ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ประโยชน์ของการฝังเข็มในการรักษาและบรรเทาอาการของโรค

ประโยชน์ของการฝังเข็มในการรักษาและบรรเทาอาการของโรค HealthServ.net
ประโยชน์ของการฝังเข็มในการรักษาและบรรเทาอาการของโรค ThumbMobile HealthServ.net

การฝังเข็ม คือ การที่แพทย์ใช้เข็มเล็กขนาด 0.18 -0.30 มม. ปักลงในจุดต่างๆของร่างกาย แล้วกระตุ้นโดยใช้นิ้วมือหมุนปั่น หรือใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้ากระตุ้นโวลต์ต่ำใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที แล้วจึงถอนเข็มออกมา




การฝังเข็ม มีฤทธิ์ในการรักษาโรค 3 ประการ คือ
 
1. แก้ไขการไหลเวียนของเลือดลมปราณที่ติดขัด
2. ปรับอวัยวะต่างๆในร่างการให้สมดุล
3. กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย  เพื่อกำจัดเหตุปัจจัยที่เป็นอันตราย  ออกไปจากร่างกายและยับยั้งความเจ็บป่วย  ทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งมีอาการคลายตัว
 
ประโยชน์ของการฝังเข็ม  คือ การรักษาและบรรเทาอาการของโรค
 
โรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการฝังเข็ม องค์การอนามัยโลกระบุว่า  มีโรคหลายชนิดหลานกรณี  ที่สามารถทำการรักษาได้ทุกเพศทุกวัย  โดยโรคและอาการที่พบบ่อยๆมีดังนี้
 
- อัมพาต  อัมพฤกษ์  แขนขาอ่อนแรง
- ปวดศีรษะ
- นอนไม่หลับ  เครียด  วิตกกังวล
- ท้องผูก
- โรคบริเวณใบหน้า  เช่น อัมพาตใบหน้าครึ่งซีก  หน้ากระตุก  ขากรรไกรค้าง  อ้าปากไม่ขึ้น
- โรคกล้ามเนื้อเอ็น  ข้อกระดูกและปลายประสาทชา ปวดข้อรูมาตอยด์  ชาปลายมือและปลายเท้า ตะคริว ปวดหลัง  ปวดเข่า  ข้อเข่าเสื่อม  ข้อเข่าพลิก
- อาการปวดจากมะเร็ง  เนื้องอก  ปวดแผลผ่าตัด
- แพ้ท้องมาก  อาเจียน  ทานอาหารไม่ได้
- โรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อน  ปลายเท้าคล้ำดำ  ชาปลายมือและปลายเท้า
- ความดันโลหิตสูง  ไขมันในเลือดสูง
- ลดน้ำหนัก  เช่น  ลดความอ้วนหลังคลอด  ลดไขมันเฉพาะที่  เช่น ต้นขา น่อง  ต้นแขน เป็นต้น
- เพิ่มน้ำหนักในคนผอม  ผู้ป่วยเรื้อรัง
- บำรุงสุขภาพ วัยเรียน วัยทำงาน และผู้สูงอายุ
- โรคผู้สูงอายุ สั่นกระตุก พาร์กินสัน หลงลืม โรคอัลไซเมอร์
- โรคสูตินรีเวช   ปวดประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ
- วัยทอง
- เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
- โรคภูมิแพ้
- เวชสำอางผิวหน้า เช่น ลบรอยตีนกา รอยเหี่ยวย่นใต้คาง ฝ้า สิง กระ
- ผมร่วง เส้นเลือดขอด
- เลิกยาเสพติด เช่น สุรา บุหรี่ ยาเสพติดอื่น ๆ 
- โรคระบบทางเดินอาหาร และลำไส้ เช่น ปวดท้องเรื้อรัง ริดสีดวงทวาร
- โรคอื่น ๆ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
 
 
ข้อควรระวังในการฝังเข็ม
ไม่ควรทำการฝังเข็มในผู้ป่วยต่อไปนี้
1.  สตรีมีครรภ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยใกล้คลอด    จะไม่สามารถทนนอนหรือนั่งเป็นเวลานาน ๆ ได้
2.  ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด  เช่น โรคฮีโมฟิลเลีย
3.  โรคมะเร็ง (ที่ยังไม่ได้รับการรักษา)
4.  โรคที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น ไส้ติ่งอักเสบ ฯลฯ
5.  ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีเครื่องกระตุ้นการเต้นของหัวใจ (Pacemaker) ห้ามรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นเข็มด้วยไฟฟ้า
6.  ผู้ป่วยที่ตื่นเต้นหวาดกลัวต่อการรักษามากเกินไป ทั้งที่ได้พยายามอย่างเต็มที่แล้วก็ยังควบคุมจิตใจตนเองไม่ได้
7.  ผู้ป่วยที่เหน็ดเหนื่อยจากการออกกำลังกายอย่างหนัก
8.  ทารกเด็กเล็ก / ผู้ป่วยทางจิตเวช / โรคสมองเสื่อม ที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษาได้
 
 
ทางเลือกอื่น ๆ กรณีที่ไม่สามารถรักษาด้วยการฝังเข็ม
แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการ ครอบแก้ว (cupping) ซึ่งจะใช้รักษาคนไข้ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อหรือกล้ามเนื้ออักเสบ ในทางศาสตร์จีน เชื่อว่าเลือดบริเวณนั้นไหลเวียนไม่ดี
 
 
การครอบแก้ว คือ การนำแก้วสุญญากาศครอบบริเวณที่มีอาการปวด เพื่อดึงเลือดมาหล่อเลี้ยงบริเวณ-ที่ปวดจะช่วยลดอาการที่ปวดได้มากขึ้น ใช้เวลาประมาณ  นาที ตามคำสั่งแพทย์ หรือแพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการ รมยา (Moxa) ในรายที่มีอาการอักเสบเรื้อรัง เช่น เอ็นข้อเท้าอักเสบ ข้อเข่าอักเสบ 
 
 
การปฏิบัติตัวสำหรับผู้มารักษาด้วยการฝังเข็ม
 
การปฏิบัติตัวก่อนมาฝังเข็ม
1.  เตรียมใจไปรักษา การฝังเข็มเป็นการรักษาที่เป็นลักษณะที่เป็นหัตถการ ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วย ผู้ป่วยที่มารักษาฝังเข็ม จึงควรมารักษาด้วยความมั่นใจต่อการรักษา มิใช่มาด้วยความกังวล หวาดวิตก
2.  รับประทานอาหารให้พอเหมาะ ควรรับประทานอาหารก่อนประมาณ 1-2 ชม. และไม่ควรรับประทานอาหารจนอิ่มมากจนเกินไป
3.  สวมใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสม ควรสวมเสื้อผ้าที่เป็นชุดแยกส่วน ผู้ป่วยที่เป็นโรคอัมพาต ควรสวมเสื้อผ้าที่สามารถพับแขนได้ และกางเกงขาสั้น จะทำให้แพทย์ปักเข็มได้สะดวกมากขึ้น
4.  ทำความสะอาดร่างกายให้เรียบร้อย เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อโรคให้มากที่สุด เช่น การอาบน้ำ สระผมก่อนมารักษา
 
การปฏิบัติตัวขณะฝังเข็ม
1. สงบกายและใจในขณะรักษา  ขณะที่มีเข็มปักคาร่างกายนั้น ควรนั่งหรือนอนนิ่ง  ไม่ควรขยับเคลื่อนไหวส่วนของร่างกายที่มีเข็มปักคาอยู่  ยกเว้นการขยับตัวเล็กๆน้อยๆ  ยังสามารถทำได้  แต่ส่วนของร่างกายอื่นๆที่ไม่มีเข็มปักอยู่นั้น  สามารถขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวได้ตามปกติ
2. ควรอยู่ในสภาพที่สงบ  ผ่อนคลาย  อาจหลับตาหรือหายใจเข้าออกช้าๆ  ให้เป็นจังหวะสม่ำเสมอ  เพื่อช่วยทำให้จิตใจสงบสบาย
 
หลังจากการฝังเข็มสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ  ไม่มีข้อห้ามใดๆ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด