ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นกับเด็กในปัจจุบัน

โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นกับเด็กในปัจจุบัน สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ปรารถนา คือ อยากให้ลูกเป็นเด็กที่ฉลาด เรียนหนังสือเก่ง ดังนั้นพ่อแม่ยุคใหม่ส่วนใหญ่จึงมักให้ความสำคัญเรื่องพัฒนาการด้านสติปัญญาและความฉลาด จนบางครั้งอาจทำให้ละเลยการดูแลสุขภาพของลูกน้อยได้

โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นกับเด็กในปัจจุบัน

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ปรารถนา คือ อยากให้ลูกเป็นเด็กที่ฉลาด เรียนหนังสือเก่ง  ดังนั้นพ่อแม่ยุคใหม่ส่วนใหญ่จึงมักให้ความสำคัญเรื่องพัฒนาการด้านสติปัญญาและความฉลาด จนบางครั้งอาจทำให้ละเลยการดูแลสุขภาพของลูกน้อยได้  ในวัยเด็กมักเจ็บป่วยด้วยโรคนานาชนิด เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายยังทำงานไม่สมบูรณ์เหมือนในผู้ใหญ่   การไปโรงเรียนหรือสถานรับเลี้ยงเด็กตั้งแต่อายุยังน้อยยิ่งทำให้เด็กเหล่านี้เจ็บป่วยได้ง่ายและบางครั้งเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อต่างๆ เช่น โรคมือเท้าปาก  ยิ่งสร้างความกังวลใจให้แก่พ่อแม่ที่มีลูกอยู่ในช่วงวัยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ  เพราะโรงเรียนก็ถือเป็นแหล่งรวมโรคภัยไข้เจ็บด้วย แม้บางครั้งจะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ก็ส่งผลต่อสุขภาพและการเติบโตของเด็กด้วยปัจจุบันโรคภัยไข้เจ็บในเด็กยังคงทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จากสถิติพบการเสียชีวิตของเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบทั่วโลก กว่าครึ่งของจำนวนเด็กทั้งหมดมีสาเหตุการตายมาจากโรคติดเชื้อ อาทิ โรคปอดบวม โรคท้องร่วง ฯลฯ ซึ่งถือว่าเป็นภัยร้ายที่คุกคามเด็กเล็กทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กประเทศที่กำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและแอฟริกาหากพ่อแม่ไม่ดูแลเอาใจใส่ อาจส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้ 
 
ดังนั้นหลักการเลี้ยงดูลูกน้อย 7 ข้อนี้ จะช่วยให้ลูกน้อยแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยบ่อยๆ ช่วยให้เด็กๆ ไปโรงเรียนได้อย่างสนุกสนาน และปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้
 
  1. สร้างภูมิคุ้มกันเบื้องต้นให้ลูกตั้งแต่แรกคลอดด้วยการให้กินนมแม่ โดยให้ได้นานที่สุดเท่าที่คุณทำได้ (อย่างน้อย6 เดือน) ส่วนประกอบของน้ำนมแม่ โดยเฉพาะในช่วง 2สัปดาห์แรก จะมีน้ำนมเข้มข้นสีเหลืองๆที่เรียกว่า "โคลอสตรุม" ซึ่งประกอบด้วยสารอาหารที่ครบถ้วนและยังมีแอนติบอดีซึ่งเป็นภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกเล็กนั้นเจ็บป่วยได้ง่าย  แม้นมโคลอสตรุมจะหมดไปแต่ในน้ำนมแม่ก็ยังมีสารอาหารครบถ้วน เมื่อเด็กโตขึ้นในมื้อหนึ่ง ๆ ควรมีอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมันเกลือแร่ วิตามิน และน้ำอย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายนอกจากนี้ยังต้องดูถึงความสะอาดปราศจากเชื้อและปลอดสารพิษอีกด้วย
  2. เลิกสูบบุหรี่ไม่ควรมีควันบุหรี่ในบริเวณที่ลูกอยู่ ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อหรือคุณแม่หรือคนใกล้ชิด เพราะควันบุหรี่จะก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมและปอดของลูกได้มากเท่าๆกับของผู้ที่สูบ ซึ่งทำให้ลูกมีโอกาสเกิดโรคทางเดินหายใจต่างๆได้ง่าย เช่นปอดบวม หลอดลมอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ
  3. สร้างสุขอนามัยที่ดีด้วยการล้างมือให้สะอาดทั้งก่อนและหลังการรับประทานอาหาร หลังการสั่งน้ำมูก หรือการเล่นกับสัตว์เลี้ยง หรือออกไปเล่นนอกบ้านปิดปากและจมูกเวลาไอหรือจามสอนลูกให้ไม่เอามือเข้าปาก หรืออมสิ่งของต่างๆที่ไม่สะอาด การดูแลสุขภาพของช่องปากด้วยการแปรงฟันให้สะอาดถืออีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม
  4. พยายามออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวกหรือมีคนหมู่มาก
  5. ให้เด็กพักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ และทำร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอเป็นการซ่อมบำรุงร่างกายและทำให้การทำงานในระบบต่างๆ ของร่างกายได้เตรียมตัวสะสมพลังในช่วงนอน เพื่อจะออกมารับมือกับสิ่งต่างๆต่อไปในแต่ละวัน การอดนอน นอกจากจะทำให้คนเราอ่อนเพลียแล้วยังทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง
  6. พยายามพาลูกไปรับวัคซีนต่างๆตามเกณฑ์อายุเพื่อให้ลูกน้อยมีภูมิคุ้มกันต่อโรคต่างๆ ได้ ในปัจจุบันวัคซีนมีหลากหลายชนิด คุณพ่อคุณแม่สามารถปรึกษากุมารแพทย์ประจำตัวของลูกเกี่ยวกับวัคซีนต่างๆ ได้
  7. ในกรณีที่มีการเจ็บป่วยที่สำคัญควรปรึกษาแพทย์ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เพราะการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ ในบางครั้งถ้าดูแลไม่ถูกต้อง ก็อาจจะกลายเป็นปัญหาการเจ็บป่วยที่ลุกลามได้ นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรหาความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองและโรคต่างๆ เพื่อที่จะได้เข้าใจถึงอาการ อาการแสดง และแนวทางการรักษา อาจโดยการสอบถามจากแพทย์ผู้ดูแลและหาอ่านเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง จะช่วยให้คุณและลูกน้อยมีสุขภาพที่ดีและไม่ค่อยเจ็บป่วยได้เช่นกัน
 
ด้วยความปรารถนาดี 
แพทย์หญิงปราณี สิตะโปสะ           
กุมารแพทย์เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อ  โรงพยาบาลวิภาวดี
 
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด