ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon cancer) และมะเร็งลำไส้ตรง (rectum)

มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon cancer) และมะเร็งลำไส้ตรง (rectum) HealthServ.net

มะเร็งลำไส้ โดยทั่วไปจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ (colon) และลำไส้ตรง (rectum) มากกว่าลำไส้เล็ก

มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon cancer) และมะเร็งลำไส้ตรง (rectum) ThumbMobile HealthServ.net
มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon cancer) และมะเร็งลำไส้ตรง (rectum) HealthServ
 
 
สาเหตุมีหลาย factor เช่น
 
 
1.กรรมพันธ์,ยีน มีประวัติคนเป็นในครอบครัว 
 
2.โรคของลำไส้บางชนิด เช่น ติ่งเนื้อในลำไส้ (FAP=familial adenomatous polyposis coli)  พวกนี้โอกาศเป็นมะเร็ง 100% ฉะนั้นมักต้องตัดลำไส้ทันทีที่ทราบว่าเป็นลำไส้อักเสบเรื้อรัง(ulcerative colitis) 
 
3.ในเรื่องของอาหารการกินก็มีส่วน คือพบว่าการกินอาหารไขมันสูง,กากน้อย จะทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งสูงขึ้น (High fat,low fiber) ทำให้โรคนี้มักเป็นกันมากในแถบ europe และ USA ซึ่งทานแต่เนื้อไม่ค่อยทานผัก (พวก fast food) 
 
4.เป็นเอง ไม่ทราบสาเหตุ

อาการ ขึ้นกับตำแหน่งที่เป็น คือ
  • ลำไส้ใหญ่ฝั่งขวา  อาจมาโรงพยาบาลด้วยอาการปวดท้อง ถ่ายเป็นมูกเลือดประจำ อ่อนเพลีย  ซีด  น้ำหนักลดจากการเสียเลือดเรื้อรัง 
  • ลำไส้ใหญ่ฝั่งซ้าย   อาจมาด้วย ปวดท้อง ท้องอืดประจำ อาจมีถ่ายเป็นมูกเลือดได้ แต่พวกนี้มักมาด้วย 
  • ลำไส้อุดตันบ่อยครับ คือท้องอืดไม่ถ่าย ไม่ผายลม ต้องรีบ ผ่าตัดเลยครับ อาจมีอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซีด ได้เหมือนกัน 
  • ลำไส้ตรง   อาจมีอาการท้องเสีย สลับท้องผูกประจำ, ถ่ายเป็นมูกเลือด, ซีดลง, ถ่ายไม่สุด, ถ่ายลำเล็กลง, ถ่ายเป็นเม็ดกระสุนออกมา จนถึงอุดตัน จนถ่ายไม่ออก  ท้องอืด 
 
 
สรุปอาการที่เด่นๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นตรงไหน คือ อ่อนเพลีย ซีด ปวดท้อง แน่นท้อง รวมทั้งถ่ายเป็นมูกเลือดครับ
 
 
การตรวจวินิจฉัย   

นอกจากตรวจร่างกายแล้ว ก็อาจใช้การสวนแป้งและส่องกล้อง เพื่อตรวจให้ละเอียด
 
 
จากสาเหตุดังกล่าวการป้องกันเท่าที่ทำได้ คือ
 
  • ถ้าเป็นกลุ่มเสี่ยง คงต้องพบแพทย์สม่ำเสมอ อาจต้องตรวจอุจจาระ ส่องกล้องดูลำไส้ ประจำ เช่นปีละครั้ง เมื่ออายุมากกว่า 35 ปี
  • ถ้าไม่เป็นกลุ่มเสี่ยง ก็กินผักมากๆ อาหารมันๆน้อย ถ่ายอาจตรวจอุจจาระ (stool occult blood) ปีละครั้ง
 
เริ่มตอนอายุ 40 ปี แค่นี้ก็พอครับ 
 
โดย  นพ.ธเนศ  พัวพรพงษ์   ศัลยแพทย์
 
  
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด