ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

คร.ถกมาตรการป้องกันโรคไวรัสเมอร์ส16

กรมควบคุมโรคเชิญบ.ทัวร์เกาหลี-ตะวันออกกลาง รพ.เอกชน-กทม. หารือมาตรการป้องกันโรคเมอร์ส 16 มิ.ย.

นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวถึงความคืบหน้าเรื่องมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอให้ ศ.นพ.รัชตะ รัชะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ลงนามประกาศให้โรคเมอร์ส เป็นโรคติดต่ออันตรายอันดับที่ 7 ของประเทศไทย เพื่อเป็นการเพิ่มอำนาจทางกฎหมายให้แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการติดตาม กักตัว เฝ้าระวังผู้ต้องสงสัยโรคเมอร์ส ซึ่ง รมว.สาธารณสุขเร่งรัดให้ยื่นเรื่องดังกล่าวให้ลงนามในวันที่ 15 มิ.ย. 2558 ซึ่งหลังจากลงนามแล้วจะเร่งส่งประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาภายใน 24 ชั่วโมง จึงคาดว่าไม่น่าเกิน 1-2 วันนี้น่าจะประกาศและมีผลบังคับใช้ได้ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการประกาศเป็นโรคติดต่ออันตราย แต่มาตรการในการป้องกัน เฝ้าระวัง ควบคุมโรคต่างๆ ทางด้านสาธารณสุขยังคงเหมือนเดิม
 
ตัวแทนบริษัททัวร์ที่จัดการเดินทางไปยังประเทศเกาหลีใต้ และประเทศตะวันออกกลาง รวมไปถึงตัวแทนจากกรมการแพทย์ มหาวิทยาลัย รพ.เอกชน และ รพ.กทม. มาพูดคุยหารือถึงมาตรการการป้องกันโรคเมอร์ส ซึ่งตรงนี้เป็นความร่วมมือมาตั้งแต่การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ทั้งนี้ การระบาดเป็นจำนวนมากในเกาหลีเกิดขึ้นใน รพ. ทำให้หลายคนกังวลว่าใน รพ.รัฐที่มีความแออัด หากมีผู้ป่วยโรคเมอร์สมาจริงอาจทำให้ติดต่อกันได้ง่ายนั้น ขณะนี้ได้ขอให้ รพ.ทั้งหมดจัดทางพิเศษสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เพื่อป้องกันมิให้ผู้ป่วยสัมผัสกับบุคคลอื่นๆ ใน รพ. มีห้องตรวจแยกเฉพาะต่างหาก
 
“ ไม่ได้มีการกำหนด รพ.ไว้ว่าหากพบผู้ป่วยโรคเมอร์สจะต้องส่งมาที่ รพ.ตามที่กำหนดเหมือนตอนโรคอีโบลา เพราะความน่ากลัวน้อยกว่ามาก และไม่ได้ติดต่ออันตรายเท่ากับโรคอีโบลา โดย รพ.ที่มีห้องแยกโรคความดันลบ ก็สามารถดูแลได้ ซึ่งที่ผ่านมาไทยก็มีความพร้อมในการดูแลจากประสบการณ์โรคไข้หวัดนกมาแล้ว นอกจากนี้ การส่งต่อเคลื่อนไหวผู้ป่วย อาจจะกลายเป็นการเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อกันได้ อย่างไรก็ตาม จะมีการกระตุ้นให้ รพ.ในภาคใต้พัฒนาห้องแยกโรคความดันลบมากขึ้น เพราะเป็นพื้นที่ที่มีชาวไทยมุสลิมเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ การส่งต่อเคลื่อนไหวผู้ป่วย อาจจะกลายเป็นการเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อกันได้”นพ.โสภณ กล่าว
 (ข้อมูล) อนึ่งก่อนหน้านี้ คณะผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคเมอร์สได้มีการหารือและมีมติเห็นตรงว่าจะต้องประกาศให้โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางหรือโรคเมอร์สเป็นโรคติดต่ออันตรายตามพรบ.โรคติดต่อ พ.ส.2523 โดยจะเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมว.สธ.)ลงนามในประกาศภายใน 1-2 วันก่อนมีผลบังคับใช้ ซึ่งจะทำให้การดำเนินการต่างๆมีความชัดเจนตามกฎหมายและเจ้าหน้าที่มีความมั่นใจในการปฏิบัติงานว่ามีกฎหมายรองรับ โดยเป็นโรคที่หากพบผู้ป่วยจะต้องมีการรายงานและแจ้งความกับเจ้าหน้าที่
 
ซึ่งตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2558 มีผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศเกาหลีใต้และมีอาการไม่สบายไปตรวจรักษาและแจ้งประวัติการเดินทาง จำนวน 11 ราย โดยได้มีการเก็บเชื้อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ทั้งหมด พบว่าให้ผลเป็นลบคือไม่ติดเชื้อเมอร์ส โควี นอกจากนี้ ที่ผ่านมามีการตรวจติดตามผู้ที่เดินทางไปประกอบศาสนกิจแถบตะวันออกกลางแล้วกลับมามีอาการป่วย ในปี 2555 จำนวน 5 ราย ปี 2556 จำนวน 7 ราย ปี 2557 จำนวน 10 รายและปี 2558 จำนวน 11 ราย ยังไม่พบผู้ที่ติดเชื้อเมอร์ส โควีเช่นกัน
 
ทั้งนี้การประกาศให้โรคเมอร์สเป็นโรคติดต่อร้ายแรงจะส่งผลให้การดำเนินการติดตามผู้ที่เข้าข่ายต้องระวังเป็นเวลา 14 วัน หรือจำเป็นต้องกักตัวทำได้โดยไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิ์ หากไม่มีการประกาศดังกล่าว ซึ่งเมื้อวันที่ 12 -14 มิถุนายน ที่ผ่านมามีคนเกาหลีใต้เดินทางเข้ามาร่วมประชุมในประเทศไทยประมาณ 4,000 คน เป็นการประชุมเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการแพทย์ของบริษัทเอกชน โดยจะมีผู้เข้าร่วมจากทั่วโลกทั้งหมดราว 20,000 คน ซึ่งผู้จัดงานได้ประสานขอความคิดเห็นมายังสธ. พร้อมมาตรการในการเฝ้าระวังโรคเมอร์ส โดยจะมีแพทย์ประจำบริเวณสถานที่จัดงาน ติดตั้งเครื่องวัดความร้อนบริเวณทางเข้าสถานที่จัดงาน หากพบว่าผู้เข้าร่วมประชุมมีความร้อนที่ผิดปกติก็จะไม่ให้เข้าร่วมประชุม รวมถึง จัดทำแผ่นพับให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคนี้แจก และผู้จัดงานมีบัญชีรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมในการให้คำแนะนำ แต่ละวันมีคนไทยเดินทางไปเกาหลีใต้ประมาณ 1,000 คนและคนเกาหลีใต้เข้ามาในไทยราว 4,000 คน
 
สำหรับโรคเมอร์ส มีการสร้างมาตรการเฝ้าระวังในคน และการตรวจเชื้อในค้างคาวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ อาการที่ต้องระวังที่สำคัญ คือ ไข้ ไอ โดยพบว่าไวรัสยังมีความสามารถเกาะที่ไตได้ ทำให้การวินิจฉัยต้องเฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินหายใจร่วมกับไต นอกจากนี้ ยังสามารถพบอาการท้องเสีย โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว อย่างไรก็ตาม พบว่าผู้ป่วยในตะวันออกกลางทั้งที่มีโรคประจำตัวและไม่มีโรคประจำตัวก็มีโอกาสเสียชีวิตได้ แต่ส่วนใหญ่จะพบว่า หากมีอาการน้อยโอกาสในการแพร่เชื้อจะน้อยลงด้วย ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการหนัก จะแพร่เชื้อได้มากจึงต้องมีระบบการแยกผู้ป่วยที่ดี
 
คนที่มีสุขภาพดีแข็งแรงอาจไม่เป็นโรคที่รุนแรงแต่เป็นผู้แพร่โรคได้ โดยระยะการฝักตัวของโรคนี้จะใช้เวลาในช่วง 14 วัน ส่วนผู้ที่มีอาการรุนแรงพบว่าจะมีระยะเวลาแพร่โรคไปได้ตลอดในช่วงที่ป่วยอาจเป็นเวลา 20-30 วัน โดยเชื้อดังกล่าวจะอยู่ในระบบทางเดินหายใจ สามารถแพร่สู่ผู้อื่นได้เหมือนไข้หวัด คือ ทางสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ด้วยการสัมผัส หรือ รับประทานอาหารร่วมกัน ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการยืนยันว่าแพร่เชื้อทางอากาศ (Airborne) ทั้งนี้ ช่องทางการติดต่อของโรคถือเป็นสิ่งที่องค์การอนามัยโรค ติดตามอย่างต่อเนื่อง ​พบว่าญาติผู้ป่วยรายหนึ่งที่ประเทศเกาหลี เข้าเยี่ยมผู้ป่วยเพียง 5นาที ก็พบว่าติดเชื้อได้ และรายแรกที่ป่วยยังปฏิเสธว่าได้สัมผัสกับสัตว์ หรือ ผู้ป่วยด้วย ซึ่งการระบาดของเกาหลีในขณะนี้ถือว่าได้ระบาดเกือบทุกจังหวัดเป็นการระบาดระลอกที่ 3 แล้วง
 
ล่าสุด เมื่อวันที่ 12 มิ.ย.พญ.จริยา แสงสัจจา ผู้อำนวยการสถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค สธ. กล่าวว่า จากการตรวจคัดกรองเบื้องต้นพบว่าชาวเกาหลีใต้ทั้ง 4,000 คน มีร่างกายที่แข็งแรงดีไม่มีรายใดเข้าข่ายต้องสงสัยว่าป่วยโรคเมอร์ส และบริษัทเอกชนก็ได้มีการเช่าเครื่องเทอร์โมสแกรนด์ไปติดตั้งไว้ในงานด้วย อย่างไรก็ตาม สธ.ยังมีมาตรการเตรียมพร้อมรับมือในการประชุมครั้งต่อๆไปด้วยว่าต่อไปจะต้องดำเนินการเฝ้าระวังอย่างไร โดยใช้การเตรียมการในครั้งนี้เป็นหลัก ส่วนการเตรียมพร้อมรับมือกับโรคเมอร์สนั้นทุกโรงพยาบาลในสังกัด สธ. มีการเตรียมพร้อมตลอดตั้งแต่โรคซาร์ส ที่สธ.ได้มีการสั่งการให้โรงพยาบาลทุกระดับของสธ.เตรียมพร้อมรับมือโรคติดต่ออุบัติใหม่ เช่น การเตรียมบุคลากรหลัก เตรียมบุคลากรสำรองในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งบุคลากรทุกคนต้องได้รับการอบรมหากเกิดกรณีฉุกเฉินและหากพบผู้ป่วยต้องสงสัย แพทย์ที่ทำการตรวจก็จะต้องมีการใส่ชุดป้องกันร่างกาย เช่น ใส่ถุงมือหน้ากาก แว่น รองเท้า เป็นต้น
 
“หากพบผู้ป่วยที่เข้าข่าย เช่น กลับมาจากประเทศที่พบการระบาดภายใน 14 วัน แล้วมีอาการไข้ ทางโรงพยาบาลก็จะทำการตรวจอย่างละเอียดในห้องแยกโรคเฉพาะซึ่งขณะนี้มีครบทุกจังหวัดแล้ว ส่วนในโรงพยาบาลเอกชนหากไม่มีห้องแยกโรคขณะนี้ในกรุงเทพนั้นโรงพยาบาลเอกชนสามารถส่งต่อมาได้ที่ รพ. ราชวิถี โรงพยาบาลนพรัตราชธานี สถาบันโรคทรวงอก และสถาบันบำราศนราดูร นอกจากนี้ก็ยังมีรพ.สังกัดโรงเรียนแพทย์ กองทัพ เป็นต้น”พญ.จริยา กล่าว
 
พญ.จริยา กล่าวอีกว่า สำหรับงที่สถาบันบำราศนราดูรมีการเตรียมพร้อมตั้งแต่เส้นทางเฉพาะในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ นอกจากนี้ยังมีห้องแยกโรคไม่ให้ผู้ต้องสงสัยไปอยู่กับผู้ป่วยทั่วไปอีกด้วย ทั้งนี้หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินจริงๆขณะนี้ทางสถาบันบำราศนราดูร มีห้องแยกรองรับผู้ป่วยได้ 3 คน แต่หากเกิดสถานการณ์รุนแรงขึ้นอีกก็จะมีการปรับแผนเหมือนเหตุการณ์การระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 ก็จะมีการปรับโซนแยกผู้ป่วย และปรับเปลี่ยนตามแผนที่สธ.ได้ซักซ้อมไว้แล้ว และเบื้องต้นสธ.ได้ทำคู่มือคำแนะนำในการดูแลและสังเกตอาการของโรคเมอร์สไว้แล้วซึ่งคู่มือดังกล่าวมีการจัดพิมพ์เป็น 2 ภาษา คือ ภาษาไทย และอังกฤษ
 
อนึ่ง โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางหรือเมอร์ส นับเป็นโรคที่ 7 สธ.ประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2523 จากเดิมที่มี 6 โรค ได้แก่
1. อหิวาตกโรค
2. กาฬโรค
3. ไข้ทรพิษ
4. ไข้เหลือง
5. โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง(ซาร์ส)
6.อีโบลา

โดยตามมาตรา 7 และ 8 ของพรบ.นี้ระบุว่า ในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตราย จะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขและให้อำนาจเจ้าพนักงานสาธารณสุขในการออกคำสั่งให้คนที่มีเหตุสงสัยว่าป่วยหรือเป็นผู้สัมผัสโรคเข้ารับการตรวจ การชันสูตรทางแพทย์ หรือการรักษา หรือกักกันหรือคุมไว้สังเกต ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 2 พันบาท
 
Tags : นพ.โสภณ เมฆธน,กรมควบคุมโรค,เมอร์ส,เกาหลีใต้
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด