ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

การรักษารากฟัน (Root Canal Treatment)

การรักษารากฟัน (Root Canal Treatment) HealthServ.net
การรักษารากฟัน (Root Canal Treatment) ThumbMobile HealthServ.net

การรักษารากฟัน คือ การนำเอาเส้นเลือด และเส้นประสาทที่มาเลี้ยง ตัวฟันออกไป แล้วแทนที่ด้วยวัสดุบางอย่าง มักจะทำการรักษารากฟัน เมื่อฟันผุหรือหักทะลุโพรงประสาทฟัน ซึ่งไม่สามารถ ทำการอุดฟันได้ตามปกติ หรือ ฟันที่รับอันตรายจากแรงกระแทก ทำให้เส้นเลือดที่มาเลี้ยงตัวฟันขาดหรือ เสียไป ซึ่งอาการที่ผู้ป่วยมักจะมาหา คือ ปวดฟัน, ฟันมีสีคล้ำลงกว่าเดิม

การรักษารากฟัน  (Root Canal Treatment)
การรักษารากฟัน คือ การนำเอาเส้นเลือด และเส้นประสาทที่มาเลี้ยง ตัวฟันออกไป แล้วแทนที่ด้วยวัสดุบางอย่าง มักจะทำการรักษารากฟัน  เมื่อฟันผุหรือหักทะลุโพรงประสาทฟัน  ซึ่งไม่สามารถทำการอุดฟันได้ตามปกติ หรือ ฟันที่รับอันตรายจากแรงกระแทก ทำให้เส้นเลือดที่มาเลี้ยงตัวฟันขาดหรือเสียไป ซึ่งอาการที่ผู้ป่วยมักจะมาหา คือ ปวดฟัน, ฟันมีสีคล้ำลงกว่าเดิม 
 
 
การรักษารากฟัน ต้องมารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และมักใช้เวลาในการรักษามากกว่า 1 ครั้ง
 
ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจให้ทันตแพทย์รักษารากฟัน ผู้ป่วยต้องแน่ใจว่ามีเวลา เพียงพอที่จะมารับการรักษา  โดยปกติจะใช้เวลารักษาประมาณ 2-4 ครั้ง  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของฟันที่จะรับการรักษา
 
อนึ่ง การรักษารากฟัน เป็นเพียงการที่จะพยายามเก็บฟันไว้ให้อยู่ในช่องปาก ได้นานที่สุด แทนที่จะต้องถอนออกไป ดังนั้น หลังจากการรับการรักษารากฟัน  โดยสมบูรณ์แล้ว ฟันซี่นั้น อาจจะอยู่ได้อีก 1 ปี, 2 ปี, 5 ปี หรือตลอดชีวิตก็ได้  ฟันที่ได้รับการรักษารากฟันแล้ว จะเรียกว่าฟันตาย (non-vital tooth)  โดยจะมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นที่เห็นได้ชัด คือ เนื้อฟันจะเปราะขึ้น แตกหัก  ได้ง่ายขึ้น ฟันเปลี่ยนเป็นสีคล้ำลงกว่าเดิม 

ดังนั้น ทันตแพทย์จึงแนะนำให้ ทำเดือยฟันร่วมกับครอบฟัน (post & core) เพื่อให้ฟันนั้น มีความแข็งแรง และสวยงามดังเดิม
 
โดย ทพ. ณพงษ์  พัวพรพงษ์ 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด