ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

วัยทอง (Menopause) อารมณ์แปรปรวน ร้อนวูบวาบ ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

วัยทอง (Menopause) อารมณ์แปรปรวน ร้อนวูบวาบ ควรปฏิบัติตัวอย่างไร HealthServ.net

วัยทองเป็นวัยหนึ่งของชีวิต ซึ่งเริ่มด้วยวัยทารก วัยเด็ก วัยรุ่น วัยกลางคน วัยทอง วัยรุ่นเป็นวัยเริ่มต้นที่รังไข่สร้างฮอร์โมนออกมาทำให้มีประจำเดือน ส่วนวัยทองรังไขจะทำงานน้อยลงทำให้สร้างฮอร์โมน(Estrogen, Progesterone)ออกมาน้อยลง ทำให้บางท่านอาจมีประจำเดือนน้อยลง บางท่านจะมีประจำเดือนห่างออกไปจนถึงหมดประจำเดือนไปเลย ฮอร์โมนนี้จะช่วยในการมีประจำเดือนการตั้งครรภ์ ความแข็งแรงของกระดูก ลดระดับ Cholesterol

วัยทอง (Menopause) อารมณ์แปรปรวน ร้อนวูบวาบ ควรปฏิบัติตัวอย่างไร ThumbMobile HealthServ.net
 
 
วัยทองจะเริ่มเมื่อไร
 
        หญิงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป สามารถเกิดวัยทองได้ โดยเฉลี่ยคืออายุ 50 ปี ผู้ที่สูบบุหรี่จะเกิดวัยทองได้เร็วกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ ผู้ที่ตัดรังไข่ก็สามารถเกิดวัยทองได้ทันทีหลังตัดรังไข่
 

อาการเตือนของวัยทองมีอะไรบ้าง
 
1.  ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เช่น มาเร็ว  มาช้า  มามาก  มาน้อย
 
2. ร้อนวูบวาบตามตัว ผู้ป่วยจะมีร้อนโดยเฉพาะส่วนบนของร่างกาย  แก้ม  คอ  หลังจะแดง  หลังจากนั้นจะตามด้วยเหงื่อออกและหนาวสั่นในเวลากลางคืน  อาการนี้จะเป็นนาน 1-5 นาที
 
3. ปัญหาเกี่ยวกับช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะ  เนื่องจากระดับ Estrogen ลดลงทำให้เยื่อบุช่องคลอดแห้งและบางลง ผู้ป่วยจะมีอาการแสบร้อนในช่องคลอด  ปวดขณะร่วมเพศ  และมีการติดเชื้อในช่องคลอดบ่อยขึ้น  นอกจากนั้น  ยังมีเรื่องกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ปัสสาวะเล็ดเวลาจากหรือไอ
 
4. ปัญหาเรื่องการนอน  นอนหลับยาก  ตื่นเร็ว  อาจจะตื่นกลางคืนและเหงื่อออกมาก  ผู้ป่วยจะบ่นเรื่องเหนื่อย
 
5. ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ผันผวนโกรธง่าย ไม่ค่อยมีสมาธิ                                                                          
 
6. การเปลี่ยนแปลงทางรูปร่าง เอวจะเริ่มหายไป ไขมันที่เคยเกาะบริเวณขาจะเปลี่ยนไปเกาะบริเวณเอว  กล้ามเนื้อลดลงมีไขมันเพิ่ม ผิวหนังเริ่มเหี่ยว
 
7. ปัญหาอื่น เช่น ปวดศีรษะ  ความจำลดลง  ปวดตามตัว
 
 

วัยทองของโรค

 
        เมื่อเข้าสู่วัยทองจะมีโรคหลายโรคเกิดมากในวัยนี้  ได้แก่  โรคหัวใจ  โรคกระดูกพรุน  มะเร็งเต้านม  แต่ไม่มีใครสามารถที่จะคาดเดาว่าเป็นใครจะเป็นโรคดังกล่าว  แต่เราจะพิจารณาจากปัจจัยเสี่ยงว่า  วัยทองคนใดมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคอะไร  ดังนั้นท่านที่อยู่ในวัยทองท่านจะต้องรู้สิ่งต่อไปนี้เพื่อการตัดสินใจรับฮอร์โมนทดแทน
 
  • รายละเอียดเกี่ยวกับโรคหัวใจ  โรคกระดูกพรุน  โรคมะเร็งเต้านม
  • ปัจจัยเสี่ยงของแต่ละโรค
  • ผลของฮอร์โมนทดแทนต่อภาวะดังกล่าว       
 

โรคที่มักจะเกิดกับวัยทอง
 
  • ผู้ป่วยจะเกิดโรคกระดูกพรุนได้เร็ว
  • ผู้ป่วยวัยทองจะมีอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ  และโรคหลอดเลือดสมองเพิ่ม ผู้ป่วยควรควบคุมปัจจัยเสี่ยง
  • มะเร็งเต้านม                                         
 

การปฏิบัติตัวเมื่อเข้าสู่วัยทอง
 
  • ให้รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ลดไขมัน
  • ลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
  • เลิกบุหรี่  และแอลกอฮอล์
  • ใช้สารหล่อลื่นก่อนร่วมเพศ
  • ตรวจมะเร็งเต้านม  มะเร็งปากมดลูก ทุกปี
 

การรักษาโรคที่มากับวัยทองโดยไม่ใช้ฮอร์โมน
 
ก่อนการให้ฮอร์โมนทดแทน  จะต้องประเมินความรุนแรงของโรคที่พบร่วมกับวัยทอง  เช่นอาการร้อนวูบวาบตามตัว  กระดูกโปร่งบางและต้องมาเปรียบเทียบกับความเสี่ยงที่จะเกิดโรค  จาการให้ฮอร์โมน  เช่น มะเร็ง  โรคหัวใจและหลอดเลือด  และจะต้องพิจารณาว่ามีทางเลือกอื่นอีกหรือไม่  ในการรักษาภาวะเหล่านี้
 

ถ้าหากท่านมีอาการร้อนวูบวาบตามตัว (วัยทอง)

ควรปฏิบัติตัวดังนี้
 
  • เมื่อเริ่มเกิดอาการ้อนให้ไปอยู่ที่เย็นๆ
  • ให้นอนในห้องที่เย็น
  • ให้ดื่มน้ำเย็นเมื่อเริ่มรู้สึกร้อน
  • หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ด ๆ และร้อน
  • หลีกเลี่ยงสุรา
  • หลีกเลี่ยงความเครียด  เมื่อเวลาเครียดให้หายใจเข้าออกยาวๆ ช้าและใจเย็นๆ
  • ถ้าหนาวให้ใส่เสื้อหลายชั้น  และหากร้อนก็สามารถถอดทีละชั้น
  • แพทย์บางท่านแนะนำให้ใช้วิตามินอี  ซึ่งจะลดอาการได้ร้อยละ 40 และยาลดอาการซึ่งเศร้ากลุ่ม  SSRI เช่น Prozac Zoloft
  • อาหารซึ่งมีถั่วเหลืองจะช่วยลดอาการร้อนตามตัว
 

 

อาการช่องคลอดแห้ง เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ ปัสสาวะบ่อย

ควรปฏิบัติตัวดังนี้
 
เนื่องจากเนื้อเยื่อของช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะจะฝ่อทำให้เกิดอาการดังกล่าว  และหากมีข้อห้ามในการรับประทานฮอร์โมนทดแทน  หรือผู้ป่วยไม่อยากจะรับความเสี่ยงจากการให้ฮอร์โมน  ก็สามารถใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดทาช่องคลอดได้  โดยระดับยาในเลือดจะมีน้อยกว่าชนิดรับประทาน  1 ใน 4  แต่จะให้ผลดีต่อช่องคลอดมากกว่าชนิดรับประทาน 4 เท่า  ในการใช้ยาครั้งแรกให้ทาทุกวัน  หลังจากนั้นให้ทาอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง  หรือแล้วแต่การปรับของผู้ป่วย
 
นอกจากนั้น  บางคนอาจจะใช้ยาที่เพิ่มความชุ่มชื่นแก่ช่องคลอดแต่ไม่ทำให้เนื้อเยื่อหนาตัว
 


อาการนอนไม่หลับและอารมณ์แปรปรวน 


ควรปฏิบัติตัวดังนี้                                                  
 
        หลีกเลี่ยงความเครียด ออกกำลังกาย งดการดื่มกาแฟที่ทำให้นอนหลับยากขึ้น  ใช้ยาลดอาการซึมเศร้ากลุ่ม SSRI  ซึ่งจะไปเปลี่ยนแปลงระดับ Serotonin  ในสมองทำให้ลดอาการซึมเศร้า
 

การให้ฮอร์โมนทดแทนในผู้ป่วยวัยทอง
 
        ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยทองบางรายที่มีอาการรุนแรง  มีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน  มีแปรปรวน  เครียด  หรือซึมเศร้าค่อนข้างรุนแรง  กระดูกบางหรือพรุนอย่างรวดเร็ว  แพทย์อาจจะพิจารณาให้ฮอร์โมนที่มีส่วนประกอบของ Estrogen และ  Progesterone (ในกรณีที่เคยได้รับการผ่าตัดเอามดลูกออกไปแล้ว  จะใช้ฮอร์โมน Estrogen อย่างเดียว)  ผลดีของการให้คือ  ลดอาการต่าง ๆ ที่เกิดจากที่ฮอร์โมนน้อยลงป้องกันกระดูกพรุน  และอาจจะป้องกันโรคหัวใจ  แต่ต้องระวังโรคแทรกซ้อนคือ  โรคตับอักเสบ  ไขมัน  Triglyceride สูง  เส้นเลือดดำอุดตัน  โรคมะเร็งเต้านม
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด