ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

จริง-ไม่จริง กับความเชื่อเรื่องขวดน้ำดื่ม

จริง-ไม่จริง กับความเชื่อเรื่องขวดน้ำดื่ม HealthServ.net
จริง-ไม่จริง กับความเชื่อเรื่องขวดน้ำดื่ม ThumbMobile HealthServ.net

หลายครั้งที่เรามักจะได้ยินความเชื่อเกี่ยวกับขวดน้ำมากมาย
ว่าขวดน้ำใช้ซ้ำไม่ดีบ้าง ทิ้งกลางแดดจะเกิดสารก่อมะเร็งบ้าง
แล้วความจริงตกลงเป็นยังไง วันนี้ลุงโจนส์หาคำตอบมาให้แล้ว

จริง-ไม่จริง กับความเชื่อเรื่องขวดน้ำดื่ม HealthServ
  1. เปิดแล้วควรดื่มให้หมด ?
    เรื่องนี้จริง : การดื่มน้ำจากขวดที่เคยเปิดแล้วนานๆ เสี่ยงปนเปื้อนเชื้อโรคมาก จึงมีคำแนะนำว่าถ้าเปิดแล้วควรดื่มให้หมดภายใน 1 วัน โดยเฉพาะคนที่ชอบยกดื่มจากปาก เพราะเสี่ยงเชื้อโรคจากปากเติบโตในน้ำที่เหลือได้ ส่วนใครที่ยกดื่มแบบไม่โดนปาก หรือเทน้ำใส่แก้วแล้วค่อยดื่ม อาจจะเสี่ยงเชื้อโรคน้อยกว่าแต่ก็เสี่ยงอยู่ดีครับเพราะเราเปิดฝาแล้ว
  2. อย่าดื่มขวดน้ำที่วางในรถ
    เรื่องนี้ไม่จริง : ความเชื่อที่ว่าทิ้งขวดน้ำในรถ แล้วอุณหภูมิในรถที่สูงจะไปละลายสารเคมีบางตัวในขวด จนเกิดเป็นสารก่อมะเร็งได้นั้น ปัจจุบันมีการศึกษาเพื่อทดสอบความเชื่อนี้ โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยทำการทดลองนำขวดน้ำดื่มกว่า 18 ยี่ห้อ ไปวางในรถที่จอดกลางแดดเป็นเวลา 1 วัน และ 7 วัน ผลการทดลองพบว่าขวดที่วางทิ้งไว้ไม่พบสารก่อมะเร็งครับ นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขยังได้กำหนดมาตรฐานขวดน้ำดื่มด้วย ว่าต้องทนความร้อนได้ 60 - 95 องศาเซลเซียส ดังนั้นขวดน้ำดื่มแบบ PET ที่เรามักดื่มนั้น จึงสามารถดื่มและเก็บไว้ในรถได้ไม่อันตรายจ้า (แต่ถ้าเปิดดื่มแล้วก็ควรดื่มให้หมดใน 1 วันอยู่ดีนะ)
  3. ใช้ซ้ำเสี่ยงมะเร็ง
    เรื่องนี้ไม่จริง : สารก่อมะเร็งในขวดน้ำที่คนมักพูดถึง คือสาร BPA ซึ่งปัจจุบันนี้ขวดน้ำดื่มแบบ PET นั้น ไม่มี BPA เป็นองค์ประกอบ สาร BPA นี้ มักใช้กับกระป๋องอาหาร ส่วนสารอื่นๆ ในขวดก็พบว่าเสี่ยงปนเปื้อนออกมาได้น้อยมาก ก็คิดดูละกันครับว่าขนาดอุณหภูมิในรถยังทำอะไรไม่ได้ ดังนั้นวางเฉยๆ หรือใช้ซ้ำก็ไม่เกิดสารก่อมะเร็งครับ แต่ถึงยังไงลุงก็แนะนำว่าไม่ควรใช้ซ้ำอยู่ดี เพราะขวดแบบนี้ถูกผลิตให้ใช้ได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้น
  4. ใช้ซ้ำอาจเสี่ยงเชื้อโรคปนเปื้อนได้
    เรื่องนี้มีการพิสูนจ์แล้วว่าเสี่ยงจริง เพราะกรมอนามัยเคยสำรวจขวดน้ำประมาณ 131 ขวด พบมีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย มากถึง 85 ขวดหรือคิดเป็น 65% เลยทีเดียว
    ดังนั้นถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรใช้ซ้ำ แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ซ้ำจริงๆ ควรทำความสะอาดก่อน ซึ่งการทำความสะอาดก็ไม่ใช่แค่กลั้วๆน้ำนะครับ แต่ควรล้างด้วยน้ำยาล้างจาน เหมือนกับเราล้างจานนั้นแหละ จากนั้นก็ตากให้แห้ง แค่นี้ก็ใช้ซ้ำได้อย่างสบายใจแล้วจ้า


สำนักสารนิเทศ
9 ธันวาคม 2563
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด