ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ Bangkok Heart Hospital

ห้องตรวจสมรรถภาพหัวใจ
ชั้น 2 อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพ
เปิดให้บริการ ทุกวัน เวลา 07.00 – 16.00 น.
0 2310 3000
0 2310 3370
0 2755 1371
0 2755 1375
1719

 การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว
 
ข้อมูลทั่วไป
Holter Monitoring เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่มีขนาดเท่ากับกล้องถ่ายรูป ใช้สำหรับบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 - 48 ชั่วโมง โดยที่อุปกรณ์ประกอบด้วยกล่องที่มีขนาดเล็กสำหรับบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยที่เครื่องนี้จะเชื่อมต่อกับสายที่ยึดติดกับแผ่น Electrode ที่ติดบริเวณผิวหนัง
 
ชนิดของการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว
การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัวมี 2 ชนิด ได้แก่ 
  • Holter Monitoring เป็นการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบตลอดเวลา ในช่วงระยะเวลา 24 – 48 ชั่วโมง ไม่ว่าคุณจะเดินทางไปยังแห่งหนไหนก็ตาม  เป็นการตรวจที่ใช้บ่อยในเวชปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยที่มาด้วยอาการใจสั่นหรือเป็นลม
  • Event Recording เป็นการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจในขณะที่คุณมีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น หน้ามืด
 
Holter Monitoring คืออะไร
  • Holter Monitoring เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่มีขนาดเท่ากับกล้องถ่ายรูป ใช้สำหรับบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 – 48 ชั่วโมง โดยที่อุปกรณ์ประกอบด้วยกล่องที่มีขนาดเล็กสำหรับบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยที่เครื่องนี้จะเชื่อมต่อกับสายที่ยึดติดกับแผ่น Electrode ที่ติดบริเวณผิวหนัง
 
Holter Monitoring ใช้สำหรับทำอะไรและเพื่อประโยชน์อะไร 
  • ใช้สำหรับประเมินอัตราการเต้นเฉลี่ยของชีพจรและการตอบสนองของการเต้นของชีพจรในขณะที่คุณกำลังทำกิจกรรมต่าง ๆ
  • ใช้สำหรับประเมินคลื่นไฟฟ้าหัวใจในผู้ป่วยที่มีอาการใจสั่น (Palpitation) หรือความรู้สึกว่าหัวใจหยุดเต้นชั่วขณะ (Skipping)
  • ใช้สำหรับประเมินผู้ป่วยที่มาด้วยอาการหน้ามืดหรือเป็นลม เพื่อวินิจฉัยแยกโรคว่ามีสาเหตุจากโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่
  • ใช้สำหรับประเมินประสิทธิภาพหลังการรักษาทั้งจากการรักษาด้วยยาหรือการรักษาด้วยการทำหัตถการ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด