ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ไวรัสมรณะ อีโบลาและโคโรน่า

จากสถานการณ์ระบาดของไวรัสอีโบลา และไวรัสโคโรน่า ทำให้มีผู้ที่ติดเชื้อและเสียชีวิตจำนวนมาก โดยองค์การอนามัยโลกได้ให้เป็นโรคติดต่อที่อันตรายและมีความรุนแรงมาก ทำให้ทุกประเทศหันมาทบทวนและหาวิธีการยับยั้งการระบาดของโรคดังกล่าว

 
ในประเทศไทยด้วย ได้มีการฝึกซ้อมแผนเตรียมความพร้อมรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสอีโบลาและโคโรน่า โดนจำลองสถานการณ์ฉุกเฉินที่โรงพยาบาลวิภาวดี ซึ่งมีหน่วยงานภาครัฐ รวม8หน่วยงาน เข้าร่วมสังเกตการณ์ฝึกซ้อม ดังนี้
 
1. สำนักระบาดวิทยา
2. สำนักโรคติดต่อทั่วไป
3. สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ
4. สถาบันบำราศนราดูร
5. กองควบคุมโรคติดต่อ
6. ศูนย์บริการสาธารณสุข
7. ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
8. สำนักงานป้องควบคุมโรคที่1 กรุงเทพมหานคร
 


รู้ก่อน รู้ทัน ป้องกันได้ โรคอีโบลาเป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดเฉียบพลันรุนแรง
 
พบการระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ.2519 เป็นการระบาดที่เกิดขึ้นพร้อมกัน 2 แห่ง คือ    เมืองนซารา ประเทศซูดาน และเมืองยัมบูกู สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกที่เมืองยัมบูกูเกิดขึ้นที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งริมแม่น้ำอีโบลา โรคนี้จึงได้ชื่อตามชื่อแม่น้ำแต่นั้นมา
 
การแพร่โรค
 
โรคอีโบลาเข้าสู่มนุษย์ผ่านการสัมผัสกับเลือด สิ่งคัดหลั่งหรือของเหลวชนิดอื่นจากร่างกายของสัตว์ที่ติดเชื้อ ในแอฟริกามีหลักฐานว่าเกิดจากการสัมผัสสัตว์ติดเชื้อได้แก่ ชิมแปนซี กอริลลา ค้างคาวผลไม้ ลิง แอนติโลปป่า และเม่น สัตว์เหล่านี้อาจกำลังป่วยหรือพบเป็นซากอยู่ในป่าทึบที่มีฝนตกมาก จากนนั้นก็แพร่ระบาดไปในชุมชนโดยแพร่โรคจากคนสู่คน การติดเชื้อเกิดจากการสัมผัสโดยตรง ผ่านผิวหนังที่เป็นแผล เลือด สิ่งคัดหลั่ง หรือของเหลวชนิดอื่นจากร่างกายของผู้ติดเชื้อและจากการสัมผัสโดยอ้อมกับสิ่งแวดล้อมต่างๆที่ปนเปื้อนด้วยของเหลวดังกล่าว พิธีฝังศพที่ผู้เข้าร่วมพิธีมีโอกาส สัมผัสร่างกายของผู้ตายโดยตรงมีผลต่อการแพร่โรคอีโบลา นอกจากนี้ ชายผู้หายป่วยด้วยโรคอีโบลาแล้วยังสามารถแพร่เชื้อไวรัสผ่านน้ำอสุจิของเขาได้อีกนานถึง7สัปดาห์หลังหายจากโรค
 

อาการและอาการแสดงของโรค
 
โรคอีโบลาเป็นโรคเฉียบพลันรุนแรงจากเชื้อไวรัส โดยมากมักจะแสดงออกเป็นไข้เฉียบพลันอ่อนเพลียมาก ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะและเจ็บคอ ตามด้วยอาการอาเจียนท้องเสีย ผื่นผิวหนัง ไตและตับทำงานบกพร่องและในบางรายจะพบการตกเลือดทั้งภายในและภายนอก ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่ามีปริมาณเม็ดเลือดขาวและเกร็ดเลือดต่ำตลอดจนระดับเอ็นไซม์ตับสูงกว่าปกติ
 
คนจะยังอยู่ในระยะติดต่อ คือยังสามารถแพร่เชื้อออกไปได้ตราบเท่าที่เลือดและสิ่งคัดหลั่งของตนยังมีเชื้อไวรัสมีการแยกเชื้อไวรัสอีโบลาได้จากน้ำอสุจิของผู้ชายผู้หนึ่งที่ติดเชื้อจากห้องปฏิบัติการในวันที่ 61 หลังจากวันเริ่มป่วย
 
ระยะฟักตัวของโรคซึ่งหมายถึงระยะเวลานับจากการเริ่มติดเชื้อไวรัสจนถึงเมื่อเริ่มแสดงอาการ ได้แก่ 2-21 วัน
 
วัคซีนและยารักษา
 
ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคอีโบลา และยารักษาจำเพาะขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย
 
ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาแบบประคับประคองอย่างเข้มงวดผู้ป่วยมักจะมีอาการขาดน้ำบ่อยๆ จึงจำเป็นต้องได้รับสารละลายเกลือแร่เพื่อแก้ไขอาการขาดน้ำ โดยอาจให้ทางปาก หรือทางเส้นเลือด
 
สิ่งที่ควรทำสำหรับประชาชนทั่วไป
 
สิ่งที่ควรทำ คือ ติดตามข้อมูลข่าวสารจากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้รู้สถานการณ์ และมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และข้อควรรู้ที่สำคัญ
 
ข้อควรรู้ที่สำคัญ
 
โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา (โรคอีโบลาหรือEVD) เดิมเรียกว่าโรคไข้เลือดออกอีโบลา เป็นโรคของของคนที่มีอาการรุนแรงและมักจะถึงแก่ชีวิต มีอัตตราป่วยตายที่สูงได้ถึงร้อยละ 90 มักจะเกิดขึ้นในหมู่บ้านที่ห่างไกลของแอฟริกากลางและแอฟริการตะวันตกบริเวณชายป่าทึบเขตร้อนที่มีฝนตกมากเชื้อไวรัสนี้แพร่จากสัตว์ป่ามาสู่คน จากนั้นจึงแพร่ระบาดต่อไปในหมู่คนโดยการแพร่โรคจากคนสู่คน ผู้ป่วยโรคนี้ที่มีอาการรุนแรงจำเป็นต้องดูแลแบบประคับแระคองอย่างเข้มงวด


 
สำหรับผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศ สิ่งที่ควรทำเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
 
1. หลีกเลี่ยงหรือชะลอการเดินทางไปประเทศที่มีการระบาด ขณะนี้มี4ประเทศ ได้แก่ กินี ไลบีเรีย เซียร์ร่าลีโอน และเมืองลากอสเมืองหลวงประเทศไนจีเรีย (และตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข)
 
2. ติดตามข้อมูลข่าวสารจากกระทรวงสาธารณสุข
 
3. หากจำเป็นต้องเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดจริงๆ ต้อง
 
- หมั่นล้างมือ ด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาด
- หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ป่วย หรือสัมผัสผู้ป่วย รวมถึงเสื้อผ้า เครื่องใช้ของผู้ป่วย
- หากมีอาการป่วย เช่น ไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บคอ อาเจียนท้องเสีย และมีผื่นนูนแดงตามตัว รีบพบแพทย์ทันที และแจ้งประวัติ การเดินทาง
 
สิ่งที่ไม่ควรทำ สำหรับผู้เดินทางไปประเทศที่มีการระบาด
 
- ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ป่าทุกชนิด
- ไม่สัมผัสสัตว์ป่าทุกชนิด โดยเฉพาะสัตว์จำพวก ลิง หรือค้างคาว
- ไม่ล้วงแคะแกะเกาจมูก และขยี้ตา ด้วยมือที่ยังไม่ได้ล้าง
- ไม่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่ใช่คู่นอนหรือคู่รัก
- ไม่ซื้อยากินเอง เวลาเจ็บป่วยด้วยอาการไข้ 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด