ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ประกาศ 28 จังหวัดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด และ 8 มาตรการคุมเข้มรับมือวิกฤตโควิด [TNN]

ประกาศ 28 จังหวัดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด และ 8 มาตรการคุมเข้มรับมือวิกฤตโควิด [TNN] HealthServ.net

ประกาศ 28 จังหวัดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด และ 8 มาตรการคุมเข้มรับมือวิกฤตโควิด [TNN]

ประกาศ 28 จังหวัดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด และ 8 มาตรการคุมเข้มรับมือวิกฤตโควิด [TNN] ThumbMobile HealthServ.net
ประกาศ 28 จังหวัดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด และ 8 มาตรการคุมเข้มรับมือวิกฤตโควิด [TNN] HealthServ
วันนี้ (3 ม.ค.64) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 1/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 เป็นผู้ลงนามคำสั่งในวันนี้

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค. 2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
 
บัญชีรายชื่อจังหวัดที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด แนบท้ายคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 1/2564 ลงวันที่ 3 ม.ค. 2564 รวมทั้งสิ้น 28 จังหวัด ดังนี้
  1. กรุงเทพมหานคร
  2. จังหวัดกาญจนบุรี
  3. จังหวัดจันทบุรี
  4. จังหวัดฉะเชิงเทรา
  5. จังหวัดชุมพร
  6. จังหวัดชลบุรี
  7. จังหวัดตราด
  8. จังหวัดตาก
  9. จังหวัดนครนายก
  10. จังหวัดนครปฐม
  11. จังหวัดนนทบุรี
  12. จังหวัดปทุมธานี
  13. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  14. จังหวัดปราจีนบุรี
  15. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  16. จังหวัดเพชรบุรี
  17. จังหวัดราชบุรี
  18. จังหวัดระนอง
  19. จังหวัดระยอง
  20. จังหวัดลพบุรี
  21. จังหวัดสิงห์บุรี
  22. จังหวัดสมุทรปราการ
  23. จังหวัดสมุทรสงคราม
  24. จังหวัดสมุทรสาคร
  25. จังหวัดสุพรรณบุรี
  26. จังหวัดสระแก้ว
  27. จังหวัดสระบุรี
  28. จังหวัดอ่างทอง
[TNN]
นายกรัฐมนตรีออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลาย ดังเอกสารซึ่งประกอบด้วย 8 มาตรา ดังนี้
 
  1. การห้ามใช้อาคาร หรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค ห้ามการใช้อาคารหรือสถานที่ของโรงเรียนและสถาบันการศึกษาทุกประเภทที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่สถานการณที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด เพื่อจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
    (1) เป็นการเรียนการสอน หรือกิจกรรมเพื่อการสื่อสารแบบทางไกล หรือด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
    (2) เป็นการใช้อาคารหรือสถานที่เพื่อให้ความช่วยเหลือ สงเคราะห์ อุปถัมภ์ หรือให้การอุปการะบุคคล
    (3) เป็นการจัดกิจกรรมของทางราชการ หรือกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยรับอนุญาตจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัด
    (4) เป็นโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษาที่มีขนาดเล็กที่มีจำนวนนักเรียนรวมทั้งโรงเรียนไม่เกิน 120 คน หรือเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
  2. การห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค ห้ามการจัดกิจกรรมในเขตพื้นที่สถานการณ์กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากและมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันโดยง่าย เช่น การประชุม การสัมมนา การจัดเลี้ยง การแจกจ่ายอาหาร หรือสิ่งของต่าง ๆ เว้นแต่เป็นการดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นการจัดกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นสถานที่กักกันโณคโดยมีมาตรการทางสาธารณสุขรองรับ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัด โดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตของพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ความรับผิดชอบ
  3. การปิดสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัด อาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อพิจารณาสั่งปิดสถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ ผับ บาร์ คาราโอเกะ ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดให้เป็นเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด
  4. เงื่อนไขการเปิดดำเนินการ ในเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดให้เป็นเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด ให้สถานที่ กิจการ หรือการทำกิจกรรม ดังต่อไปนี้เปิดดำเนินการได้ภายใต้เงื่อนไข เงื่อนเวลา และการจัดระบบและระเบียบต่าง ๆ ที่กำหนด
    (1) การจำหน่ายอาหาร หรือเครื่องดื่ม ให้จัดระเบียบการเข้าใช้บริการ จำนวนผู้นั่งบริโภคในร้าน การจัดสถานที่ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติและมาตรการป้องกันโรค โดยอาจให้เป็นลักษณะของการนำกลับไปบริโภคที่อื่น โดยให้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 กระทรวงมหาดไทยและศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข ร่วมกันพิจารณาประเมินกำหนดรูปแบบและกำกับการดำเนินการตามข้อปฏิบัติและมาตรการดังกล่าวของแต่ละพื้นที่จังหวัดให้มีความเหมาะสม
    (2) การจำหน่ายสุรา สำหรับร้านอาคารหรือสถานที่ซึ่งจำหน่ายสุรา ห้ามการบริโภคสุราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน
    (3) ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม หรือสถานที่จัดนิทรรศการ ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาเก็ต หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน ให้เปิดทำการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้น ๆ ภายใต้การดำเนินมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด
  5. มาตรการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในพื้นที่ เพื่อป้องกันระงับยับยั้งการแพร่โรคที่สอดคล้องกับสถานการณ์ของแต่ละเขตพื้นที่สถานการณ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัด อาจพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อในการสั่งปิด จำกัด หรือห้ามการดำเนินการของพื้นที่ สถานที่ หรือพาหนะ หรือสั่งให้งดการทำกิจกรรมอื่นในเขตพื้นที่รับผิดชอบซึ่งมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กำหนดได้ โดยให้ดำเนินการตามมาตรการ หรือแนวปฏิบัติตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 15)
  6. การตรวจคัดกรองการเดินทางข้ามจังหวัด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจและคัดกรองการเดินทางโดยใช้เส้นทางคมนาคมข้ามเขตพื้นที่จังหวัด โดยเฉพาะการเดินทางของบุคคลจากเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดให้เป็นเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด ทั้งนี้ ให้ดำเนินการตามมาตรการที่ ศปก.ศบค.กำหนด โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ และต้องไม่เป็นการก่อความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ

    ให้ประชาชนงดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดเว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นซึ่งต้องแสดงเหตุผลและหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ รวมทั้งเข้ารับการตรวจคัดกรองและต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด อันอาจทำให้ไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทางและทำให้ต้องใช้ระยะเวลาการเดินทางมากกว่าปกติ
  7. ขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนพิจารณารูปแบบการปฏิบัติงานในช่วงระยะเวลานี้ ซึ่งอาจเป็นการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง หรือสลับวัน หรือการเหลื่อมเวลาเข้าปฏิบัติงาน เพื่อลดจำนวนผู้ปฏิบัติงานและปริมาณการเดินทาง ซึ่งเป็นมาตรการลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  8. ให้คณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตรวจสอบกลั่นกรองและเสนอนายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาอนุญาตให้ผ่อนคลาย หรือกระชับมาตรการที่ใช้บังคับกับสถานที่ กิจการ หรือกิจกรรมเพิ่มเติมได้เพื่อความเหมาะสมต่อสถานการณ์ตามที่เห็นสมควร
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด