ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เมื่อลูกเป็นโรคหอบหืด

เมื่อลูกเป็นโรคหอบหืด

เมื่อลูกเป็นโรคหอบหืด

โดย ผศ.พญ.อาภัสสร  วัฒนาศรมศิริ  
กุมารแพทย์โรคระบบหายใจ รพ.วิภาวดี
 

ทราบได้อย่างไรว่าลูกมีอาการหอบหืด

ลูกจะหายใจเร็วและแรงกว่าปกติ อาจได้ยินเสียงหวีดขณะหายใจ หน้าอกบุ๋ม และอาจเห็นปีกจมูกบาน เด็กที่พูดได้จะบอกว่าเหนื่อย แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ถ้าเป็นมากลูกจะเหนื่อยจนไม่มีแรงพูด อาจพบว่าริมฝีปากมีสีเขียวคล้ำได้
 

หอบและหอบหืดต่างกันอย่างไร

หอบอาจเกิดจากโรคหลอดลมอักเสบ ปอดบวม หรือสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในหลอดลม ส่วนหอบหืดเกิดจากหลอดลมที่ตีบตัวลง เมื่อได้รับสารกระตุ้น อาจจะเกิดขึ้นรวดเร็ว และเป็น ๆ หาย ๆ โดยดีขึ้นทันทีเมื่อได้รับยาขยายหลอดลม แต่ในเด็กเล็กอาจเริ่มต้นจากอาการไอ โดยเฉพาะในเวลากลางคืน เมื่อมีอาการมากขึ้นจึงจะหอบชัดเจน
 

ทำไมลูกจึงป่วยเป็นหอบหืด

มักเป็นกรรมพันธุ์ร่วมกบการขาดการป้องกัน และสัมผัสกับสารที่กระตุ้นให้เกิดอาการบ่อย ๆ เช่น สารที่เกี่ยวข้องกับภูมิแพ้ ที่พบมากในเด็กไทย คือ ตัวไรฝุ่น ซึ่งอยู่ตามหมอน, ผ้านวม, ที่นอน, รังแค และน้ำลายที่อยู่ตามขนของสัตว์เลี้ยง, ละอองเกสร และแมลงสาบ เป็นต้น จากปัจจัยที่ไม่เกี่ยวกับภูมิแพ้ เช่น การออกกำลังกาย, การติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ และควันบุหรี่ เป็นต้น
 

การรักษาเมื่อลูกมีอาการหอบ

คุณพ่อ คุณแม่ ควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่าหอบที่ลูกเป็นอยู่เกิดจากหอบหืดใช่หรือไม่ ถ้าเป็นหอบหืด แพทย์จะรักษาโดยการให้ยาขยายหลอดลม บางรายต้องให้ออกซิเจนด้วย อาการของลูกจะค่อย ๆ ดีขึ้น รวมทั้งแพทย์จะต้องตรวจหาโรคอื่นที่อาจเป็นร่วมมาในคราวเดียวกัน จากนั้นแพทย์จะแนะนำยาที่ต้องนำไปใช้ที่บ้าน ซึ่งมีทั้งยากิน และยาสูดเข้าทางปาก รวมทั้งการปฏิบัติตัวที่บ้านเมื่อลูกหอบคราวหน้า และควรพาลูกมารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
 

ลูกจะมีชีวิตเหมือนเด็กปกติคนอื่น ๆ ได้หรือไม่ ต้องระวังอย่างไรบ้าง

เด็กที่เป็นหอบหืดก็เหมือนเด็กปกติทั่วไป แต่ต้องระวังตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หลีกเลี่ยงสารที่แพ้หรือสารที่กระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น การระวังตัวไรในฝุ่นทำได้โดย ไม่ควรมีตุ๊กตามีขนหมอนนุ่น และของที่เก็บฝุ่นในห้องนอน ซักผ้าปูที่นอนในน้ำอุ่นประมาณ 60 องศาเซลเซียส นานครึ่งชั่วโมง สัปดาห์ละครั้ง หรือใช้ผ้าคลุมเตียงชนิดพิเศษที่สามารถป้องกันตัวไรฝุ่น เปิดห้องนอนให้โล่ง แสงแดดส่องถึง และอากาศ่ถายเทในเวลากลางวัน หมั่นนำผ้านวม หมอน ออกตากแดด หลีกเลี่ยงการปูพรม ถ้าจำเป้นก็ต้องดูดฝุ่นบ่อย ๆ ผู้ใหญ่ควรเลิกหรือสูบบุหรี่นอกบ้าน สุนัขและแมวควรเลี้ยงไว้นอกบ้าน หรืออย่างน้อยไม่ควรให้อยู่ในห้องนอนของลูก หลีกเลี่ยงที่แออัดมีควันและเลี่ยงจากเด็กที่ป่วยมีอาการไอจาม ในบางรายแพทย์จะให้ใช้เครื่องวัดการทำงานของปอดอย่างง่าย ๆ เพื่อใช้เป็นตัวบอกว่าลูกเริ่มจะมีอาการหอบ และจะได้ให้ยาทันท่วงที  
 

เวลาลูกหอบอยู่ที่บ้านควรทำอย่างไร

ให้ลูกนอนพัก อยู่ในที่อากาศถ่ายเทได้ดี ใช้ยาขยายหลอดลมที่คุณหมอให้พกประจำตัวอย่างถูกวิธี ไม่ต้องตกใจจนเกินไป ถ้ายังหอบให้ใช้ยาซ้ำได้อีกทุก 15 นาทีต่อมาไม่เกิน 3 ครั้ง แล้วรีบไปพบแพทย์ใกล้ที่สุด เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป
 

พาลูกไปออกกำลังกายจะได้ไหม  

ช่วงที่ไม่มีอาการสามารถพาลูกไปออกกำลังได้ โดยเริ่มจากการออกกำลังกายน้อย ๆ พยายามอย่าหักโหมทันที ในบางรายอาจจำเป็นต้องสูดยาขยายหลอดลมก่อน และไม่ออกกำลังกายจนเหนื่อยมากเกินไป กีฬาที่เหมาะสม คือว่ายน้ำในเวลาที่อากาศอบอุ่น สำหรับการออกกำลังกายในสภาพแวดล้อมที่อากาศแห้งและเย็นเกินไปจะทำให้ลูกหอบได้  
 

ป้องกันไม่ให้ลูกเป็นหอบหืดได้หรือไม่  

การให้ลูกกินนมแม่อย่างน้อย 4 เดือน จะทำให้มีภูมิคุ้มกันโรคติดเชื้อที่จะทำให้เกิดอาการทางระบบทางเดินหายใจได้ พยายามหลีกเลี่ยงจากเด็กอื่นที่ป่วยมีอาการไอหรือจาม เลี่ยงจากฝุ่น ควันบุหรี่ สารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ และรีบพาไปพบแพทย์เมื่อมีอาการหอบ เพื่อที่จะได้รับการรักษา และทราบวิธีปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเพื่อป้องกันไม่ให้หอบซ้ำอีก  
 
เมื่อลูกเป็นหอบแล้วต้องใช้ยานาน ๆ จะมีผลเสียหรือไม่ปัจจุบันแพทย์พยายามให้ยาขยายหลอดลมในรูปพ่น ซึ่งจะเข้าสู่ปอดโดยตรงออกฤทธิ์เร็วและยาที่ใช้จะมีปริมาณน้อยกว่าการให้ยาโดยการรับประทานมาก จึงไม่ต้องกังวลกับผลตกค้างจากยา ส่วนยากลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งใช้ในการป้องกันนั้น ถ้าใช้ในขนาดและวิธีที่เหมาะสมภายใต้การดูแลของแพทย์ก็จะไม่เป็นอันตราย 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด