ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กลยุทธ์สร้างเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีน

กลยุทธ์สร้างเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีน HealthServ.net
กลยุทธ์สร้างเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีน ThumbMobile HealthServ.net

ประเทศจีนมีนโยบายสนับสนุนยานยนต์พลังงานใหม่ หรือ New Energy Vehicle (NEV) ตั้งแต่ปี ค.ศ.2010 โดยที่ผ่านมารัฐบาลจีนได้ตั้งเป้าหมายให้มียานยนต์พลังงานใหม่ NEV 5 แสนคัน และ 5 ล้านคัน ภายในปีค.ศ. 2015 และ ค.ศ. 2020 ตามลำ ดับ รวมทั้งตั้งเป้าสร้างสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะมากกว่า 12,000 สถานีทั่วประเทศและให้มีจุดประจุไฟฟ้า 4.8 ล้านหัวจ่ายภายในปี ค.ศ. 2020 เพื่อรองรับรถยนต์ไฟฟ้า 5 ล้านคัน

 
โดยกลไกหนึ่งที่สำ คัญในการสร้างตลาดภายในประเทศ ได้แก่ การที่รัฐบาลกลางของจีนให้เงินสนับสนุนการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า (PHEV, BEV และ Fuel Cell EV) ที่ผลิตในจีนและเป็นยี่ห้อของจีน ยกตัวอย่างเช่นในปี ค.ศ. 2013 ผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า BEV ที่วิ่งได้ถึง 250 กิโลเมตรต่อการประจุ รัฐบาลกลางให้การสนับสนุนถึง 60,000 หยวน (300,000 บาท) ซึ่งยังไม่รวมถึงรัฐบาลท้องถิ่นที่มีการสนับสนุนเพิ่มเติมอีก 
 
 

สร้างยี่ห้อรอง (sub-brand)


ในช่วงปีค.ศ. 2011 รัฐบาลกลางจีนยังได้มีการกำหนดให้บริษัทรถยนต์ต่างชาติในรูปแบบบริษัทร่วมทุน (Joint venture) (ปกติจะถือหุ้น 50-50 ระหว่างบริษัทรถยนต์ต่างชาติและรัฐบาลจีน) ต้องสร้างยี่ห้อรอง (subbrand) ขึ้นใหม่ ซึ่งจะถือว่าเป็นบริษัทจีน 100% และเน้นผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและเข้าร่วมในโครงการ NEV โดยต่อมาในปีค.ศ. 2015 เริ่มจัดทำ แผนให้เกิดการผลิตสินค้าจีนที่มีคุณภาพเรียกว่า“Madein China2025Plan”ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งของแผนนี้อีกด้วย ในช่วงเริ่มต้นบริษัทต่างชาติไม่ค่อยสนใจการสร้างยี่ห้อรอง (sub-brand) เท่าไรนักแต่จำ ใจทำตาม เพราะไม่มีทางเลือกและอาจจะมีผลทางธุรกิจในประเทศจีน ซึ่งก็เกิดมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี  ึ้นจริง แต่เป็นเทคโนโลยีที่เลิกใช้แล้วเป็นรถรุ่นเก่า เป็นต้น มีบางบริษัท เช่น Dongfeng-Nissan ที่ค่อนข้างสนใจทำยี่ห้อ Vehuciaเพื่อขายรถราคาตลาดล่างแต่ในช่วงแรกเองก็ไม่เกิดการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้ามาขายจริงเท่าไรนัก
 
 
กลยุทธ์สร้างเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีน HealthServ

   พอมาในช่วงปีค.ศ. 2013-2014 ตลาดยานยนต์ไฟฟ้าจีนเริ่มมีการเติบโตมากขึ้น ในปีค.ศ. 2015 มียอดขายจาก 3 แสนคัน และขยายเป็น 5 แสนคันในปีค.ศ. 2016 (ในปีค.ศ. 2016 ยอดขายยานยนต์ใหม่ทั้งหมดในประเทศจีนประมาณ 28 ล้านคัน) ทำ ให้บริษัทรถยนต์ต่างชาติเริ่มกลับมาให้ความสนใจโดยเห็นช่องทางของยี่ห้อรอง (subbrand) ในการขายรถยนต์ไฟฟ้า บริษัทนิสสันเองนำ รถยนต์ไฟฟ้ารุ่น LEAF มาขายภายใต้ยี่ห้อVehuciaชื่อรุ่น E30และยังมีบริษัท BMW Brilliance ที่สร้างยี่ห้อรอง (sub-brand)ชื่อ Zhinuoโดยใช้โครงสร้างรถBMW X1 มาทำ เป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบบ PHEVชื่อรุ่น 60H ที่วิ่งด้วยไฟฟ้าถึง 60กิโลเมตรและเริ่มขายภายในประเทศจีนในปีนี้และราคาขายประมาณ 1.7 ล้านบาทเป้าหมายระหว่างปี 2020-2025

 
 ถึงแม้ว่าในอนาคต รัฐบาลกลางของจีนจะมีแผนที่จะลดวงเงินสนับสนุนการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าลงอันเนื่องมาจากแนวโน้มราคาแบตเตอรี่ที่ลดลงในแต่ละปีโดยในระหว่างปีค.ศ.2017-2018 และ ในปีค.ศ. 2019-2020 จะลดลง 20% และ 40% ของฐานการสนับสนุนในปีค.ศ. 2016 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 2017 ที่ผ่านมาได้มีการตั้งเป้าหมายให้มียอดจำ หน่วยยานยนต์พลังงานใหม่ NEV อย่างน้อย 2 ล้านคัน หรือเป็นสัดส่วน7% ของยานยนต์ใหม่ทั้งหมด ภายในปีค.ศ. 2020 และเพิ่มเป้าหมายเป็นอย่างน้อย 20% ของยานยนต์ใหม่ทั้งหมดหรือประมาณ 7 ล้านคัน ภายในปีค.ศ. 2025 รวมไปถึงการพัฒนาต้นทุนแบตเตอรี่ต่อแพ็คให้อยู่ที่ $150/kWh และการพัฒนาให้เซลล์แบตเตอรี่สามารถประจุพลังงานได้ถึง 300-350 Wh/kg ภายในปีค.ศ. 2020 จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่ากลไกสนับสนุนที่สำคัญคือการทำ ให้ราคารถยนต์ไฟฟ้าถูกและมีต้นทุนการถือครองไม่แตกต่างจากรถยนต์เครื่องยนต์และมีความคุ้มค่าในการใช้งานจริงซึ่งจะทำ ให้ผู้บริโภคหันมาซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นและยังเป็นการส่งเสริมการสร้างเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าขึ้นในประเทศจีนอีกด้วย
 

 

ประเทศจีนผู้นำยานยนต์ไฟฟ้าโลกภายในปี 2030

 
 โดยล่าสุดเมื่อระหว่างวันที่ 6-8 มิ.ย. 2017 ในการประชุมระดับรัฐมนตรีเพื่อความร่วมมือด้านพลังงานสะอาด The Clean Energy Ministerial (CEM) ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ซึ่งความร่วมมือทางด้านยานยนต์ไฟฟ้าของหลายประเทศ ได้แก่ แคนาดา จีน ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนีอินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีเม็กซิโกเนเธอร์แลนด์นอร์เวย์ แอฟริกาใต้สวีเดน สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกาได้มีการรณรงค์เกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าชื่อว่า EV30@30 โดยมุ่งหวังให้มียอดจำ หน่ายยานยนต์ไฟฟ้าเป็นอย่างน้อย 30% ภายในปีค.ศ. 2030 ซึ่งนอกจากประเทศจีนจะเป็นเจ้าภาพแล้วยังเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำ ในครั้งนี้ด้วย ซึ่งหากมีการผลักดันอย่างจริงจังจากกลุ่มประเทศดังกล่าวจะยิ่งทำ ให้การคาดการณ์ของ Bloomberg New Energy Finance ซึ่งได้วิเคราะห์ว่ายอดขายยานยนต์ไฟฟ้า (PHEV & BEV) ของโลกจะมีสัดส่วนถึงประมาณ 35% ของยานยนต์ใหม่ทั้งหมดภายในปีค.ศ. 2040 เป็นไปได้เร็วมากยิ่งขึ้น โดยสรุปหากพิจารณานโยบายรถยนต์ไฟฟ้าของประเทศจีน ซึ่งอาจจะถูกมองว่าเป็นเป้าหมายที่จะทำ ได้ยากแต่สิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นแน่นอน คือตลาดยานยนต์ไฟฟ้าของจีนจะเติบโตยิ่งขึ้น มีการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ขึ้นภายในประเทศเอง ทำ ให้มีต้นทุนการผลิตที่ถูกและมีคุณภาพที่สูงขึ้นในระดับสากล โดยปัจจัยดังกล่าวย่อมจะส่งผลต่อภาพรวมของตลาดยานยนต์ไฟฟ้าของโลกรวมไปถึงการเป็นผู้นำ อันดับหนึ่งของโลกในการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ภายในปี ค.ศ. 2030 อีกด้วย
 
เอกสารอ้างอิง
An, Feng (2016) China’s NEV Policies and Market Development, Industrial Upgrading and Economic Growthin China Conference, Ann Arbor, Michigan, 21 Oct 2016.
Bloomberg New Energy Finance (2017)   China’s 2025 Auto Plan Targets Electric 
ยอดจำ หน่ายรถยนต์ไฟฟ้า PHEV & BEV ในระหว่างปี ค.ศ. 2011-2016 Vehicle Growth, 3 May 2017.
 
 ยศพงษ์ ลออนวล
 นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย
กรกฎาคม-กันยายน 2560
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด