ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อาหารกับโรคไขมันในเลือดสูง

อาหารกับโรคไขมันในเลือดสูง HealthServ.net
อาหารกับโรคไขมันในเลือดสูง ThumbMobile HealthServ.net

การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตนั้น เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการป้องกันความดันโลหิตสูง สำหรับการดูแลผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูง ในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน โดยน้ำหนักตัวที่ลดลง 10 กิโลกรัม จะลดความดันโลหิตซิสทอลิค (ความดันช่วงหัวใจบีบตัว) ได้โดยเฉลี่ย 5-20 มิลลิเมตรปรอท

  • สำหรับผู้ที่น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ ก็ควรดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ต่อไป
  • ควบคุมดัชนีมวลกาย = 18.5-22.9 Kg/m2
  • ลดการรับประทานอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง
  • ทำกิจกรรมการเคลื่อนไหว หรือออกกำลังกาย 3-4 ครั้ง ต่อสัปดาห์
  • การรับประทานอาหารในรูปแบบ DASH Diet
  • การเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยผัก ผลไม้ นม และผลิตภัณฑ์จากนมที่ไขมันต่ำ รวมถึงการลดการบริโภคไขมันอิ่มตัว
  • การจำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ชายไม่เกิน 2 ดริ๊งก์/วัน ผู้หญิงไม่เกิน 1 ดริ๊งก์/วัน
  • จำกัดการดื่มชา-กาแฟ
  • เลิกสูบบุหรี่ ลดภาวะเครียด
     


โซเดียม (Sodium) เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ปรับสมดุลของของเหลวในร่างกาย ควบคุมการเต้นของหัวใจ และมีผลต่อความดันโลหิต พบได้จากอาหารตามธรรมชาติ เช่น เนื้อสัตว์ ข้าว ผัก โดยมีปริมาณเล็กน้อย แต่คนส่วนใหญ่ได้รับโซเดียมเกินจากเครื่องปรุงรส เช่น เกลือ ซีอิ๊ว น้ำปลา ผงปรุงรสและอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก หมูหยอง กุนเชียง รวมถึงอาหารกระป๋อง เช่น ผักกาดดอง ไข่เค็ม เต้าหู้ยี้ กุ้งแห้ง ปลาเค็ม เป็นต้น การควบคุมปริมาณโซเดียมสำหรับผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูงที่เหมาะสม ไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัมของโซเดียมต่อวัน จะสามารถลดความดันได้ 2-8 มิลลิเมตรปรอท และหากผู้ป่วยบริโภคอาหารแบบ DASH Diet ร่วมกับการจำกัดปริมาณโซเดียม สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดีกว่าการควบคุมเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
 
 
 
ปริมาณโซเดียมในอาหาร

ยกตัวอย่าง
  • ข้าวสวย 1 ทัพพี มีโซเดียม 20 มิลลิกรัม
  • นม 240 มิลลิลิตร มีโซเดียม 120 มิลลิกรัม
  • ขนมปัง 1 แผ่น มีโซเดียม 130 มิลลิกรัม
  • หมูหยอง 2 ช้อนโต๊ะ มีโซเดียม 23 มิลลิกรัม
  • ไส้กรอกหมู 30 กรัม  มีโซเดียม 200 มิลลิกรัม
  • เนื้อหมูสุก 2 ช้อนโต๊ะ มีโซเดียม 30 มิลลิกรัม
 

ปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุงรส

ยกตัวอย่าง
  • ผงชูรส 1 ช้อนชา มีโซเดียม 815 มิลลิกรัม
  • ซอสหอยนางรม 1 ช้อนชา มีโซเดียม 104 มิลลิกรัม
  • ซอสมะเขือเทศ 1 ช้อนชา มีโซเดียม 30 มิลลิกรัม
  • ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนชา มีโซเดียม 238 มิลลิกรัม
  • ซอสถั่วเหลือง 1 ช้อนชา มีโซเดียม 237 มิลลิกรัม
  • เกลือ 1 ช้อนชา มีโซเดียม 2,000 มิลลิกรัม
  • น้ำปลา 1 ช้อนชา มีโซเดียม 500 มิลลิกรัม
  • ซุปก้อน 1 ก้อน (10 กรัม) มีโซเดียม 1,760 มิลลิกรัม
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด