ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ภาวะตัวเหลืองในทารก

พบได้ 50% โดยค่าสารเหลืองที่เราเห็นที่ผิวเด็กวัดได้จากการตรวจค่า บิลิรูบิน ในเลือดซึ่งเกิดจากการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงในเด็ก ค่าบิลิรูบิน นี้จะถูกกำจัดโดยตับ และขับออกทางลำไส้ ผ่านทางอุจจาระของทารก

 
สาเหตุหลักแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม 
กลุ่มแรกคือภาวะตัวเหลืองแบบปกติ(Physiologic jaundice) จะไม่มีอันตราย ส่วนอีกกลุ่มคือภาวะตัวเหลืองแบบไม่ปกติ (Pathologic jaundice)เป็นอันตราย ทราบสาเหตุชัดเจน เกิดจากสาเหตุดังนี้
 
1. มีการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงที่เพิ่มขึ้น
2. การที่ตับทำงานผิดปกติ
3. การที่ทารกได้กินนมมารดา สาเหตุสุดท้ายนี้กลไกไม่ได้ชัดเจนว่าเกิดจากอะไร
 
วิธีการรักษา 
ถ้ากลุ่มปกติ ทารกอายุ 7-10 วัน ค่าเหลืองจะค่อยๆลดลงเอง ส่วนในกลุ่มอันตราย ต้องรักษา โดยมีเกณฑ์การรักษาตาม (American academy of Pediatric ) ซึ่งมี 2 หลักในการรักษาคือ
 
1. ถ้าค่าเหลืองไม่สูงมากเราจะส่องไฟ จะทำให้ค่าเหลืองลดลง
2. ถ้าระดับค่าเหลืองสูงมาก หรือรักษาโดยการส่องไฟแล้วไม่ลด จะต้องทำการรักษาโดยเปลี่ยนถ่ายเลือด
 
         มีคำกล่าวว่าให้พาทารกออกแดดก็จะดีขึ้น เรื่องนี้คุณหมอบอกว่าก็ช่วยได้บ้าง แต่ที่จริงความเข้มแสงของแสงแดดกับความเข้มแสงของไฟที่เราใช้รักษานั้นคนละความเข้มแสงกัน และระยะเวลาในการส่องไฟแตกต่างกัน ฉะนั้น จะช่วยรักษาได้ 100% เลยก็คงมิใช่
 
         วิธีสังเกต คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตจากสีผิวลูกบริเวณใบหน้า,ลำตัวและขา ถ้าสังเกตว่าผิวลูกเหลืองมาถึงลำตัวแล้วควรพากลับมาโรงพยาบาลเพื่อเจาะเลือดรักษา
 
          คุณแม่บางท่านกังวลว่าจะต้องหยุดให้นมช่วงส่องไฟหรือไม่ คุณหมอแนะนำว่า คุณแม่สามารถหยุดให้นมจากอกเมื่อมีค่าเหลืองสูงถึงค่าที่กำหนดเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง จนค่าเหลืองลดลงเป็นปกติก็กลับมาทานนมแม่ได้ คุณแม่ไม่ต้องกังวล และถ้าค่าเหลืองลดลงแล้ว ทารกจะไม่กลับมาเป็นภาวะตัวเหลืองอีก
 
 
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
แผนกกุมารเวช รพ.วิภาวดี 
โทร 025611111ต่อ4220,4221
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด