ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ช่วยเด็กเพื่อไอเอาเสมหะออกเองได้อย่างไร

ไอเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในทางเดินหายใจ อาจจะเป็นฝุ่นละอองหรือเสมหะที่เกิดจากไข้หวัด หลอดลมอักเสบหรือปอดอักเสบ ร่างกายจะกำจัดสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ โดยการไอออกมา สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่่ทำให้ไอเรื้อรังคือ การมีเสมหะคั่งค้างในหลอดลม

การไอเกิดจากอะไร

ไอเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในทางเดินหายใจ อาจจะเป็นฝุ่นละอองหรือเสมหะที่เกิดจากไข้หวัด หลอดลมอักเสบหรือปอดอักเสบ ร่างกายจะกำจัดสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ โดยการไอออกมา สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่่ทำให้ไอเรื้อรังคือ การมีเสมหะคั่งค้างในหลอดลม

 

ควรทำอย่างไรเมื่อลูกไอ

บางครั้งจะพบว่าลูกไอมาก แต่ไอไม่ออก ไอจนเหนื่อย หรือไอจนปวดท้องก็ยังไม่หยุดไอ ทั้งนี้เนื่องจากเสมหะที่เหนียวมาก และจากการไอที่ไม่ถูกวิธีอาจเปรียบเทียบเสมหะที่ค้างในหลอดลมกับซอสมะเขือเทศที่เหลือติดก้นขวด การที่จะนำซอสออกมานั้นเราต้องคว่ำขวดลงใช้มือเคาะก้นขวด แล้วเขย่าขวดแรง ๆ เช่นเดียวกันกับเสมหะที่อยู่ในหลอดลม เราต้องจัดท่านอนหรือนั่งในแนวที่ทำให้เสมหะไหลออกมาสะดวก จากนั้นต้องมี การเคาะ เพื่อให้เสมหะหลุดออกจากหลอดลม การสั่นสะเทือน เพื่อกระตุ้นไอ ตลอดจนฝึก การไอ อย่างมีประสิทธิภาพเสมหะจึงหลุดออกมาได้ ในกรณีเด็กเล็กที่อาจไม่สามารถบ้วนเสมหะออกมาได้ แค่เพียงการเคาะและการไอที่ถูกต้องเสมหะจะหลุดออกมาจากหลอดลมได้ ถ้ามีเสมหะมากๆ ในเด็กเล็กอาจต้องใช้ลูกยางเบอร์ 1 ช่วยดูดเสมหะในปาก หากมีบางส่วนกลืนลงไปบ้างร่างกายก็จะขับออกมาเองได้

 

การช่วยลูกให้ไอเอาเสมหะออกจะต้องทำอย่างไรบ้าง

  • ทำให้เสมหะไม่เหนียว โดยการดื่มน้ำมาก ๆ
  • การเตรียมตัว  สั่งน้ำมูกและบ้วนหรือดูดเสมหะในจมูกและปากที่มีออกมาก่อน และควรทำก่อนอาหารหรือหลังอาหาร  1 ชม.ครึ่ง – 2 ชม. เพื่อไม่ให้อาเจียนหรือสำลัก
  • การจัดท่าที่เหมาะสม  จะช่วยให้เสมหะจากปอดส่วนต่าง ๆ ถูกขับออกมาได้ง่ายขึ้น ให้ทำการเคาะแล้วจึงทำการสั่นสะเทือนในแต่ละท่า ท่าละ 3-6 นาที รวมทุกท่าไม่ควรนานเกิน 15-30 นาที แล้วจึงลุกนั่งหรือยืนเพื่อให้ไออย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าเด็กเหนื่อยหรือเบื่อทำเพียงบางท่า
  • การเคาะระบายเสมหะ หลักการคือใช้แรงสั่นจากลมที่กระทบผนังทรวงอกขณะเคาะ ไปทำให้เสมหะหลุดจากหลอดลม โดยใช้ผ้าขนหนูบาง ๆ วางบนตำแหน่งที่จะเคาะ ขณะเคาะให้ทำมือเป็นกระเปาะปลายนิ้วชิดกันและมีการเคลื่อนไหว สบาย ๆ ตรงข้อมือ ข้อศอกและไหล่ ด้วยความถี่ 3 ครั้งต่อวินาที ให้ทั่ว ๆ บริเวณทรวงอกส่วนที่เคาะอยู่ โดยวนเป็นวงกลมหรือเลื่อนไปทางซ้ายและขวา ส่วนมากเด็กจะรู้สึกสบายเหมือนมีคนนวดให้ บางรายนอนหลับสบายขณะเคาะ
  • การสั่นสะเทือนเพื่อช่วยการไอ  การทำจะยากกว่าการเคาะ ถ้าคุณพ่อคุณแม่ทำไม่ได้ก็ไม่ต้องเป็นกังวลกับขั้นตอนนี้ การสั่งสะเทือนทำโดยวางฝ่ามือลงบนทรวงอก ในเด็กเล็กวางมือประกบบริเวณด้านหน้าและหลังที่ตรงกัน หรือใช้มือเดียววางบริเวณด้านหน้าทั้ง 2 ด้าน เด็กโตอาจวางมือซ้อนทับกัน เกร็งทุกส่วนจากไหล่ ข้อศอกมือ แล้วทำให้เกิดการสั่นสะเทือน โดยเริ่มขณะที่หายใจเข้าจนสุดไปจนตลอดการหายใจออก จะช่วยให้ไอเอาเสมหะออกมาได้ดีขึ้น
  • การไอให้มีประสิทธิภาพ  ต้องหายใจเข้าเต็มที่ แล้วกลั้นหายใจ 1-2 วินาที เพื่อให้ลมกระจายไปทั่วทุกส่วนของปอดและมีแรงขับดันเอาเสมหะออกมาได้เต็มที่ จากนั้นไอติดต่อกัน 2-3 ครั้ง การให้เด็กเล็กสูดหายใจเข้าเต็มที่ อาจใช้ของเล่นที่ต้องสูดหายใจแรง ๆ มาช่วย เช่น เป่าลูกโป่ง, เป่าฟองสบู่ หรือเป่ากังหัน เป็นต้น 

จะต้องช่วยลูกให้ไอเมื่อไรบ้าง

ทำบ่อยได้แค่ไหน ส่วนมากเสมหะจะคั่งค้างมากมายมาตลอดคืน เมื่อตื่นนอนตอนเช้าจึงไอมาก จึงควรทำเมื่อตื่นเช้าและก่อนเข้านอน เพื่อให้หลับสบายและอาจทำเพิ่มก่อนอาหารกลางวัน ช่วงบ่ย รวมทั้งกลางคืน ถ้านอนหลับไปสักพักแล้วไอมาก จะช่วยให้เด็กหลับต่อได้ดีขึ้น

ทราบได้อย่างไรว่าลูกดีขึ้น

ลูกจะไอลดลง เสียงครืดคราดลดลง ดื่มนมและหลับได้นานขึ้น มีข้อห้ามหรือไม่ ในรายที่เป็นหอบหืดควรให้อาการหอบดีขึ้นก่อน โดยการพ่นหรือสูดยาขยายหลอดลมให้หลอดลมเปิดโล่ง และขั้นตอนการไอต้องไม่นานจนทำให้เหนื่อยเกินไป

มีข้อห้ามหรือไม่

ในรายที่เป็นหอบหืดควรให้อาการหอบดีขึ้นก่อน โดยการพ่นหรือสูดยาขยายหลอดลม ให้หลอดลมเปิดโล่ง และขั้นตอนการไอต้องไม่ทำนานจนเหนื่อยเกินไป

มีผลเสียอย่างไรบ้าง 

เมื่อเปรียบเทียบแล้ว ผลเสียจากการมีเสมหะคั่งค้างมีมากและเป็นอันตรายกว่ามาก เพราะเสมหะเป็นแหล่งเพราะเชื้อที่ดีพบว่าลูกจะไม่สบายมีไข้ และยิ่งไอไม่หายสักที หายใจเหนื่อยหอบ อาจเป็นปอดบวม ปอดแฟบจากเสมหะอุดตัน หรือถุงลมโป่งพองออก บางรายไอมากจนปวดท้อง เพราะการไอต้องใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องและกะบังลม ซึ่งอาจช่วยได้โดยการใช้สองมือวางประสานกันกดเล็กน้อยบริเวณหน้าท้องเพื่อช่วยลดอาการปวด

ส่วนการเคาะระบายเสมหะ ถ้าทำได้ถูกเวลา ท่าทาง และวิธีแล้ว จะไม่มีอันตรายแต่อย่างใด สามารถทำได้ในเด็กแรกเกิดจนถึงเด็กโต โดยปรับแรงเคาะให้เหมาะสมกับน้ำหนักและรูปร่าง ช่วงแรกเด็กอาจไม่คุ้นเคยจะร้องบ้าง ต่อมามักจะชอบเนื่องจากเรียนรู้ว่าทำให้เขาสบายขึ้น มีเด็กหลายคนติดใจต้องให้คุณพ่อคุณแม่กล่อมนอนด้วยการเคาะปอดทุกคืนจึงจะหลับสบาย

ควรให้ยาแก้ไอหรือไม่

ในรายที่ไอมีเสมหะ การให้ยาแก้ไอชนิดกดการไอ จะยิ่งมีผลเสียเพราะเสมหะคั่งค้าง แต่ยาแก้ไอที่มีฤทธิ์ขยายหลอดลม หรือละลายเสมหะจะได้ผลดี รวมทั้งยาลดน้ำมูกบางชนิดมีส่วนประกอบที่ทำให้น้ำมูกและเสมหะยิ่งเหนียวมากขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการใช้ยาที่เหมาะสม


โดย ผศ.พญ.อาภัสสร  วัฒนาศรมศิริ  
กุมารแพทย์โรคระบบหายใจ รพ.วิภาวดี
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด