ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

การทดสอบภาวะการเป็นลมหมดสติโดยการปรับระดับเตียง (Tilt Table Test)

การทดสอบภาวะการเป็นลมหมดสติโดยการปรับระดับเตียง (Tilt Table Test)

การทดสอบภาวะการเป็นลมหมดสติโดยการปรับระดับเตียง (Tilt Table Test)

เป็นการตรวจพิเศษที่ใช้ทดสอบในกลุ่มผู้ป่วย ที่มีอาการเป็นลมโดยไม่ทราบสาเหตุ เพื่อหาทางแก้ไขหรือรักษาให้ถูกต้องต่อไป เนื่องจากอาการเป็นลมหมดสติเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจจะมาจากปัญหาทางด้านสมอง หัวใจ หรือความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic nervous systems) Tilt table test เป็นการตรวจหาสาเหตุของการเป็นลมที่เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเป็นลมที่บ่อยที่สุด
 

คำจำกัดความของ “อาการเป็นลมหมดสติ”

คือ การไม่รู้สติสัมปชัญญะอย่างเฉียบพลัน (โดยทั่วไปมักน้อยกว่า 1 นาที) อันเป็นผลมาจากสมองเกิดภาวะขาดออกซิเจนโดยไม่มีความผิดปกติทางระบบประสาทเฉพาะที่ เช่น โรคลมชัก เป็นต้น แม้ว่าการเป็นลมจะไม่ค่อยก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตแต่การเกิดซ้ำ ๆ ก่อให้เกิดความกังวลใจและอาจทำให้เกิดบาดแผลต่อร่างกาย หรือเกิดการผิดปกติทางสมองได้
 

ข้อบ่งขี้ในการทดสอบ

การทดสอบชนิดนี้เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการเป็นลมบ่อย ๆ หรือเป็นลมง่าย เช่น ยืนเข้าแถวนาน ๆ ถูกแดด ร่างการขาดน้ำ พักผ่อนน้อย อดนอน ดื่มสุรามาก
 

หลักการทดสอบ

ทำได้ง่ายแม้เป็นผู้ป่วยนอกไม่ต้องนอนโรงพยาบาล การทดสอบจะกระทำในห้องที่มีเตียงพิเศษ สามารถปรับระดับองศาของเตียงได้ โดยปรับระดับเตียงจากนอนราบเป็นประมาณ 70-80 องศา เป็นเวลาประมาณ 15-20 นาที บางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้ยาร่วมด้วย เพื่อให้เลือดไปคั่งอยู่ที่ส่วนล่างของร่างกายซึ่งแพทย์จะวิเคราะห์ผลการทดสอบจากอัตราชีพจรความดันโลหิต ลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และอาการของผู้ป่วยคือหน้ามืดเป็นลมขณะยืนทดสอบ และอาการจะดีขึ้นทันทีเมื่อปรับเตียงสู่แนวราบ
 

การเตรียมตัว

งดน้ำอาหารอย่างน้อย 3-6 ชั่วโมง ก่อนการทดสอบเพื่อป้องกันการสำลักเนื่องจากการคลื่นไส้ อาเจียนซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ในขณะทดสอบช
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด