ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ฝังเข็มกระชับสัดส่วนได้อย่างไร

โรคอ้วน คือโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายมีจำนวนไขมันอยู่ในร่างกายที่มากเกินไปส่งผล ให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆตามมา ทางด้านร่างกาย เช่น ความดัน เบาหวาน หอบหืด ไขข้ออักเสบ โรคหัวใจ นอนกรน และอื่นๆอีกมากมายนอกจากนี้โรคอ้วนยังส่งผลด้านจิตใจ เช่นถูกผู้อื่นล้อจนเกิดความอับอาย ไม่มั่นใจ

ฝังเข็มกระชับสัดส่วนได้อย่างไร

โรค อ้วน คือโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายมีจำนวนไขมันอยู่ในร่างกายที่มากเกินไปส่งผล ให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆตามมา ทางด้านร่างกาย เช่น ความดัน เบาหวาน หอบหืด ไขข้ออักเสบ โรคหัวใจ นอนกรน และอื่นๆอีกมากมายนอกจากนี้โรคอ้วนยังส่งผลด้านจิตใจ เช่นถูกผู้อื่นล้อจนเกิดความอับอาย ไม่มั่นใจ ซื่งสามารถพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ สาเหตุ ของโรคอ้วน สาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ร่างกายมีน้ำหนักมากเกินขนาดนั้น เนื่องมาจากการทานอาหารมากกว่าที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้ อาหารส่วนเกินนี้ เมื่อร่างกายใช้ไม่หมด จะถูกเก็บสะสมไว้ในร่างกายในรูปของไขมัน ไม่ว่าอาหารนั้น จะเป็นข้าว ขนม หรือเนื้อสัตว์ก็ตาม ถ้าทานมากเกินไป ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นไขมันได้หมด และเก็บเอาไว้ในร่างกาย เมื่อเป็นเช่นนี้นาน ๆ น้ำหนักก็จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น โดยเหตุนี้ คนที่เป็นโรคอ้วน จึงเป็นผู้ที่มีไขมันสะสมในร่างกาย มากกว่าปกติ ในต่างประเทศ ได้มีผู้ทำการวิจัย ในสัตว์ทดลองหลายประเภท และในคน เพื่อหาสาเหตุของโรคอ้วน สรุปได้ว่า มาจากสาเหตุดังต่อไปนี้
 
  1. ร่างกาย (Body) เช่น กรรมพันธุ์ มีหลักฐานยืนยันว่า ถ้าทั้งพ่อและแม่เป็นคนอ้วนทั้งคู่ ลูกก็มักจะมีโอกาสอ้วนได้มากกว่าผู้ที่เกิดจากพ่อแม่ที่ไม่อ้วน การสำรวจในสหรัฐอเมริกา ปรากฎว่า ลูกจะมีโอกาสอ้วนได้ร้อยละ 80 ถ้าพ่อและแม่อ้วนทั้งคู่ ถ้าพ่อและแม่ คนหนึ่งคนใดอ้วน ลูกจะมีโอกาสอ้วนร้อยละ 40 ถ้าพ่อและแม่ไม่อ้วนทั้งคู่ ลูกจะมีโอกาสอ้วนเพียงร้อยละ 7
  2. สารหรือตัวการ (Agent) การเปลี่ยนแปลงดุล ของฮอร์โมนในร่างกาย เช่น ระหว่างตั้งครรภ์ หรือให้นมทารก ทำให้มีความอยากอาหารมากขึ้น เมื่อทานมากเกินความต้องการ น้ำหนักก็จะเพิ่มมากขึ้น ถ้าปล่อยไว้ไม่รีบแก้ไข ก็ทำให้อ้วนได้ในที่สุด โรคภัยไข้เจ็บบางอย่าง ในสมองและระบบประสาท ที่เกิดขึ้นในสัตว์ทดลอง หรือในคน จะมีผลทำให้กินมากผิดปกติ และเป็นโรคอ้วนได้ง่าย การผ่าตัดหรือใช้สารเคมี ที่ทำอันตรายแก่สมองส่วนหน้า หรือต่อมใต้สมอง ก็ทำให้เกิดโรคอ้วนได้เช่นเดียวกัน
  3. สิ่งแวดล้อม (Environment) เช่น นิสัยการทานไม่ดี อิ่มแล้วก็ยังทานโน่นทานนี่ทั้งวัน หรือชอบทานอาหาร มีไขมันสูง อาหารมันจัด หวานจัด หรือทานมากแต่ ออกกำลังกาย หรือใช้แรงงานน้อย ภาวะทางเศรษฐกิจสังคม หรือขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม ก็เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ผู้ที่เป็นโรคอ้วนบางรายมากจาก สภาพจิตใจไม่ปกติ เช่น ผิดหวังเรื่องรักใคร่ หรือพ่อแม่ไม่เอาใจใส่ เลยหาทางออกโดยการทานมากขึ้น ในเรื่องสิ่งแวดล้อมนี้ จะเห็นได้ว่าสาเหตุใหญ่ เกิดจากความเจริญทางวิชาการ และเทคนิคด้านอาหาร และเกษตรกรรม ในระยะหลังนี้ มีการปรับปรุงคุณภาพของอาหาร คนทานอาหารมากขึ้น เพราะอาหารมีรูปลักษณะที่ชวนบริโภค และมีการคิดค้นเครื่องผ่อนแรงต่าง ๆ ทำให้คน ไม่ต้องใช้แรงงานมาก อาหารที่ทานเข้าไปในร่างกาย ถูกใช้น้อยกว่าปกติ คนจึงเป็นโรคอ้วนกันมาก

 ข้อควรปฏิบัติอื่น ๆ ในการลดน้ำหนัก

  1. ปรึกษาแพทย์ หรือผู้ที่มีความรู้ในเรื่องของการลดน้ำหนัก โดยเฉพาะ เพื่อจะได้ทราบว่า สาเหตุของการเป็นโรคอ้วนนั้น เนื่องมาจากการทำงานของ ต่อมต่าง ๆ ผิดปกติ หรือนิสัยการกินไม่ดี แพทย์หรือผู้ชำนาญเรื่องนี้ จะเป็นผู้บอกว่า บุคคลนั้น ควรจะลดน้ำหนักมากน้อยเท่าใด กินอย่างไร และออกกำลังกาย มากน้อยเพียงใด จึงจะไม่เป็นอันตรายแก่ร่างกาย
  2. ชั่งน้ำหนักร่างกายอย่างน้อยเดือนละ 1-2 ครั้ง การชั่งน้ำหนักควรชั่งเวลาเดียวกันทุกครั้ง อย่าลืมว่า น้ำหนักร่างกาย เปลี่ยนแปลงตลอดวัน การชั่งน้ำหนักเวลาเดียวกันจะทำให้ทราบ การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักโดยแท้จริง เวลาที่ดีที่สุด ในการชั่งน้ำหนัก คือ หลังจากทำความสะอาดร่างกายแล้ว ก่อนรับประทานอาหารเช้า
  3. ควรลดน้ำหนักทีละน้อย หรือค่อยเป็นค่อยไป จึงจะปลอดภัย การลดน้ำหนักฮวบฮาบ ในเวลาอันสั้น อาจทำให้เกิดการเจ็บป่วย หรือถึงตายได้ ดังนั้นในสัปดาห์หนึ่ง ควรลดน้ำหนักไม่เกิน 1/2-1 กิโลกรัม นอกจากแพทย์ จะเป็นผู้ควบคุมอย่างใกล้ชิด อย่าลืมว่า น้ำหนักร่างกายของคนเรานั้น ไม่ได้ เพิ่มขึ้นในเวลา 1-2 สัปดาห์ การเพิ่มน้ำหนัก 10 กิโลกรัม ใช้เวลาเป็นแรมเดือน หรือนับปี ดังนั้นการลดน้ำหนัก ย่อมยากที่จะทำสำเร็จภายใน 1-2 เดือน ในระยะแรก ของการลดน้ำหนัก ต้องมีความอดทนพอสมควร คือต้องรอคอยผล ซึ่งต้องใช้เวลา ใน2-3 สัปดาห์แรก อาจทำให้ไม่ได้ผล ต้องพยายามลดน้ำหนักต่อไป น้ำหนักจึงจะค่อย ๆ ลดลง ในอัตราทสม่ำเสมอ โดยมากคนไข้ มักหมดกำลังใจเสียก่อน เลยทำไม่สำเร็จ
  4. พยายามรับประทานอาหารให้ตรงเวลา อย่าอดอาหารบางมื้อ คนทั่วไปชอบคิดกันว่า ถ้าอดอาหารเช้า จะทำให้น้ำหนักลดลง นับว่าเป็นความคิดที่ผิด นักโภชนาการ ได้ทำการค้นคว้าแล้วว่า อาหารมื้อเช้า เป็นมื้อที่สำคัญที่สุด และต้องเป็นอาหาร ที่มีประโยชน์ที่สุด เพราะร่างกายไม่ได้รับอาหาร มาเป็นเวลาหลายชั่วโมง จึงจำต้องได้รับอาหาร ที่ดีมาทดแทน เพราะถ้าเราอดอาหารเช้าแล้ว ธรรมชาติของร่างกาย จะทำให้รับประทานอาหารชดเชย มากขึ้นในมื้อต่อไป ควรทานอาหารทุกมื้อตามปกติ แต่ไม่ควรทานมื้อเย็นมากนัก และควรลดขนมหวาน หรือเครื่องดื่ม ที่มีพลังงานสูงก่อนเข้านอน เพราะหลังอาหารมื้อเย็น ร่างกายไม่ได้ออกแรงทำงาน อาหารที่รับประทานเข้าไป จะถูกเก็บสะสมไว้ ทำให้น้ำหนักเพิ่มได้ง่าย ถ้ารู้สึกหิว ควรดื่มน้ำผลไม้ หรือนมอุ่น ๆ ที่ไม่มีไขมันสัก 1 แก้วก่อนนอน
  5. ควรแก้ไขนิสัยการบริโภคอาหารที่ไม่ดี เป็นต้นว่า ต้องทานแต่พอรู้สึกอิ่มเท่านั้น จากการค้นคว้าพบว่า แม่บ้านที่เป็นโรคอ้วน ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ ชอบทานจุบทานจิบอยู่ตลอดเวลา ทั้งที่รู้ตัวว่าอิ่มแล้ว เพราะเสียดายของ ไม่ต้องการให้อาหารเหลือ ควรหัดให้กระเพาะ ชินกับการจำกัดอาหารทีละน้อย ในที่สุด ก็จะทานน้อยไปเอง ถ้ารู้สึกหิวก่อนถึงเวลาอาหาร ควรทานผลไม้ หรือดื่มน้ำผลไม้เท่านั้น หรืออาจใช้เครื่องดื่ม ที่ไม่มีครีมและน้ำตาลได้ นอกจากนี้ มีรายงานว่า ผู้ที่ทานอาหารรีบร้อน หรือเร็วมักอ้วนง่ายกว่าผู้ที่ทานช้า
  6. ควรออกกำลังกายควบคู่ไปกับการจำกัดอาหาร จากการสำรวจพบว่า นักเรียนหญิงที่เป็นโรคอ้วน มักไม่ชอบออกกำลังกาย ทั้งที่ทานอาหารเท่าเด็กปกติ การออกกำลังกาย ปฏิบัติได้ทุกเวลา เว้นแต่หลังอาหารใหม่ ๆ หรือก่อนนอน ทางที่ดีควรออกกำลังกาย ก่อนทานอาหารประมาณ 1-2 ชั่วโมง นักวิทยาศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่า การออกกำลังกายเพียงวันละ ครึ่งชั่วโมงทุกวัน จะให้ประโยชน์แก่ร่างกายได้มาก
  7. ไม่ควรอดนอน หรือลดชั่วโมงการพักผ่อนลง ควรพักผ่อนหลับนอนตามปกติ เพราะระหว่างลดน้ำหนัก ร่างกายมักอ่อนแอลง เป็นช่องทางให้เกิดโรคได้ง่าย ดังนั้นอาหารที่ทาน ถึงจะมีปริมาณน้อย ก็ต้องมีคุณค่าสูง และร่างกาย ก็ต้องการพักผ่อนอย่างเพียงพอด้วย
  8. เมื่อลดน้ำหนักได้สำเร็จ จนถึงระดับที่ต้องการแล้ว ต้องควบคุมน้ำหนักไว้ โดยต้องระมัดระวัง เรื่องการทานอาหาร และหมั่นออกกำลังกาย ถ้าไม่ควบคุมให้ดี น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นโดยง่าย
  9. ในต่างประเทศพบว่า การลดน้ำหนักเป็นหมู่ หรือเป็นพวกนั้นทำได้ง่ายกว่าทำคนเดียว ดังนั้น ควรหาสมัครพรรคพวก แล้วแข่งกันว่าใครจะทำได้สำเร็จก่อน  
 
รพ.วิภาวดี
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด