ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

หมอนรองกระดูกสันหลัง เคลื่อนกดทับเส้นประสาท (Herniated Nucleus Pulposus)

โรคที่เกิดจาการแตกของหมอนรองกระดูกสันหลังโดยมีส่วนไส้ของหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน ถอยหลังออกมากดทับเส้นประสาทไขสันหลัง

 
 
อาการของโรค
 
                 ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวด ชา หรืออ่อนแรงจากการทำงานที่ผิดปกติของเส้นประสาทที่โดยกดนั้น สามารถเกิดในคนตั้งแต่วัยรุ่นไปจนถึงวัยสูงอายุ เกิดได้กับหมอนรองกระดูกสันหลังทุกระดับตั้งแต่ระดับ กระดูกสันหลังส่วนคอไปจนถึงกระดูกสันหลังส่วนเอว ถ้าโรคนี้เป็นในระดับกระดูกคอ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตามเส้นประสาทจาก ไหล่ ศอก ลงมาถึงปลายนิ้ว อาจเป็นตลอดเวลา หรือเป็นเฉพาะหันหน้าซ้าย-ขวา หรืออาจชาที่ปลายมือร่วมด้วย รายที่เป็นมากมือและแขนอาจอ่อนแรงกว่าอีกข้างจนรู้สึกได้และถ้าหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อนทับเส้นประสาท ถ้าโรคนี้เป็นในระดับเอว จะมีอาการปวดเส้นประสาทจากบริเวณสะโพก้นกบ ลงมาต้นขามักจะปวดเลยเข่าลงไปจนถึงข้อเท้าไปจนถึงนิ้วเท้า ปวดจะเป็นมากเวลานั่งนาน เช่น นั่งขับรถนานจะปวด โดยเฉพาะตอนลุกออกจากรถ ไอจามเบ่งมักปวดขึ้นมีอาการชาหรือรู้สึกลดลงที่ปลายเท้าด้วย หรือเป็นมากจะมีอาการอ่อนแรงของขาจนทำให้มีอาการขาอ่อนเดินกระเผลก หรือเดินไม่ได้ตามปกติ พยาธิสภาพของหมอนรองกระดูกสันหลังแตกเคลื่อนกดทับเส้นประสาทนี้ พบว่ามีการปลิ้นของไส้ในของหมอนรองกระดูสันหลังที่มีลักษณะคล้ายเจลลี่ มาทางด้านหลังเข้าไปในโพรงของไขสันหลัง (Spinal Cannal) ไปเบียดทับเส้นประสาทที่มาเลี้ยงความรู้สึก และการทำงานของกล้ามเนื้อแขนขาทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดแขนหรือขา
 
 
 
การรักษา
 
                โรคกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังทับเส้นประสาทนั้นการรักษาที่ใช้กันอยู่ก็มีการรับประทานยา การทำกายภาพบำบัด การผ่าตัดแล้วแต่ข้อบ่งชี้ ส่วนการออกกำลังกายหรือการบริหารร่างกายที่ถูกต้องก็คือ เริ่มตั้งแต่การปฏิบัติตัว ควรนั่งทำงานให้ตัวตรง หลังชิดพนักพิง และไม่ควรนั่งทำงานนาน ๆ ติดต่อกันควรเปลี่ยนอิริยาบถบ้าง ส่วนการบริหารนั้น ก็การออกกำลังกายทั่วไป เช่น เดิน ว่ายน้ำท่าฟรีสไตล์ ก็สามารถทำได้ การบริหารกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้องในช่วงที่มีอาการปวดมากไม่ควรทำ เมื่ออาการดีขึ้นอาจจะเริ่มบริหารโดยการนอนหงายชันเข่า แล้วเกร็งเหลังให้ส่วนที่โค้งของหลัง แนบพื้นกระดกก้นเล็กน้อย ค้างไว้ 5 วินาทีแล้วคลาย ทำซัก 10 ครั้งก็พอ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด