ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อ่านฉลากยาให้เป็น เก็บยาให้ถูกวิธี จะปลอดภัยจากการใช้ยา

อ่านฉลากยาให้เป็น เก็บยาให้ถูกวิธี จะปลอดภัยจากการใช้ยา HealthServ.net

การอ่านฉลากยาเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ นอกจากจะช่วยรักษาประโยชน์และให้ความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคแล้ว ยังเป็นแหล่งที่ให้ความรู้ด้านยาด้วย ฉลากยาที่พบได้บ่อย คือ ฉลากยาจากบริษัทผู้ผลิตและฉลากยาจากสถานพยาบาล/คลินิก/ร้านขายยา

อ่านฉลากยาให้เป็น เก็บยาให้ถูกวิธี จะปลอดภัยจากการใช้ยา ThumbMobile HealthServ.net
อ่านฉลากยาให้เป็น เก็บยาให้ถูกวิธี จะปลอดภัยจากการใช้ยา HealthServ
 

ข้อมูลที่ปรากฏบนฉลากยา

 
1. ชื่อยา มีทั้งชื่อสามัญทางยาและชื่อทางการค้า ยาชนิดเดียวกันอาจมีชื่อการค้าหลายชื่อ หรือมีหลายยี่ห้อ ผู้ใช้ยาจึงควรทราบสูตร ส่วนประกอบ หรือชื่อสามัญทางยาของยาที่ใช้ เพื่อหลีกเลี่ยงตัวยาที่แพ้ หรือการใช้ยาซ้ำซ้อน อันเป็นสาเหตุของการใช้ยาเกินขนาดที่อาจจะเป็นอันตรายได้
 
2. วันผลิตและวันหมดอายุ ช่วยให้หลีกเลี่ยงอันตรายจากยาที่เสื่อมสภาพเนื่องจากการใช้ยาที่หมดอายุแล้ว วันหมดอายุของยาจึงบอกช่วงเวลาที่ควรใช้หรือจ่ายยา ผู้ผลิตอาจจะใช้ตัวย่อภาษาอังกฤษแทนข้อความภาษาไทย เช่น 

MFG. date หรือ MFd ย่อมาจากคำว่า manufacturing date แปลว่าวันที่ผลิต เช่น
  • MFd 22/6/16 หมายถึง ยานี้ผลิตเมื่อวันที่ 22 เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 หรือ พ.ศ. 2559
  • EXP หรือ Exp. date ย่อมาจากคำว่า expiration date แปลว่า วันที่หมดอายุ เช่น EXP JUL 17 หมายถึง ยานี้หมดอายุเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2017 หรือ พ.ศ. 2560
 
3. ผลข้างเคียงของยา ข้อห้ามใช้และคำเตือน เป็นข้อความที่ผู้ใช้ยาควรให้ความใส่ใจและให้ความสำคัญ เนื่องจากยานั้นอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ใช้ได้ เช่น รับประทานยานี้แล้วอาจทำให้ง่วงนอนไม่ควรใช้เครื่องจักรหรือขับขี่ยานพาหนะ เป็นต้น หากผู้ใช้ยาไม่เข้าใจข้อความในเอกสารกำกับยา สามารถขอคำปรึกษาจากเภสัชกรได้
 
4. เลขทะเบียนตำรับยา บนบรรจุภัณฑ์มักจะมีคำว่า Reg. No หรือเลขทะเบียนที่ หรือทะเบียนยา สิ่งนี้แสดงให้ผู้บริโภคทราบว่า ยานั้นได้ผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้วว่ามีผลในการรักษาจริง
 
5. ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ เป็นการแสดงข้อมูลให้ผู้ใช้ทราบว่ายาดังกล่าวมีข้อควรระวังในการใช้ยามากน้อยแค่ไหน หรือควรใช้ยานี้ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร โดยมากจะแสดงข้อความด้วยอักษรสีแดงบนบรรจุภัณฑ์


6. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต เป็นข้อมูลที่มีความสำคัญโดยเฉพาะกรณีที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับยาของบริษัทนั้นๆ ผู้บริโภคสามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงเพื่อร้องเรียนได้ถูกต้อง โดยระบุเลขที่หรือครั้งที่ผลิตของยานั้นเพื่อให้หน่วยงานรับเรื่องทำการตรวจสอบได้ถูกต้องและรวดเร็ว
 
7. ชื่อและนามสกุลของผู้ป่วย ฉลากยาจากสถานพยาบาลจะแสดงชื่อและนามสกุลของผู้ป่วยกำกับทุกครั้ง นอกจากจะเป็นประโยชน์ในการส่งมอบยาให้ผู้ป่วยถูกรายแล้ว ยังมีความหมายอีกนัยหนึ่งเพื่อเตือนใจผู้ป่วย คือ ไม่ควรแบ่งยาให้ผู้อื่นหรือรับประทานยาของผู้อื่น เนื่องจากแต่ละคนอาจมีโรคที่แตกต่างกัน หรือยามีข้อห้ามใช้ในผู้ป่วยบางราย ความรุนแรงของโรคต่างกัน รวมถึงขนาดยาที่ใช้แตกต่างกัน นอกจากจะไม่ช่วยในการรักษา อาจส่งผลเสียต่อผู้อื่นได้

เก็บรักษาอย่างถูกต้องทำอย่างไร 

 
1. แยกเก็บในที่เฉพาะ 
หมายถึงเก็บในตู้ยาเท่านั้น หรือกล่องหรือภาชนะ หรืออื่นๆ ที่เก็บเฉพาะยาเท่านั้น ไม่ควรปะปนกับสิ่งอื่น

ควรเก็บยาไว้ในตู้ต่างหากที่สูงเกินเด็กเล็กเอื้อมถึง
ไม่ควรเก็บยาในตู้กับข้าวปะปนกับสารอาหารหรือสารเคมีอื่นๆ
 
2. จัดแยก ประเภทของยา
ควรจัดแยกเป็นสัดส่วน เช่น ยากิน แยกออกจากยาทาภายนอก ยาแบบครีม หรือ ยาสูดดม 

เฉพาะอย่างยิ่ง ยาที่มีลักษณะเป็นน้ำ อาจจะทำให้สับสนได้ โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน หรือผู้สูงอายุ ที่อาจหยิบผิด ไม่ได้อ่านฉลาก (หรืออ่านไม่ออก) จะทำให้เกิดอันตรายได้ 
 
3. เก็บยาให้พ้นจากแสงแดด หรือ ความร้อน
ยาทุกชนิด ไม่ควรถูกความร้อนหรือแสงแดด
การวางยาบนหลังตู้เย็นหรือโทรทัศน์ก็ต้องหลีกเลี่ยง เพราะความร้อนจากเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้จะส่งถึงตัวยาได้ 

โดยทั่วไปแล้วไม่จำเป็นต้องเก็บยาไว้ในตู้เย็น  การเก็บไว้ในตู้เย็น (ห้ามใส่ช่องแช่แข็ง) อาจรักษาคุณภาพยาได้นานขึ้นแต่ต้องแยกเก็บต่างหากอย่างมิดชิด เพราะเด็กเล็กอาจเปิดตู้เย็นและเข้าใจว่าเป็นขนม           
 
4. ติดฉลากยาทุกชนิด
ยาทุกซอง ขวด กล่อง ฯลฯ หรือในภาชนะหีบห่อลักษณะใดก็ตาม  จะต้องมีฉลากติดไว้เสมอ  อาจจะเก็บในซองยา กล่องหรือหีบห่อ ดั้งเดิม จะดีที่สุด  เพราะมีการระบุชื่อและรายละเอียด ไว้อย่างชัดเจนแล้ว 

หากกรณีซองยาเดิม กล่องหรือหีบห่อเดิม ไม่มี  สามารถบรรจุใหม่ได้ โดยต้องระบุฉลากไว้อย่างชัดเจน (เขียนหรือพิมพ์ติดไว้) 

ถ้าฉลากเลอะเลือนหรือฉีกขาดต้องรีบทำใหม่ ถ้าไม่แน่ใจควรทิ้งยาไปเลย หรือปรึกษาเภสัชกร อย่าเดาเอาเอง
 
5. ตรวจสอบวันหมดอายุของยาบนกล่องหรือฉลาก อยู่เสมอ 
หากพบว่ายาหมดอายุควรทิ้งทันที ไม่ควรเก็บหรือนำมาใช้งานอีก เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้ 
 
6. ลักษณะของยาที่เปลี่ยนไปจากเดิม ควรทิ้งทันที
หากยาที่ใช้อยู่ มีลักษณะที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น สีขาวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง น้ำที่ใสเปลี่ยนเป็นขุ่นหรือตกตะกอน ควรทิ้งทันที แม้จะยังไม่หมดอายุก็ตาม 

7. อย่านำยาต่างชนิดมาใส่ปะปนกัน เด็ดขาด
เพราะจะความสับสน เข้าใจผิด หยิบผิดในการใช้งานได้ง่ายมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาฉุกเฉิน  การใช้ยาผิด จะทำให้เกิดอันตรายจากการใช้ยา  
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด