ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โคเลสเตอรอลสูง

โคเลสเตอรอลสูง HealthServ.net
โคเลสเตอรอลสูง ThumbMobile HealthServ.net

โคเลสเตอรรอล ที่ร่างกายได้รับ 1 ใน 3 ได้รับมาจากอาหาร ไขมันจากอาหารที่กินเข้าไปจะถูกย่อยและส่งไปที่ตับแล้วส่งต่อไปทั่วร่างกาย ส่วนอีก 2 ใน 3 ร่างกายสร้างขึ้นเองที่ตับของเรา ตับจะสร้างโคเลสเตอรรอลที่ร่างกายต้องการเพื่อช่วยขนส่งไขมันไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ภัยร้ายจากโคเลสเตอรรอล
 
  • หลอดเลือดแดงปกติ
  • เริ่มมีโคเลสเตอรรอลจับที่ผนังหลอดเลือดด้านใน
  • ไขมันสะสมมากขึ้นจนเริ่มก่อตัวเป็นคราบจนอาจเกิดหัวใจวายเฉียบพลันและโรคหลอดเลือดสมอง
  • โคเลสเตอรรอลจับตัวเป็นคราบที่ใหญ่ขึ้นจนกระทั่วหลอดเลือดแดงอาจถูกปิดกั้นทั้งหมด ก่อให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันเฉียบพลันและเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน
  • โคเลสเตอรรอลและไตรกลีเซอไรด์ ก่อให้เกิดคราบไขมัน (Plaque)
    - สมอง เกิดหลอดเลือดสมองตีบเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
    - หัวใจ หลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
    - ไต หลอดเลือดไตอุดตัน เกิดไตวาย
    - ขา เลือดไปเลี้ยงขาไม่สะดวก เกิดอาการปวดขาเวลาเดิน
 
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง                      
 
ได้แก่ อาหารไขมันสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันชนิดอิ่มตัวและโคเลสเตอรรอล
  • เนื้อสัตว์ที่ติดมัน เบคอน ไส้กรอก
  • ตับ สมองสัตว์ เครื่องในสัตว์
  • ไข่แดง (กินเฉพาะไข่ขาวได้)
  • หอยนางรม ปลาหมึก กุ้ง ไข่ปลา
  • ชีส ครีม เนย
  • เค้ก คุกกี้ โดนัท
  • อาหารทอด และอาหารที่ปรุงจากน้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ
 
 
 
ปริมาณโคเลสเตอรรอล ในอาหารบางชนิด
 
อาหารส่วนที่กินได้ 100 กรัม  ปริมาณโคเลสเตอรรอล(มิลลิกรัม)
  • ไก่, อก(ไม่ติดมัน 63
  • เป็ด, เนื้อ 82
  • วัว, เนื้อ   65
  • ปลากะพงขาว 69
  • ปลาทูน่า  51
  • กุ้งกุลาดำ 175
  • ปลาหมึกกล้วย, ตัว  251
  • ไข่ไก่, ทั้งฟอง     508
  • ซึ่โครงหมู 105
  • เนื้อปู 145
 
*ที่มา: กองโภชนาการ กรมอนามัย
 


คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีโคเลสเตอรรอลสูง
 
-  ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
-  ลดเครื่องดื่มแอลกอฮล์             
-  งดสูบบุหรี่      
-  หากมีความดันโลหิตสูงและเบาหวาน พยายามควบคุมโรคให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีที่สุด
-  ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น เดิน เต้นแอโรบิค วิ่ง (ครั้งละ 30-60 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง)
-  ตรวจระดับโคเลสเตอรอลอย่างสม่ำเสมอ และรับประทานยาควบคุมระดับโคเลสเตอรรอลตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด