ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

การตรวจด้วยเตียงยกระดับ (Tilt Table Test) โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ Bangkok Heart Hospital

ห้องตรวจสมรรถภาพหัวใจ ชั้น 2 อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพ เปิดให้บริการ ทุกวัน เวลา 07.00 – 16.00 น. Tel 0 2310 3000

การตรวจด้วยเตียงยกระดับ (Tilt Table Test)
 
Tilt Table Test เป็นการตรวจที่ช่วยในการวินิจฉัยภาวะเป็นลมหมดสติจาก Neurally Mediated Syncope ขั้นตอนการตรวจ ผู้ป่วยจะต้องนอนบนเตียงตรวจโดยเฉพาะ ซึ่งสามารถปรับหมุนเตียงขึ้นลงได้เป็นองศาและจะมีสายรัดบริเวณลำตัว
 
อาการเป็นลมหรือหมดสติมีความสำคัญอย่างไรและมีสาเหตุจากอะไร
อาการเป็นลม (Syncope) เกิดขึ้นเนื่องจากปริมาณเลือดไปเลี้ยงสมองลดลงชั่วขณะ มีสาเหตุมาจากทั้งโรคหัวใจและสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่ใช่โรคหัวใจ ความสำคัญของอาการเป็นลมคือ การเป็นลมหมดสติอาจนำมาซึ่งอันตรายหรืออุบัติเหตุทั้งกับตัวเองและผู้อื่นได้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยเป็นลมหมดสติขณะที่ขับรถอยู่ อาจนำมาซึ่งอุบัติเหตุต่อส่วนรวมหรือคนรอบข้าง ดังนั้นผู้ป่วยที่มีอาการเป็นลมหมดสติควรจะได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อสืบค้นหาสาเหตุและรับการรักษาเพื่อป้องกันการเกิดเป็นซ้ำ นอกจากนี้สาเหตุที่เกิดจากโรคหัวใจบางชนิดสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือบางชนิดอาจเป็นอันตรายถึงกับชีวิตหากไม่ได้รับการรักษา
 
สาเหตุของอาการเป็นลมที่พบได้บ่อยที่สุดอันหนึ่งในเวชปฏิบัติ คือ ภาวะระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ (Neurally Mediated Syncope)
 
ซึ่งการวินิจฉัยภาวะนี้ต้องใช้การซักประวัติ ตรวจร่างกาย รวมถึงการใช้การตรวจ Tilt Table Test ร่วมประกอบในการวินิจฉัย
 
Tilt Table Test คืออะไร 
Tilt Table Test เป็นการตรวจที่ช่วยในการวินิจฉัยภาวะเป็นลมหมดสติจาก Neurally Mediated Syncope  
 
  • ขั้นตอนการตรวจ ผู้ป่วยจะต้องนอนบนเตียงตรวจโดยเฉพาะ ซึ่งสามารถปรับหมุนเตียงขึ้นลงได้เป็นองศาและจะมีสายรัดบริเวณลำตัว
  • การตรวจนี้จะทำในห้องที่เงียบสงบและค่อนข้างมืดระหว่างที่ตรวจจะมีการบันทึกความดันโลหิตและชีพจรตลอดระยะเวลาการตรวจ
  • โดยจะมีแบบขั้นตอน (Protocol) ที่ใช้ในการตรวจที่ชัดเจน สำหรับผู้ป่วยบางรายที่ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนอาจต้องมีการให้ยาเพื่อกระตุ้นและดูการตอบสนองของความดันโลหิตและชีพจร
ห้องตรวจสมรรถภาพหัวใจ
ชั้น 2 อาคารเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพ
เปิดให้บริการ ทุกวัน เวลา 07.00 – 16.00 น.
0 2310 3000
0 2310 3370
0 2755 1371
0 2755 1375
1719
 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด