ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

รู้จักอาการ FOMO กลัวหลุดนิยม กลัวไร้ตัวตน กลัวตกสมัย กลัวไม่สำคัญ สารพัดกลัว

รู้จักอาการ FOMO กลัวหลุดนิยม กลัวไร้ตัวตน กลัวตกสมัย กลัวไม่สำคัญ สารพัดกลัว HealthServ.net
รู้จักอาการ FOMO กลัวหลุดนิยม กลัวไร้ตัวตน กลัวตกสมัย กลัวไม่สำคัญ สารพัดกลัว ThumbMobile HealthServ.net

FOMO เป็นคำย่อของกลุ่มอาการ Fear of Missing Out คำนี้เกิดขึ้นมาสะท้อนภาพสังคมคนยุคใหม่จำนวนมากที่มีอาการกลัวตกกระแส กลัวไม่มีใครคิดถึง กลัวเป็นคนไม่สำคัญ กลัวตกข่าว กลัวเอ้าท์ กลัวไม่เข้าพวก กลัวไม่เข้าสังคม กลัวเข้าสังคมไม่ทัน หรือกลัวไม่ทันเค้านั่นเอง กลัวไม่แนว กลัวหลุดแนว กลัวเชย สารพัดจะนิยามอาการ FOMO แน่นอนว่าพุ่งเป้าไปที่คนหนุ่มสาวยุคใหม่ที่หมกมุ่นและผูกชีวิตติดไว้กับโซเชี่ยล จากเฟซบุ๊ค อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ จนถึง Tiktok ยิ่งเล่นก็ยิ่งติด ยิ่งติดก็ยิ่งเล่น ยิ่งเล่นก็เลิกไม่ได้ กลัวหลุดกระแส


หมอเขียนเล่าเรื่องโฟโม 



@ รู้จักอาการ FOMO กันเถอะ....ทันยุคทันสมัยทีเดียว" กลุ่มอาการใหม่ของสังคม“กลัวเป็นคนไม่สำคัญ” FOMO"
 
FOMO เป็นคำย่อของกลุ่มอาการ Fear of Missing Out
 
ขณะนี้มีคนในสังคมยุคใหม่จำนวนมากมีอาการของ FOMO ซึ่งหมายถึงกลุ่มอาการกลัวเป็นคนไม่สำคัญ กลัวไม่มีใครคิดถึง ส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาวที่หมกมุ่นและ “ติด” การใช้เครื่องมือสื่อสารสมัยใหม่ทางอินเตอร์เน็ต เช่น การเล่นไลน์ เฟซบุค ทวิตเตอร์ ฯลฯ ยิ่งเล่นก็ยิ่งติด ยิ่งติดก็ยิ่งเล่น ทำไมเป็นอย่างนั้น
 

เป็นเพราะเขาสร้างโลกส่วนตัวเขาเองว่าเขาสามารถมีเพื่อนได้มาก ๆ มีความสำคัญที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัดและมีคนเข้ามาแสดงความเห็นกด Like ให้เขาด้วย ยิ่งมากเท่าไรยิ่งทำให้ตัวเองรู้สึกมีความสำคัญมีค่ามากขึ้นเท่านั้น
 
 
 
คุณคงอยากเห็นตัวอย่างของคนที่มีอาการ FOMO ผมจะยกตัวอย่างให้ฟัง
 
            มีสามีคนหนึ่งมาปรึกษาผมว่าภรรยาเขา (อายุ 36 ปี) ติดการเล่นอินเตอร์เน็ตมากโดยเฉพาะการใช้เฟซบุค ทวิตเตอร์ และไลน์ เล่นตลอดเวลาแทบทั้งวันทั้งคืนเพราะเธอเป็นแม่บ้าน ไม่ได้ทำงานประจำ สามีอยากพูดคุยก็ไม่อยากพูดด้วย บางครั้งเธอออกไปตามศูนย์การค้ากับสามีเธอจะเดินยิ้มคนเดียว หัวเราะคนเดียว (คงคิดถึง comment ต่าง ๆ ในการสื่อสารกับคนในเฟซบุค) และเธอจะทักคนแปลกหน้าได้สบาย ๆ แต่สั้น ๆ เช่น สวัสดีค่ะ สบายดีไหมคะ ซึ่งบางคนก็ทักตอบ บางคนก็ทำหน้าแปลก ๆ เวลาอยู่กับสามีก็จะแยกตัวอยู่กับอินเตอร์เน็ต มักมีอารมณ์ฉุนเฉียวรุนแรง ไม่อยากพูดกับใคร ๆ
 


สามีถามว่าเธอจะเป็นบ้าไหม แต่เธอยังพอพูดคุยรู้เรื่อง
 
            ผมไม่ได้เห็นภรรยาแต่ตอบได้ว่าถ้าปล่อยไว้เธออาจเป็นบ้าหรือป่วยทางจิตได้ เพราะเธอเริ่มแยกโลกส่วนตัวแล้ว ชักไม่อยากอยู่ในโลกของความเป็นจริง เธอมีโลกออนไลน์ส่วนตัวของเธอที่ทำให้เธอสนุก รู้สึกมีค่าและทันเหตุการณ์ ทันสมัย ในขณะที่โลกของความเป็นจริงเธออาจจะเบื่อหน่ายและไม่สนุก
 
 เธอกลัวว่าเธอจะไม่มีความสำคัญ ไม่มีคนคิดถึง เธอจึงเล่นและติดอินเตอร์เน็ตมากขึ้น เพราะสามารถทำให้เธอรู้สึกได้ว่าเธออยู่ท่ามกลางผู้คนมากมายที่พร้อมจะพูดคุยสั้น ๆ ด้วยกันได้ เพราะต่างก็ FOMO ด้วยกันเป็นส่วนใหญ่ เธอไม่สนใจสร้างความสัมพันธ์กับมนุษย์ธรรมดา ๆ ที่อยู่ในโลกของความเป็นจริง
 


FOMO เหมือนเป็นกลุ่มอาการ “หลง” ชนิดหนึ่งที่เป็นกันมากทั่วโลก ในอเมริกาก็มีคนเป็นแบบนี้มาก ในเมืองไทยก็มีมากขึ้น ผลตามมาก็คือพวกนี้มักมีสมาธิสั้น อารมณ์แปรปรวนได้ง่าย โดยเฉพาะถ้าไม่ได้เล่นอินเตอร์เน็ตจะหงุดหงิดง่าย หลายคนมีความวิตกกังวลกลัวการสูญเสียข่าวสารการติดต่อกับผู้คนอื่น ๆ บางคนกำลังเป็นโรคซึมเศร้า โกรธง่าย และขาดความคิดสร้างสรรค์ หลายคนมีผลเสียตามไปถึงที่ทำงาน ทำให้ทำงานไม่ได้ผลดี เข้ากับผู้คนรอบตัวไม่ดี เพราะขาด “ความสัมพันธ์” ที่ดีกับเพื่อนมนุษย์จริง ๆ ที่อยู่รอบตัว แต่รอคอยที่จะหาทาง “ติดต่อ” กับมนุษย์ในอากาศจำนวนมากทางเครื่องมือสื่อสารสมัยใหม่
 


ลองถามตัวเองและสังเกตผู้คนรอบข้างดูบ้างซิว่า มีใครมีกลุ่มอาการ FOMO บ้างไหม ?
 
หลายคนอาจต้องการการรักษาหรือบำบัดแล้วก็ได้แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะรักษาได้ง่าย ๆ หรอก เพราะโรค “ติด” อะไรสักอย่างรักษายากทั้งนั้นถ้าเขาไม่อยากให้รักษา ดูแลตัวเองกันให้ดี ๆ นะครับพี่น้องร่วมสังคม Social network ทั้งหลาย
 
(โดย ศ นพ. วิทยา นาควัชระ คอลัมน์โลกและชีวิต นสพ แนวหน้า)
 
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด