ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลสนาม 7 แห่งใน 4 จังหวัด 1,900 เตียง พร้อมดูแลผู้ติดเชื้อ!

โรงพยาบาลสนาม 7 แห่งใน 4 จังหวัด 1,900 เตียง พร้อมดูแลผู้ติดเชื้อ! HealthServ.net
โรงพยาบาลสนาม 7 แห่งใน 4 จังหวัด 1,900 เตียง พร้อมดูแลผู้ติดเชื้อ! ThumbMobile HealthServ.net

กระทรวงสาธารณสุข ให้ทุกจังหวัดเตรียมจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม เป้าหมายเพื่อดูแลผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรืออาการน้อย ยืนยันทุกแห่งมีแนวทางการจัดการทั้งความปลอดภัย การป้องกันการแพร่เชื้อมาตรฐานเดียวกับโรงพยาบาลหลัก ขอประชาชนในพื้นที่มั่นใจ ขณะนี้เปิดแล้ว 7 แห่งใน 4 จังหวัด รวมกว่า 1,900 เตียง

โรงพยาบาลสนาม 7 แห่งใน 4 จังหวัด 1,900 เตียง พร้อมดูแลผู้ติดเชื้อ! HealthServ
 
          บ่ายวันนี้ (9 มกราคม 2564) ที่ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ทุกจังหวัดจัดเตรียมโรงพยาบาลสนามเพื่อรองรับผู้ติดเชื้อโควิด 19 เนื่องจากต้องใช้เตียงจำนวนหนึ่งในการรักษาโรคอื่นๆ ด้วย โดยจะรับดูแลผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย หากมีอาการเปลี่ยนแปลงจะส่งไปรักษาในโรงพยาบาลหลัก รวมทั้งรองรับผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาลหลัก อาการดีขึ้นแล้ว ให้ครบระยะเวลากักกันโรค โดยผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดตั้ง ประสาน และทำความเข้าใจกับประชาชน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดรับผิดชอบด้านการแพทย์ตามมาตรฐาน เน้นเป็นสถานที่ที่ประชาชนยอมรับ อากาศถ่ายเทได้ดี การสนับสนุนทรัพยากรด้านสาธารณสุขสะดวก เช่น วัด ค่ายทหาร โรงเรียน โรงยิม หอประชุม หรือสร้างขึ้นใหม่ในสถานที่โล่งกว้าง
 
          นายแพทย์ณัฐพงศ์กล่าวต่อว่า ในโรงพยาบาลสนาม ได้จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือแพทย์ ยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์สื่อสาร รวมทั้งระบบต่าง ๆ ภายใต้มาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข ทั้งระบบการดูแลรักษาผู้ป่วย การขนส่งผู้ป่วยระหว่างบ้าน/ คลินิกมาโรงพยาบาลสนาม, การบริหารจัดการผู้ป่วย/ เชื่อมโยงข้อมูล สื่อสารระบบเดียวกับโรงพยาบาลหลัก, การป้องกันควบคุมการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อ, ระบบสุขาภิบาล การบำบัดน้ำเสีย การระบายอากาศ การกำจัดสิ่งปฏิกูล ผ่านการตรวจสอบของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, ระบบรักษาความปลอดภัย ห้ามผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าในสถานที่ นอกจากนี้ ยังมีการอบรมแพทย์ พยาบาล ติดตามตรวจสอบก่อนออกจากพื้นที่ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ, ระบบป้องกันอัคคีภัย, ระบบสื่อสารความเสี่ยง, งานสังคมสงเคราะห์และจิตวิทยา
 
          ขณะนี้ มีโรงพยาบาลสนามแล้วใน 4 จังหวัด ประมาณ 1,900 เตียง อยู่ที่สมุทรสาคร 2 แห่ง, ระยอง 3 แห่ง, จันทบุรีและชลบุรี จังหวัดละ 1 แห่ง และมีนโยบายให้เตรียมพร้อมจัดตั้งตามสถานการณ์ของแต่ละจังหวัด มีทีมบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุน ที่เป็นจิตอาสา และทีมบุคลากรจิตอาสาจาก รร.แพทย์ ทั้งศิริราช รามาธิบดี จุฬาลงกรณ์ ธรรมศาสตร์ และโรงพยาบาลในสังกัด รวมกว่า 20 ทีม โดยผลัดเปลี่ยนทีมทุก 5-7 วัน
 
          “รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แสดงความขอบคุณประชาชน คหบดีที่ได้แสดงความจำนงอนุเคราะห์พื้นที่ให้กระทรวงสาธารณสุข ใช้จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม โดยรับไว้เพื่อพิจารณาความเหมาะสม ให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ และคำถึงความรู้สึกของประชาชนในชุมชนนั้น” นายแพทย์ณัฐพงศ์กล่าว

9 มกราคม 2564

 สธ. ร่วม รร.แพทย์ บริหารดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ตั้งเป้าในเขตสุขภาพที่มีการระบาดให้มีโรงพยาบาลสนามสำรองอย่างน้อย 1,000 เตียง


กระทรวงสาธารณสุขร่วมมือกับโรงเรียนแพทย์ดูแลผู้ป่วยโควิด จัดตั้งโรงพยาบาลสนามรองรับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ ลดความแออัด ลดความเสี่ยงนำเชื้อไปติดผู้ป่วยโรคอื่นในโรงพยาบาล มีทีมแพทย์หมุนเวียนปฏิบัติหน้าที่มีระบบดูแลรักษา ส่งต่อตามมาตรฐาน ตั้งเป้าในเขตสุขภาพที่มีการระบาดให้สำรองอย่างน้อย 1,000 เตียง
 
       วันนี้ (8 มกราคม 2564) ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข โดยมี นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ และรศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ประธานเครือข่ายโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ UHOSNET แถลงข่าวในประเด็น ความร่วมมือกระทรวง​สาธารณสุข​และโรงเรียนแพทย์ให้การบริหารจัดการดูแลผู้ป่วยโควิด นพ.วีรวุฒิ กล่าวว่า ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิดรอบใหม่ ซึ่งมีผู้ป่วยจำนวนมาก กระทรวงสาธารณสุขได้จัดตั้งโรงพยาบาลสนามรองรับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ เพื่อลดความแออัดของโรงพยาบาล และลดความเสี่ยงที่จะมีการนำเชื้อโควิด 19 ไปแพร่ให้กับผู้ป่วยโรคอื่นๆ ในโรงพยาบาล ซึ่งการตั้งโรงพยาบาลสนามจะตั้งในจังหวัดหรือพื้นที่ที่พบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก โดยเฉพาะในจุดเริ่มต้นของการระบาดคือจังหวัดสมุทรสาคร และใน 3 จังหวัดในภาคตะวันออก ได้แก่ จ.ชลบุรี ระยอง และจันทบุรี ในขณะเดียวกันได้มีแผนการเตรียมเตียงเพิ่มตลอดเวลา โดยกระทรวงสาธารณสุขมีเป้าหมายว่าในเขตสุขภาพที่มีการแพร่ระบาดจำนวนมากจะให้มีการสำรองเตียงสนามไว้อย่างน้อย 1,000 เตียง และได้มีการเตรียมเพื่อรองรับผู้ติดเชื้อจากการตรวจคัดกรองเชิงรุกเพื่อความปลอดภัยของชุมชน ทั้งนี้โรงพยาบาลสนามแต่ละแห่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข ทั้ง กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมอนามัย ในการบริหารจัดการพื้นที่ให้ได้ตามมาตรฐาน โดยมีโรงเรียนแพทย์ (UHosNet) ร่วมสนับสนุน รวมถึง กระทรวงกลาโหม ฝ่ายความมั่นคง ฝ่ายปกครอง เอกชน ประชาชนในพื้นที่ และความพร้อมของแต่ละจังหวัด สถานที่ตั้งต้องห่างชุมชนให้มากที่สุด มีการบริหารจัดการตามมาตรฐาน ทั้ง ระบบสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม การกำจัดขยะติดเชื้อ ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบความปลอดภัยทางกายภาพ และการรักษาความปลอดภัย ในส่วนการดูแลผู้ป่วยมีการลงทะเบียน และใช้ระบบสื่อสารเพื่อหลีกเลี่ยงการให้เจ้าหน้าที่เข้าไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเพื่อลดความเสี่ยงและการใช้กล้องวงจรปิดเพื่อดูความปลอดภัย ทันทีที่ผู้ป่วยมีอาการหนักขึ้นจะมีแผนการส่งตัวไปที่โรงพยาบาล
 
           “ขอทำความเข้าใจและขอความร่วมมือประชาชนในพื้นที่ที่ตั้งโรงพยาบาลสนามว่า โรงพยาบาลสนามเป็นสถานที่ที่นำผู้ป่วยไม่มีอาการมารวมกัน ไม่ให้ออกไปในสังคมหรือในชุมชนเพื่อควบคุมและสกัดการแพร่เชื้อให้ผู้อื่น ให้มั่นใจว่ามีระบบควบคุม ป้องกันการติดเชื้อที่ดีได้มาตรฐาน  มีการควบคุมการติดเชื้อเพื่อป้องกันการระบาดสู่คนและชุมชน” นายแพทย์วีรวุฒิกล่าว
 
        ด้าน รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ประธานเครือข่ายโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ UHosNet กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขและโรงเรียนแพทย์ มีความร่วมมือกันมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในสถานการณ์โควิด 19 ตั้งแต่เดือนมกราคมของปี 2563 มีการแบ่งบทบาทหน้าที่รักษาผู้ป่วย ร่วมวางแผนโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง สร้างห้องไอซียู สนับสนุนห้องปฏิบัติการ เป็นต้น ทำงานส่งเสริมกันจนทำให้สถานการณ์การระบาดในระลอกแรกสามารถควบคุมได้ สำหรับการระบาดระลอกใหม่ได้ยกระดับการทำงานโดยแบ่งพื้นที่จับคู่สถานพยาบาล เพื่อสนับสนุนซึ่งกันและกัน เช่น เขตสุขภาพที่ 4 มีโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดูแลคู่กับ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ใช้พื้นที่บริเวณหอพักจัดเป็นโรงพยาบาลสนาม, เขตสุขภาพที่ 5 โรงพยาบาลศิริราช ดูแลคู่กับ โรงพยาบาลวชิระพยาบาล และเขตสุขภาพที่ 6 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยดูแลร่วมกับ โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นต้น โดยสนับสนุนทั้งด้านการดูแลผู้ป่วย แลกเปลี่ยนข้อมูลการรักษา ยา เวชภัณฑ์ จัดช่องทางการปรึกษาแพทย์ทางไกล เพื่อการส่งต่อที่เร็วขึ้น ผู้ป่วยปลอดภัยและลดอัตราการเสียชีวิต รวมถึงจัดทีมแพทย์ลงไปหมุนเวียนปฏิบัติหน้าที่เพื่อแบ่งเบาการทำงานของแพทย์และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ซึ่งอาจเกิดความอ่อนล้าจากการปฏิบัติงาน ที่ไม่ได้หยุดพัก ถือเป็นการนำจุดแข็งโรงเรียนแพทย์

สำนักสารนิเทศ
8 มกราคม 2564
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด