ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคอีโบลา โรคติดเชื้อไวรัสชนิดเฉียบพลันรุนแรง อัตราป่วยตายสูงร้อยละ 90

เป็นโรคที่มีอาการรุนแรงแ มักจะถึงแก่ชีวิต อัตราป่วยตายที่สูงได้ถึงร้อยละ 90 ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคอีโบลา และยารักษาจำเพาะ

พบการระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ.2519  เป็นการระบาดที่เกิดขึ้นพร้อมกันในสถานที่ 2 แห่งคือเมือง นซารา  ประเทศซูดาน  และเมืองยัมบูกู สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกที่เมืองยัมบูกูเกิดขึ้นที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งริมแม่น้ำอีโบลา  โรคนี้จึงได้ชื่อตามชื่อแม่น้ำแต่นั้นมา

อีโบลาไวรัส เป็นสมาชิกหนึ่งในสามสกุลของวงศ์ Filoviridae หรือไฟโลไวรัส  อีกสองสกุลได้แก่มาร์เบอร์กไวรัส และคิววาไวรัส ในสกุลอีโบลาไวรัสมีไวรัส 5 ชนิดได้แก่
 
1. บุนดีบูเกียว อีโบลาไวรัส (BDBV)
2. ซาอีร์ อีโบลาไวรัส (EBOV)
3. เรซตัน อีโบลาไวรัส (RESTV)
4. ซูดาน อีโบลาไวรัส (SUDV)
5. ไทฟอร์เรส อีโบลาไวรัส (TAFV)
 
การแพร่โรค
โรคอีโบลาถูกนำเข้าสู่ประชากรมนุษย์ผ่านการสัมผัสกับเลือด สิ่งคัดหลั่ง อวัยวะ หรือของเหลวชนิดอื่นจากร่างกายของสัตว์ที่ติดเชื้อ ในแอฟริกามีหลักฐานว่าการติดเชื้อเกิดขึ้นได้จากการจับต้องสัตว์ติดเชื้อได้แก่ ชิมแปนซี  กอริลลา  ค้างคาวผลไม้  ลิง  แอนติโลปป่า และเม่น  สัตว์เหล่านี้อาจกำลังป่วยหรือพบเป็นซากอยู่ในป่าทึบที่มีฝนตกมาก
 
จากนั้นโรคอีโบลาก็แพร่ระบาดไปในชุมชนโดยการแพร่โรคจากคนสู่คน  การติดเชื้อเกิดจากการสัมผัสโดยตรง (ผ่านผิวหนังที่เป็นแผลหรือเยื้อชุ่ม) กับเลือด สิ่งคัดหลั่ง อวัยวะ หรือของเหลวชนิดอื่นจากร่างกายของผู้ติดเชื้อและจากการสัมผัสโดยอ้อมกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่ปนเปื้อนด้วยของเหลวดังกล่าว พิธีฝังศพที่ผู้เข้าร่วมพิธีมีโอกาสสัมผัสร่างกายของ
 
ผู้ตายโดยตรงมีบทบาทต่อการแพร่โรคอีโบลา  นอกจากนี้ ชายผู้หายป่วยด้วยโรคอีโบลาแล้วยังสามารถแพร่เชื้อไวรัสผ่านน้ำอุสจิของเขาได้อีกนานถึง 7 สัปดาห์หลังหายจากโรค
 
อาการและอาการแสดงของโรค
โรคอีโบลาเป็นโรคเฉียบพลันรุนแรงจากเชื้อไวรัส โดยมากมักจะแสดงออกเป็นไข้เฉียบพลันอ่อนเพลียมาก  ปวดกล้ามเนื้อ  ปวดศีรษะและเจ็บคอ  ตามด้วยอาการอาเจียน  ท้องเสีย  ผื่นผิวหนัง ไตและตับทำงานบกพร่อง  และในบางรายจะพบการตกเลือดทั้งภายในและภายนอก  ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่ามีปริมาณเม็ดเลือดขาวและเกร็ดเลือดต่ำตลอดจนระดับเอ็นไซม์ตับสูงกว่าปกติ
 
คนจะยังอยู่ในระยะติดต่อ  คือยังสามารถแพร่เชื้อออกไปได้ตราบเท่าที่เลือดและสิ่งคัดหลั่งของตนยังมีเชื้อไวรัส  มีการแยกเชื้อไวรัสอีโบลาได้จากน้ำอสุจิของชายผู้หนึ่งที่ติดเชื้อจากห้องปฏิบัติการในวันที่ 61 หลังจากวันเริ่มป่วย
 
ระยะฟักตัวของโรคซึ่งหมายถึงระยะเวลานับจากการเริ่มติดเชื้อไวรัสจนถึงเมื่อเริ่มแสดงอาการ  ได่แก่ 2 - 21 วัน
 
การป้องกันการติดเชื้อ
การป้องกันการติดเชื้อในกลุ่มนักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดสำหรับนักท่องเที่ยว  ผู้เดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดนั้น  ความเสี่ยงมีค่อนข้างต่ำมากแต่มีข้อระมัดระวังขั้นพื้นฐานเพื่อป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ  มีดังนี้
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยที่แสดงอาการ และ/หรือการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับศพ และ/หรือ สารคัดหลั่งของศพ
  • หลีกหลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์ป่า (ประกอบด้วย ลิง แอนติโลปป่า (สัตว์กีบคู่อยู่ในวงศ์วัวและควาย) หนู และค้างคาว) ไม่ว่าจะเป็นสัตว์มีชีวิตหรือที่ตายแล้ว หรือบริโภคเนื้อสัตว์ป่า
  •  ล้างหรือปอกเปลือกผลไม้/ผัก ก่อนรัปประทาน
  • มีเพศสัมพันธุ์แบบปลอดภัยทุกครั้ง
  • ล้างมือเป็นประจำ
 
วัคซีนและยารักษา
ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคอีโบลา และยารักษาจำเพาะ ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาแบบประคับประคองอย่างเข้มงวดผู้ป่วยมักจะมีอาการขาดน้ำบ่อยๆ จึงจำเป็นต้องได้รับสารละลายเกลือแร่เพื่อแก้ไขอาการขาดน้ำ โดยอาจให้ทางปาก หรือทางเส้นเลือดสิ่งที่ควรทำสำหรับประชาชนทั่วไปสิ่งที่ควรทำ คือ ติดตามข้อมูลข่าวสารจากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้รู้สถานการณ์  และมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
 
ข้อควรรู้ที่สำคัญ
โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา (โรคอีโบลา หรือ EVD ) เดิมเรียกว่าโรคไข้เลือดออกอีโบลา  เป็นโรคของคนที่มีอาการรุนแรงและมักจะถึงแก่ชีวิต มีอัตราป่วยตายที่สูงได้ถึงร้อยละ 90 มักจะเกิดขึ้นในหมู่บ้านที่ห่างไกลของแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตกบริเวณชายป่าทึบเขตร้อนที่มีฝนตกมาก  เชื้อไวรัสนี้แพร่จากสัตว์ป่ามาสู่คน  จากนั้นจึงแพร่ระบาดต่อไปในหมู่คนโดยการแพร่โรคจากคนสู่คน ผู้ป่วยโรคนี้ที่มีอาการรุนแรงจำเป็นต้องดูแลแบบประคับประคองอย่างเข้มงวด
 

สำหรับผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศ

 
สิ่งที่ควรทำ
1.หลีกเลี่ยงหรือชะลอการเดินทางไปประเทศที่มีการระบาด ขณะนี้มี 4 ประเทศ ได้แก่ กินี ไลบีเรีย เซียร์ร่าลีโอน และเมืองลากอสเมืองหลวงประเทศไนจีเรีย(และตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข)   
2. ติดตามข้อมูลข่าวสารที่เป็นทางการจากกระทรวงสาธารณสุข
3. หากจำเป็นต้องเดินทางไปประเทศที่มีการระบาด ต้อง
  • หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาด
  • หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ป่วยหรือสัมผัสผู้ป่วย รวมเสื้อผ้าเครื่องใช้ของผู้ป่วย
  • หากมีอาการป่วย เช่น ไข้สูง อ่อนเพลีย   ปวดศรีษะ ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บคอ    อาเจียน  ท้องเสีย และมีผื่นนูนแดงตามตัว รีบพบแพทย์ทันที และแจ้งประวัติ การเดินทาง
 
สิ่งที่ไม่ควรทำ
สำหรับผู้เดินทางไปประเทศที่มีการระบาด
  • ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ป่าทุกชนิด
  • ไม่สัมผัสสัตว์ป่าทุกชนิดโดยเฉพาะสัตว์จำพวกลิง หรือค้างคาว
  • ไม่ล้วงแคะแกะเกาจมูก     และขยี้ตา ด้วยมือที่ยังไม่ได้ล้าง 
  • ไม่มีเพศสัมพันธุ์กับคนที่ไม่ใช่คู่นอนหรือคู่รัก
  • ไม่ซื้อยากินเอง    เวลาเจ็บป่วยด้วยอาการไข้
 
ด้วยความปรารถนาดีจาก โรงพยาบาลวิภาวดี
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด