ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ประกาศปลดล็อค กัญชง-กัญชา-พืชกระท่อม พ้นยาเสพติด

ประกาศปลดล็อค กัญชง-กัญชา-พืชกระท่อม พ้นยาเสพติด HealthServ.net
ประกาศปลดล็อค กัญชง-กัญชา-พืชกระท่อม พ้นยาเสพติด ThumbMobile HealthServ.net

ประกาศปลดล็อค กัญชง-กัญชา-พืชกระท่อม พ้นยาเสพติด

ประกาศปลดล็อค กัญชง-กัญชา-พืชกระท่อม พ้นยาเสพติด HealthServ

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 วรรคหนึ่ง และมาตรา 8 (1) และ (2) แห่งพระราชบัญญัติ
ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
ควบคุมยาเสพติดให้โทษออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ยกเลิก
(1) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2561
ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
(2) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2562 ลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562
 
ข้อ 2 ให้ยาเสพติดให้โทษที่ระบุชื่อดังต่อไปนี้ เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5
ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม
 
(1) กัญชา (cannabis) พืชในสกุล Cannabis และวัตถุหรือสารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพืชกัญชา
เช่น ยาง น้ำมัน ยกเว้นวัตถุหรือสารดังต่อไปนี้ เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตในประเทศ ไม่จัดเป็น
ยาเสพติดให้โทษในประเภท 5
(ก) เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน และราก
(ข) ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย
(ค) สารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออล (cannabidiol, CBD) เป็นส่วนประกอบและต้องมี
สารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก
(ง) กากหรือเศษที่เหลือจากการสกัดกัญชาและต้องมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล
(tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก
 
(2) กัญชง (hemp) พืชซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. subsp. sativa
อันเป็นชนิดย่อยของพืชกัญชา (Cannabis sativa L.) และวัตถุหรือสารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพืชกัญชง
เช่น ยาง น้ำมัน ยกเว้นวัตถุหรือสารดังต่อไปนี้ เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตในประเทศ ไม่จัดเป็น
ยาเสพติดให้โทษในประเภท 5
(ก) เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน และราก
(ข) ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย
(ค) สารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออล (cannabidiol, CBD) เป็นส่วนประกอบและต้องมี
สารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol , THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก
(ง) เมล็ดกัญชง (hemp seed), น้ำมันจากเมล็ดกัญชง (hemp seed oil) หรือสารสกัด
จากเมล็ดกัญชง (hemp seed extract)
(จ) กากหรือเศษที่เหลือจากการสกัดกัญชงและต้องมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล
(tetrahydrocannabinol , THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก
 
(3) พืชกระท่อม พืชซึ่งมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Mitragyna speciosa (Korth.) Havil.
และวัตถุหรือสารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพืชกระท่อม เช่น แอลคาลอยด์
 
(4) พืชฝิ่น พืชซึ่งมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Papaver somniferum L. และ Papaver bracteatum Lindl. หรือที่มีชื่ออื่นในสกุลเดียวกันที่ให้ฝิ่นหรือแอลคาลอยด์ของฝิ่น
 
(5) เห็ดขี้ควายหรือพืชเห็ดขี้ควาย ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Psilocybe cubensis (Earle) Singer หรือที่มีชื่ออื่นในสกุลเดียวกันที่ให้สาร psilocybin หรือ psilocin
 
การนำเข้าวัตถุหรือสารตามวรรคหนึ่ง (1) (ก) (ข) (ค) และ (ง) และ (2) (ก) (ข) (ค) (ง) และ (จ) ให้นำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ยกเว้นเปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง เส้นใยแห้ง ของกัญชาและกัญชง
 
ข้อ 3 กรณียาเสพติดให้โทษตามข้อ 2 ที่เป็นสารควบคุมคุณภาพในการตรวจวิเคราะห์ และควบคุมคุณภาพของการตรวจสารเสพติดในร่างกาย ซึ่งเป็นเครื่องมือแพทย์ตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์ และต้องใช้ตามวัตถุประสงค์ของเครื่องมือแพทย์นั้น ให้ยกเว้นจากการเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5
 
ข้อ 4 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
 
ประกาศ ณ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2563
อนุทิน ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ประกาศปลดล็อค กัญชง-กัญชา-พืชกระท่อม พ้นยาเสพติด HealthServ
หลักๆของการปลดล็อกจากยาเสพติดคือ
  1. ใบที่ไม่ติดกับช่อดอก เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่ง ก้าน ราก ไม่เป็นยาเสพติด
  2. เมล็ดกัญชง น้ำมัน สารสกัด เมล็ดกัญชง
  3. สารสกัด CBD และในส่วนสาร THC ต้องไม่เกิน 2% ส่วนที่ยังเป็นยาเสพติด ขอย้ำว่า ช่อดอกกัญชาและกัญชง รวมทั้งเมล็ดกัญชายังไม่ปลดล็อกจากยาเสพติด
การปลูก สกัด และผลิต ทั้งหมดยังต้องขออนุญาตจาก อย. ตามพ.ร.บ.ยาเสพติด ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2562) ระบุผู้มีคุณสมบัติขออนุญาต คือ หน่วยงานรัฐ สถาบันอุดมศึกษา เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ เภสัชกร แพทย์แผนไทย เป็นต้น โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์จะต้องร่วมกับหน่วยงานรัฐตามเงื่อนไข

อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนปลูก สกัด ผลิตยังต้องขออนุญาต แต่หลังจากนั้นพวกวัตถุดิบที่เหลือ ยังเปลือก ลำต้น เส้นใย ฯลฯ ที่ปลดล็อกแล้วสามารถนำไปผลิตเพื่อใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้ โดยผู้ที่จะนำวัตถุดิบเหล่านี้ไปใช้จะต้องนำมาจากผู้ที่ได้รับอนุญาตปลูก สกัด ผลิตเท่านั้น ซึ่งก็จะมีเลขที่อนุญาต หรือสอบถามทาง อย.ได้ว่า ใครได้รับอนุญาต

การปลูกกัญชาและกัญชงยังต้องขออนุญาตตามกฎหมายยาเสพติด แต่เมื่อปลูกไปแล้วส่วนที่มีสาร THC ต่ำ ไม่เป็นอันตราย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องทำลายทิ้ง โดยผู้ขออนุญาตจะต้องแจ้ง อย.ว่าจะนำส่วนที่ไม่เป็นยาเสพติดไปใช้ประโยชน์อย่างไร ส่วนการนำกัญชาไปใช้จะต้องได้มาจากผู้รับอนุญาตที่ถูกกฎหมาย โดยตรวจสอบได้จาก www.fda.moph.go.th หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่โทรศัพท์ 1556 กด 3

สำหรับส่วนที่ปลดล็อกจากยาเสพติดสามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ อาทิ ใบ ทำเป็นชา หรือสครับผิวในเครื่องสำอาง แชมพูและสบู่ ส่วนราก ก็สามารถนำมาสับเป็นผงขัดผิว หรือยาสมุนไพร ส่วนกิ่งก้าน ยังเป็นตำรับยาแผนไทย เป็นต้น

Hfocus 15.12.2563
ประกาศปลดล็อค กัญชง-กัญชา-พืชกระท่อม พ้นยาเสพติด HealthServ
ประกาศปลดล็อค กัญชง-กัญชา-พืชกระท่อม พ้นยาเสพติด HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด