อนการจัดงานออกไปและกำหนดจัดการประชุมรูปแบบเสมือนแทน โดยการประชุมครั้งนี้เป็นการติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 2 คือ บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการสำหรับทุกคนในทุกวัย ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งความปลอดภัยของอาหารจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขตลอดห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่การผลิตจนถึงการบริโภค
 
 
          "การประชุมในครั้งนี้มีการหารือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานความปลอดภัยด้านอาหารระหว่างประเทศระดับสูง และร่วมกันวางระบบเฝ้าระวังและติดตามความปลอดภัยของอาหาร ทั้งการนำเข้าและส่งออกให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิกกว่า 40 ประเทศ จากเดิมที่แต่ละประเทศมีระบบที่แตกต่างกัน หากระบบนี้สำเร็จจะช่วยให้ประเทศไทยสามารถตรวจสอบย้อนหลังอาหารที่นำเข้าและส่งออกได้ตลอดห่วงโซ่อาหาร ช่วยสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหาร" นายแพทย์เกียรติภูมิกล่าว
 
 
สำนักสารนิเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
17 พฤศจิกายน 2563
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด