ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สธ.เผยเครือข่ายบริการโรคหัวใจช่วยลดอัตราตายเพิ่มการเข้าถึงยา

สธ.เผยเครือข่ายบริการโรคหัวใจช่วยลดอัตราตายเพิ่มการเข้าถึงยา

ศ.นพ.รัชตะ  รัชตะนาวิน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวสรุปผลการดำเนินงาน โครงการ "วิกฤติโรคหัวใจ ปลอดภัยทั่วโลก (Save Thais from Heart Diseases)" ว่าโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย ในช่วงปี 2548-2552 คนไทยป่วยเป็นโรคหัวใจ ต้องนอนโรงพยาบาลวันละ 1,185 ราย โดยเป็นโรคหัวใจขาดเลือดประมาณ 450 รายต่อวัน เสียชีวิตชั่วโมงล่ะ 2 ราย ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในประเทศไทยจะมีอัตราตายสูงกว่าที่อื่นประมาณ 4-6 เท่า
 
  กระทรวงสาธารณสุขจึงเร่งแก้ปัญหา ทำโครงการ "วิกฤติโรคหัวใจ ปลอดภัยทั่วไทย" โดยพัฒนาศักยภาพสถานบริการระดับปฐมภูมิ  ทุติยภูมิ ตติยภูมิ และสถาบันเฉพาะทาง ให้มีการส่งต่อผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ และพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อเป็นเครือข่ายดูแลผูป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด สร้างระบบในรูปแบบของเครือข่ายบริการ ( Service Plan) เพิ่มครุภัณฑ์การแพทย์ที่ทันสมัยให้เครือข่ายการบริการในภูมิภาคต่าง ๆ พัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อให้ส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพมีช่องทางด่วน(Fast track) เพื่อลดระยะเวลาและขึ้นตอนให้การรักษาผู้ป่วยรวดเร็วเป็นมาตรฐาน เดียวกันทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็วและเป็นธรรม
 
ผลการดำเนินงานตั้งแต่ตุลาคม 2557 – สิงหาคม 2558  จากโรงพยาบาล 288 แห่งที่เข้าร่วมโครงการ มีผู้ป่วยเข้ารับบริการ 14,550 รายเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน 5,884 ราย โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด 8,666 ราย ลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลันจากร้อยละ 17 ในปี 2550 เป็นร้อยละ 10.64 และเพิ่มอัตราการขยายหลอดเลือดจากร้อยละ 65.69 ในปี 2556 เป็นร้อยละ 69.08
 
 ด้าน นพ.สุพรรณ  ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โครงการ "วิกฤติโรคหัวใจปลอดภัยทั่วไทย" กรมการแพทย์ดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เน้นการอบรมให้ความรู้ จัดทำตำรามาตรฐานการรักษา คู่มือการอ่านคลื่นไฟฟ้าหัวใจพัฒนาการบริหารจัดการข้อมูลระดับประเทศ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รับฟังปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากโรงพยาบาลทุกสังกัดทั้งรัฐและเอกชน ตั้งเป้าเพิ่มศักยภาพโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป มีคลินิกให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด( Warfarin Clinic) และให้ทุกเขตสุขภาพมีคลินิกรักษาผู้ป่วยหัวใจวาย (Heart Failure Clinic) อย่างน้อยเขตละ 1 แห่ง โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งให้ยาละลายลิ่มเลือดได้
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด