ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

แก้ปัญหามลพิษฝุ่นละออง PM2.5 ผ่านมาตรการภาคการขนส่งและยานยนต์

แก้ปัญหามลพิษฝุ่นละออง PM2.5 ผ่านมาตรการภาคการขนส่งและยานยนต์ HealthServ.net
แก้ปัญหามลพิษฝุ่นละออง PM2.5 ผ่านมาตรการภาคการขนส่งและยานยนต์ ThumbMobile HealthServ.net

ประเทศไทยประสบปัญหาจากมลพิษฝุ่นละออง PM2.5 มาหลายปีและคงตลอดไป กรมควบคุมมลพิษให้ข้อมูลว่าแหล่งปฐมภูมิของฝุ่นละออง PM2.5 ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมาจากมลพิษของยานยนต์ที่อยู่บนท้องถนนโดยเฉพาะจากเครื่องยนต์ดีเซล จึงนำมาซึ่งข้อเสนอแผนกลยุทธ์แก้ไขปัญหา PM2.5 ในภาคการขนส่งและยานยนต์

 
 

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5

ในช่วงเดือนต้นปีคนไทยทั้งประเทศเริ่มตระหนักถึงอันตรายของมลพิษฝุ่นละออง (Particulate Matter) โดยเฉพาะ PM2.5 ซึ่งเป็นกลุ่มของฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมโครเมตร หรือไมครอน หากพิจารณาที่ต้นเหตุของฝุ่นละออง PM2.5 แหล่งปฐมภูมิส่วนใหญ่เกิดจากการเผาไหม้จากเครื่องยนต์การเผาไหม้ในโรงงาน การเผาไหม้ในที่โล่งจากการทำการเกษตรหรือขยะ เป็นต้น
 
 ทั้งนี้ ทางกรมควบคุมมลพิษให้ข้อมูลว่าแหล่งปฐมภูมิของฝุ่นละออง PM2.5 ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมาจากมลพิษของยานยนต์ที่อยู่บนท้องถนนโดยเฉพาะจากเครื่องยนต์ดีเซล อย่างที่ทราบกันดีในกทม.มีการจราจรที่ติดขัดและหนาแน่นมาก ซึ่งเป็นปัญหาของเมืองใหญ่ที่มีการเติบโตของจำนวนยานยนต์บนท้องถนนเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่องตามการเติบโตทางเศรษฐกิจแต่มักขาดการบริหารจัดการในเรื่องของการขนส่งที่มีประสิทธิภาพและทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมเช่นนี้ตามมา
 
นอกจากนี้จะเห็นได้ว่าในช่วงเดือน ธ.ค.-ก.พ. ของทุกปี ค่าฝุ่นละออง PM2.5 จะเพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วงอื่นเนื่องมาจากสภาวะอากาศที่ค่อนข้างหยุดนิ่งและมีอุณหภูมิเย็นกว่า ทำ ให้การถ่ายเทของมลพิษในอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยและแขวนลอยอยู่บนชั้นบรรยากาศที่เราหายใจเข้าไป เมื่อเราหายใจเอาฝุ่นละออง PM2.5 เข้าไปในร่างกายในระดับที่สูง (WHO แนะนำค่าเฉลี่ย 24 ชม. ไม่ควรเกิน 25 µg/m3) อย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ โดยทางการแพทย์ได้มีการยืนยันว่าจะทำ ให้มีความเสี่ยงต่อโรคทางเดินหายใจ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ เป็นต้น
 
 

การบริหารการจราจรในช่วงติดขัด

ประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือการเกิดการจราจรที่ติดขัด ทำให้รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์อยู่กับที่และปล่อยมลพิษสู่บรรยากาศการแก้ปัญหาระยะยาว เช่น การส่งเสริมให้ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลและหันมาใช้การขนส่งสาธารณะ อย่างไรก็ตามในเขตกรุงเทพมหานครมีการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนสาธารณะหลายสายแต่กว่าจะเสร็จสิ้นทั้งหมดคงต้องใช้เวลาอีกหลายปีหากสังเกตจะเห็นว่าปัญหาการจราจรส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเป็นช่วงเวลาเฉพาะเช่น ในช่วงเช้าและเย็น โดยเฉพาะในช่วงเปิดเทอมของโรงเรียนหากบริหารจัดการการจราจรทั้งระบบและลดความต้องการใช้ถนนในช่วงเวลาเร่งด่วนได้จะสามารถบรรเทาปัญหาจราจรลงได้บ้างโดยขอยกตัวอย่าง ดังนี้
 
 
Car Sharing "การบริหารจัดการให้ลูกหลานไปโรงเรียนพร้อมกัน" เช่น
 
CarPool "บ้านใกล้ฉันไปด้วย"เช่น ส่งเสริมให้ผู้ปกครองที่มีบ้านใกล้ร่วมมือกันโดยอาจจะตลงกันที่จะสลับกันไปรับส่งนักเรียน เพื่อลดการใช้รถยนต์ในเส้นทางเดียวกัน เป็นต้น
 
SchoolBus "รถโรงเรียน พาสุขสันต์" ส่งเสริมให้โรงเรียนมีบริการรถโรงเรียนที่มีมาตรฐานและความปลอดภัย
 
Walk to School Together "เดินไปเรียนฉันกับเธอ" ส่งเสริมให้มีการเรียนใกล้โรงเรียนในรัศมีที่สามารถเดินหรือใช้จักรยานได้
 
Peak Management "บริหารจัดการช่วงเวลาเร่งด่วน" ควรมีการบริหารจัดการช่วงเวลาที่มีจราจรหนาแน่น ยกตัวอย่าง เช่น โรงเรียนจะเข้าเรียนใกล้เวลากัน ขอให้ทุกโรงเรียน ไม่จำเป็นต้องเข้าโรงเรียนพร้อมกัน โรงเรียนในพื้นที่เดียวกัน ควรมีเวลาเข้า-เรียนแตกต่างกัน
 
Work at Home "ทำงานที่บ้าน" หน่วยงานควรมี ช่วงเวลาทำงานยืดหยุ่น (Flexible working hour) ในการทำงานของบุคลากรที่ไม่จำเป็นต้องเข้ามา สามารถเริ่มงานหรือเลิกงานในช่วงเหมาะสม และให้สามารถทำงานที่บ้าน ในบางวันและเวลา โดยมีการตกลงกับหน่วยงานที่ชัดเจน และประเมินจากความสามารถเป็นหลัก
 
School at Home "เรียนที่บ้าน" เริ่มให้มีการจัดการการเรียนการสอนแบบผ่านอินเตอร์เน็ต อาจจะเริ่มจาก โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ให้มีอย่างน้อย 1 วัน ในหนึ่งอาทิตย์ และจัดให้มีระบบที่สามารถทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างครูอาจารย์และนักเรียน ได้ด้วย
 
Congestion Charge Zone "เขตรถติด" หากพยายามแก้ทุกวิธีแล้วแต่ไม่สามารถบรรเทาปัญหาการจราจรได้ควรพิจารณากำหนดเขตควบคุมรถยนต์ส่วนบุคคลขึ้น โดยเลือกจากบริเวณที่มีระบบการขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพอยู่แล้วเพราะผู้เดินทางมีทางเลือกได้ ทั้งนี้ควรมีการสร้างให้เกิดจุดเชื่อมต่อของการเดินทางเข้าสู่ระบบขนส่งสาธารณะ ให้มีความสะดวกสบาย เช่น จุดจอดรถบริเวณสถานี รถไฟฟ้า เป็นต้น
 
 

การปรับมาตรฐานยานยนต์ใหม่ไปสู่ EURO 5/6

 
ตอนนี้ประเทศไทยมีการใช้รถใหม่ปีละประมาณ 1 ล้านคัน ซึ่งหาก "รถใหม่ทั้งหมดขยับเป็น ยูโร 5 และ ยูโร 6 ให้เร็วที่สุด" จะเป็นการช่วยลดปัญหามลพิษได้เร็วขึ้น ทั้งนี้หากมีต้นทุนที่สูงขึ้นทางผู้ผลิตคงที่ต้องมาช่วยแก้ปัญหาร่วมกัน นอกจากนี้"ควรเร่งให้เกิดนํ้ามันมาตรฐานยูโร 5 ขึ้นในประเทศโดยเร่งด่วน" ซึ่งนํ้ามันยูโร5จะมีองค์ประกอบของซัลเฟอร์(Sulfur) ลดลงอยู่ที่ 10 ppm โดยปัจจุบันมีกลุ่มรถยนต์ยูโร 5 และ 6 ในประเทศ ที่สามารถใช้เชื้อเพลิง EURO 5 ได้จำนวนหนึ่งนั้นหมายถึงตอนนี้ประเทศเสียโอกาสการลดมลพิษในรถยนต์กลุ่มนี้อยู่จาก ข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในปัจจุบัน มีรถยนต์ที่เป็นมาตรฐานยูโร5จำ นวน 61 รุ่น (ที่มา HYPERLINK"http://www.car.go.th/new/Euro5" http://www.car.go.th/new/Euro5) และมาตรฐานยูโร 6 จำนวน 127 รุ่น (ที่มา HYPERLINK "http://www.car.go.th/new/Euro6" http://www.car.go.th/new/Euro6 )
 
 
 
 
 

สรุปข้อเสนอแผนกลยุทธ์แก้ไขปัญหา PM2.5 ในภาคการขนส่งและยานยนต์
 

1. การใช้เทคโนโลยียานยนต์ที่สะอาดสำหรับยานยนต์ใหม่
 
  • ผลักดันให้เกิดการปรับมาตรฐานของยานยนต์ใหม่ไปสู่ EURO 5 และ EURO 6 ให้เร็วที่สุด
  • กำหนดให้ยานยนต์สาธารณะใหม่เป็นยานยนต์ ไฟฟ้าทั้งหมด
  • ส่งเสริมให้ประชาชนสามารถใช้รถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลได้ในราคาที่เหมาะสม
  • กำหนดเป้าหมายในการยกเลิกการจำหน่ายยานยนต์เครื่องยนต์
 
 
2. การใช้เชื้อเพลิงสะอาด
 
  • ปรับมาตรฐานเชื้อเพลิงตามข้อกำหนดของ EURO 5 ซึ่งมีองค์ประกอบของซัลเฟอร์(Sulfur) ลดลงอยู่ที่ 10 ppm
  • ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) เช่น เอทานอล และไบโอดีเซล
  • ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงที่ไม่มีมลพิษ เช่น ไฟฟ้าและไฮโดรเจน

 
3. มาตรการการจัดการรถใช้งานและรถเก่า
 
  • ควรกําหนดมาตรการควบคุมมลพิษรถยนต์ใช้งานอยู่อย่างเข้มงวด และมีการกำจัดรถเก่าที่หมดสภาพ
  • การติดตั้งอุปกรณ์บำบัดไอเสีย ได้แก่ เครื่องบำบัดไอเสีย และ Diesel Particulate Filter (DPF) ในรถยนต์เก่า
  • ส่งเสริมให้ช่วยกันดูแลบำรุงรักษาเครื่องยนต์อย่างสมํ่าเสมอ เและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่ให้ประหยัดเชื้อเพลิง
 
 
4. มาตรการลดการเดินทางจากการใช้ยานยนต์
 
  • ผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะที่มีคุณภาพดีและสร้างให้เกิดจุดเชื่อมต่อของการเดินทางเข้าสู่ระบบขนส่งสาธารณะให้มีความสะดวกสบาย
  • ส่งเสริมการใช้จักรยาน หรือการเดินเท้าสำหรับการเดินทางระยะสั้น
  • การบริหารจัดการแก้ไขปัญหาการจราจร
แก้ปัญหามลพิษฝุ่นละออง PM2.5 ผ่านมาตรการภาคการขนส่งและยานยนต์ HealthServ
 
 

ส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าควบคู่พลังงานหมุนเวียน

 
 ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องแน่นอนนั้นหมายถึงจำนวนยานยนต์ทั้งส่วนบุคคลและสาธารณะที่จะเพิ่มขึ้นในช่วงอีก 10 ปีข้างหน้าดังนั้น "การส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าอย่างจริงจังจะเป็นการช่วยลดปัญหา PM2.5 ของประเทศในระยะยาว" ยกตัวอย่าง เช่น กำ หนดให้ยานยนต์สาธารณะใหม่ทั้งหมดต้องเป็นยานยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด เช่น รถโดยสารไฟฟ้า รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า รถมอเตอร์ไซค์รับจ้างไฟฟ้าและรถแท็กซี่ไฟฟ้า เป็นต้น รวมทั้งการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถซื้อรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลในราคาที่เหมาะสมและควรหารือกับทุกภาคส่วนในการตั้งเป้าการยกเลิกการจำหน่ายยานยนต์เครื่องยนต์ในอนาคตเพื่อให้เกิดการเตรียมความพร้อมในภาคอุตสาหกรรมและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยควรมีการพิจารณาควบคู่ไปการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงแดด หรือพลังงานลม เป็นต้น
 
หวังว่าการที่เกิดวิกฤตฝุ่นละออง PM2.5 จะทำให้เราทุกคนเห็นถึงความสำคัญในเรื่องของสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้นทั้งนี้เราคงหลีกเลี่ยงและปฏิเสธการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ได้ ดังนั้นทุกภาคส่วนต้องตระหนักถึงการพัฒนาเศรษฐกิจที่ต้องควบคู่ไปกับการดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมของประเทศร่วมกันทุกคน เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป


โดย ดร. ยศพงษ์ ลออนวล 
นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย
เดือนเมษายน-มิถุนายน 2562
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด